| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 77 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 11-10-2550    อ่าน 11275
 ดีลเลอร์ป่วนเหล็กราคาพุ่ง พ่นพิษ"รับเหมา-สร้างบ้าน"

วงการวัสดุอึ้ง ผลพวงจากบิลเลตในตลาดโลกขาดแคลน ดีมานด์เพิ่มขึ้น บวกค่าเงินบาทเริ่มนิ่ง ดันราคาเหล็กเส้นพุ่งขึ้นกว่า 1 บาท/กิโลกรัม ภายในเวลาแค่ 2-3 สัปดาห์ ดีลเลอร์ชี้มีโอกาสที่ราคาซื้อขายหน้าโรงงานจะทะลุเพดานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด จับตาผู้ประกอบการเหล็กขอปรับราคาเพิ่ม ด้านบริษัทรับสร้างบ้านยอมรับมีผลกระทบ เตรียมขยับราคาบ้านบางรุ่นขึ้นอีก 5%




นายเสนอ ตระกูลสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตระกูลสุขค้าวัสดุก่อสร้าง จำกัด หนึ่งในดีลเลอร์จำหน่ายเหล็กเส้นรายใหญ่ย่านสะพานสูง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ราคาเหล็กเส้นหน้าโรงงานปรับตัวสูงขึ้นจาก 18.50 บาท/กิโลกรัม มาเป็น 19.6-19.8 บาท/กิโลกรัม หรือปรับขึ้นกว่า 1 บาทเศษ/กิโลกรัม ภายในเวลาเพียง 2-3 สัปดาห์เท่านั้น ผลพวงจากบิลเลต (เหล็กแท่ง) ในตลาดโลกขาดแคลน ทำให้ราคาซื้อขายบิลเลตในตลาดอาเซียนปรับสูงขึ้นจาก 560-570 ดอลลาร์/ตัน เป็น 590-600 ดอลลาร์/ตัน

ปัจจัยหลักที่ทำให้บิลเลตขาดแคลนมี 3 ส่วน คือ 1)ประเทศจีนส่งออกบิลเลตลดลง เนื่องจากรัฐบาลจีนปรับลดการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ ทางภาษีแก่ผู้ส่งออกบิลเลตในประเทศลงอีก 5% 2)อินเดียและเวียดนามมีความต้องการใช้เหล็ก เพิ่มขึ้น และ 3)เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงเล็กน้อย และทรงตัวอยู่ในระดับ 34 บาทเศษ/ดอลลาร์ ทำให้การนำเข้าบิลเลตมีต้นทุนสูงขึ้น

"ช่วงนี้ถือเป็นสถานการณ์ที่แย่มากของตลาดเหล็กเส้น เพราะราคาดีดตัวสูงขึ้น แต่กำลังซื้อยังซบเซาเหมือนเดิม ที่ผ่านมาโรงงานรีดเหล็กหรือร้านค้าไม่กล้าสต๊อกของ เพราะกลัวปัญหาเงินจม แต่จะรุนแรงถึงขั้นเหล็กเส้นขาดตลาดหรือไม่นั้นค่อนข้างวิเคราะห์ลำบาก"

นายเสนอกล่าวว่า ภายใต้สมมติฐานว่าค่า เงินบาททรงตัวไปจนถึงสิ้นปีนี้ มีความเป็นไปได้ที่ราคาเหล็กเส้นหน้าโรงงานในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้จะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จนไปแตะที่ระดับ 21-21 บาทเศษ/กิโลกรัม เกือบเท่ากับเพดานราคาขายหน้าโรงงานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ที่กิโลกรัมละ 21.25 บาท

ดังนั้นเป็นไปได้ว่าหากราคาซื้อขายบิลเลต ยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ภายในสิ้นปีนี้หรือช่วง ต้นปีทางกลุ่มผู้ผลิตเหล็กอาจรวมตัวยื่นขอปรับ เพดานราคาขายกับกระทรวงพาณิชย์อีกครั้ง หลังจากเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้รับการอนุมัติปรับขึ้นราคาจากกิโลกรัมละ 20.35 บาท เป็น 21.25 บาท

"ดูแล้วเป็นไปได้สูงที่ราคาเหล็กเส้นหน้าโรงงานจะขึ้นไปชนเพดานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด เพราะด้วยเพดานราคาปัจจุบันถ้าโรงงาน มีต้นทุนซื้อบิลเลตสูงกว่า 19 บาท/กิโลกรัม มาร์จิ้นน่าจะเหลือน้อยมาก อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ทางร้านเสนอราคาซื้อไปยังโรงงานที่กิโลกรัมละ 20.50 บาท ก็ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมา"

ผลพวงจากราคาเหล็กเส้นที่ปรับตัวสูงขึ้น

ย่อมส่งผลให้ผู้รับเหมาต้องซื้อเหล็กเส้นในราคาแพง กรณีที่ปรับตัวไม่ทันก็อาจเกิดปัญหาทิ้งงานลูกค้าตามมา สำหรับทางร้านปัจจุบันจะไม่ทำข้อตกลงให้ลูกค้าขอยืนราคาซื้อเหล็กเพื่อป้องกันการขาดทุน ยกเว้นเป็นลูกค้าเก่าจะขายในลักษณะให้ราคาพิเศษแบบลอตต่อลอต โดยยอมลดมาร์จิ้นลงบางส่วน

นายวิสิฐษ์ โมไนยพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรี.ดี.เฮ้าซิ่ง จำกัด ผู้ประกอบการธุรกิจ รับสร้างบ้าน กล่าวว่า การปรับขึ้นราคาเหล็กเส้นรอบนี้มีผลกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างบ้านพอสมควร และมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงนี้ สำหรับบริษัทเตรียมปรับขึ้นราคาบ้านในกลุ่มราคาตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป ขึ้นอีก 5-10% จาก ปัจจุบันขายในราคา 1.3-1.4 หมื่นบาท/ตร.ม. เป็น 1.4-1.5 หมื่นบาท/ตร.ม. เนื่องจากแนวโน้ม ราคาวัสดุบางตัว ได้แก่ เหล็กเส้น สีทาอาคาร มีแนวโน้มปรับราคาขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เป็นการผลักภาระผู้บริโภคมากเกินไปจะใช้วิธีปรับสเป็กวัสดุให้ดีขึ้นด