| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 388 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 19-11-2550    อ่าน 11681
 เปิดบลูพรินต์รถไฟฟ้าสีเขียว "หมอชิต-สะพานใหม่" 12 ก.ม. 2 หมื่นล้าน

โครงการส่วนต่อขาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยุครัฐบาลขิงแก่อนุมัติให้ดำเนินการเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 และ 6 กุมภาพันธ์ 2550 ที่ผ่านมา ได้รับการสานต่อนโยบายโดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วยการว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2550 และกำหนดแล้วเสร็จปลายเดือนมกราคม 2551 นี้

ดีเดย์เปิดประมูลมีนาคม 51

ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหลังการเลือกตั้งและมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ กระทรวงคมนาคม โดย สนข.จะนำแบบรายละเอียดโครงการเสนอให้ ครม.พิจารณาอีกรอบในเดือนมีนาคม 2551 พร้อมกับขออนุมัติประกวดราคา

หาก ครม.ไฟเขียว สนข.จะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กทม. เปิดประกวดราคาและเซ็นสัญญาก่อสร้างทันที โดยกรอบเวลาวางไว้ จะเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน แล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการในปี 2555

สำหรับค่าก่อสร้างจากการประเมิน เบื้องต้นของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ตลอดระยะทาง 12 กิโลเมตร จากหมอชิต-สะพานใหม่ ใช้งบฯ ลงทุน 20,000 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นงาน ก่อสร้างโยธา 10,000 ล้านบาท งานติดตั้ง ระบบ 4,000 ล้านบาท เวนคืนที่ดิน 1,400 ล้านบาท และงานจัดหารถไฟฟ้าอีก 5,000 ล้านบาท

เปิดลายแทง 12 สถานี

นายสุรศักดิ์ ทวีศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน ระบบขนส่งและการจราจรบริษัทที่ปรึกษาโครงการกล่าวว่า แนวเส้นทางโครงการจะ เริ่มจากทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีหมอชิต วิ่งไปตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามทาง ยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงตัดถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านเซ็นทรัลลาดพร้าว แยกรัชโยธิน แยกเกษตร กรมป่าไม้ วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ ตลาดยิ่งเจริญ จากนั้นจะไปสิ้นสุดสายทางบริเวณคลองบางเขน

มีสถานี 12 สถานี คือ 1.สถานีห้าแยกลาดพร้าว อยู่บริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว ห่างจากทางขึ้นลงรถไฟฟ้าใต้ดิน 350 เมตร จะมีทางเชื่อมต่อกันยาวไปถึงโรงเรียนหอวัง 2.สถานีพหลโยธิน อยู่ปากซอยพหลโยธิน 24 กึ่งกลางระหว่างตึกช้างกับโครงการคอนโดฯ ของ บมจ.ศุภาลัย 3.สถานีรัชโยธิน อยู่เลยแยกเมเจอร์รัชโยธินไปเล็กน้อย 4.สถานีเสนานิคม อยู่แถวซอยเสนานิคม 2 5.สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ห่างจากแยกเกษตรศาสตร์ 150 เมตร



6.สถานีกรมป่าไม้ ตำแหน่งสถานีจะเลื่อนไปทางโรงเรียนสารวิทยา เพื่อไม่ให้บดบังทัศนียภาพกรมป่าไม้ 7.สถานีบางบัว อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยศรีปทุม และโรงเรียนบางบัว 8.สถานีทหารราบที่ 11 อยู่ด้านหน้ากรมทหารราบที่ 11 9.สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เพื่อไม่ให้บดบังทัศนียภาพ วัดพระศรีฯ และอุโมงค์แยกอนุสาวรีย์หลักสี่ จะเบี่ยงไปทางสำนักงานเขตบางเขนแทน 10.สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ อยู่เลยโรงเรียน ไทยนิยมอยู่หน้าโลตัสสะพานใหม่ 11.สถานีพหลโยธิน 50 อยู่ปากซอยพหลโยธิน 50 และ 12.สถานีตลาดยิ่งเจริญอยู่บริเวณด้านหน้าตลาดยิ่งเจริญ

ปรับรูปโฉมสถานี

ด้านการออกแบบสถานีและโครงสร้าง บริษัทที่ปรึกษาได้ออกแบบใหม่ โดยให้ความสำคัญกับงานสถาปัตยกรรม เพื่อให้ดูโปร่ง โล่ง สบายตา และทันสมัยกว่าบีทีเอสสายปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าก่อสร้างแล้ว ยังทำให้โครงสร้างดูเพรียว ไม่หนาเทอะทะ รูปลักษณ์ของอาคารมีความทันสมัย ป้องกันแดด และให้ร่มเงา ป้องกันฝนและระบายอากาศได้ดี มีเอกลักษณ์ ผู้โดยสารสามารถจดจำได้ง่าย ใช้วัสดุที่ติดตั้งได้รวดเร็ว ราคาไม่แพง ทนทาน บำรุงรักษาง่ายและประหยัดพลังงาน ที่สำคัญทำให้สภาพแวดล้อมและทัศนียภาพของเมืองและชุมชน

ส่วนที่ปรับใหม่ เช่น ความยาวของสถานีปรับเหลือ 135 เมตร จากรูปแบบเดิมของบีทีเอส 150 เมตร ลดชั้น Concorse ให้เล็กลง โดยเฉพาะพื้นที่ร้านขายน้ำ หนังสือ บริษัทที่ปรึกษาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมี นอกจากมีพื้นที่เหลือจริงๆ ขนาดของคานลดเหลือ 1 เมตร จากเดิมของบีทีเอส 2 เมตร เพิ่มพื้นที่ใต้สถานีสูงขึ้นเป็น 650 เมตร เดิม 550 เมตร ฯลฯ

ส่วนโครงสร้างทางวิ่งออกแบบให้สวยงามกว่าเดิม ระยะห่างของช่วงเสาจาก 3 เมตรเป็น 5 เมตร ดูโปร่งขึ้น ด้านการเชื่อมต่อระบบ จุดเชื่อมต่ออยู่ที่สถานีห้าแยกลาดพร้าว จะทำรูปแบบเหมือนสถานีสยามสแควร์ของบีทีเอส ชานชาลาร่วมอยู่ตรงกลางสถานี เส้นทาง รถไฟฟ้าอยู่ด้านซ้ายและขวา เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการมากกว่า 10,000 คน จะทำทางเดินเชื่อม ลอยฟ้าหรือ sky walk ให้เชื่อมกับห้าง สรรพสินค้าเซ็นทรัล และโรงเรียนหอวัง

ปรับใหม่แยกรัชโยธิน-เกษตร

โครงการนี้แม้จะใช้เกาะกลางถนนพหลโยธินเป็นที่ก่อสร้างโครงสร้าง แต่มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่กีดขวางอยู่ตามแนวสายทาง คือ โครงการสะพานข้ามแยกรัชโยธินและเกษตรศาสตร์ จึงต้องปรับปรุงใหม่เพื่อสามารถก่อสร้างได้สะดวกและรวดเร็ว ช่วยลดผลกระผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย

โดยบริเวณแยกเกษตรศาสตร์ จะปรับปรุง รื้อย้ายสะพานเดิมที่ทอดยาวจากแยกเกษตรศาสตร์ไปถึงแยกเสนา และก่อสร้าง สะพานเฉพาะข้ามแยกเกษตร ระยะทางประมาณ 300 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ไปและกลับ พร้อมจัดระบบการจราจรใหม่ ให้รถยนต์ที่ออกจากแยกเสนานิคมที่จะเลี้ยวขวาไปกลับรถที่ แยกรัชโยธินแทน เพื่อเปิดพื้นที่ก่อสร้างสถานีเสนานิคม

ส่วนแยกรัชโยธิน จะรื้อสะพานข้ามแยกเดิมและสร้างทางลอดบนทิศทางถนนรัชดาภิเษก และก่อสร้างสะพานข้ามแยกรัชโยธินบนถนนพหลโยธิน ระยะทาง 300 เมตร มีขนาด 2 ช่องจราจรไปและกลับ

โรงแรมแอร์พอร์ต-ม.ศรีปทุมแจ็กพอต

สำหรับการก่อสร้างจะไม่มีการเวนคืนที่ดิน ส่วนจุดขึ้น-ลงสถานี ซึ่งเดิมคาดว่าจะต้องมีการเวนคืนเล็กน้อย ล่าสุดมีการปรับรูปแบบให้มีขนาดเล็กลงอีก และจะก่อสร้างบนฟุตบาทของถนนแทน

"จะมีเวนคืนเล็กน้อยบริเวณจุดที่เป็นศูนย์ซ่อมและบำรุงหรือเดปโป้ บริเวณทางทิศใต้สนามบินดอนเมืองประมาณ 90 ไร่เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นที่ดินตาบอดของเอกชน และที่ดินเปล่าด้านหลังโรงแรมแอร์พอร์ต ที่ดินของมหาวิทยาลัยศรีปทุม และของกระทรวงการคลังบางส่วนบริเวณที่เป็นตะเข็บรันเวย์สนามบินดอนเมือง" นายสุรศักดิ์กล่าว

สาเหตุที่มีการเวนคืนที่ดินเพียงแค่เล็กน้อยเป็นเพราะในอนาคต กทม. มีแผนจะก่อสร้างถนนใหม่ตัดเชื่อมระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน จะทำให้การเข้า-ออกของบริเวณ ศูนย์ซ่อมสะดวกขึ้น สำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงนี้ จะจอดรถไฟฟ้าได้ประมาณ 20 ขบวน ใช้งบฯก่อสร้าง 3,000 ล้านบาท

นอกจากนี้จะมีอาคารจอดแล้วจร โดยใช้พื้นที่ว่างบริเวณด้านหลังสำนักงานเขตบางเขน สามารถจอดได้ 1,000 คัน ซึ่งจะก่อสร้างให้ กทม.ฟรี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มาใช้บริการ แต่ในอนาคต กทม.อาจจะจัดเก็บค่าใช้บริการก็ได้

"เซ็นทรัล-เมเจอร์-โลตัส" ขอเชื่อมอาคาร

แม้โครงการรถไฟฟ้าสายนี้จะยังไม่ทันจะเป็นรูปเป็นร่างดี แต่ภาคเอกชนหลายรายเริ่มมองเห็นผลด้านบวกที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจแล้ว อย่างผู้ประกอบด้านอสังหาริมทรัพย์ไปปักธงสร้างคอนโดฯ รอไว้ล่วงหน้าตลอดแนวสายทาง ไม่ว่าจะเป็นค่ายศุภาลัย เมโทรสตาร์ เมเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเอกชนด้านธุรกิจค้าปลีกที่ให้ความสนใจกระแสของโครงการรถไฟฟ้า ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น และจากปรากฏการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว จากรถไฟฟ้า บีทีเอสสายปัจจุบัน

ขณะที่ห้างยักษ์ใหญ่อย่างเซ็นทรัล ก็ขอทำทางเดินเชื่อมจากตัวสถานีห้าแยกลาดพร้าวเข้าสู่อาคาร ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าจะได้ต่อสัญญาเช่าที่ดินกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือไม่

ถัดมาเป็นเมเจอร์ฯ รัชโยธิน ขอทำทางเดินเชื่อมกับสถานีรัชโยธิน ส่วนรายอื่นๆ มีโรงพยาบาลเมโย มหาวิทยาลัยศรีปทุม โลตัส สะพานใหม่ เป็นต้น

กระแสตอบรับออกมาดีเกินคาดขนาดนี้ ได้แต่หวังว่ารัฐบาลใหม่ที่เข้ามาคงจะสานโครงการให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ไม่ปล่อยให้ล่มไปกลางคันเสียก่อน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 19-11-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.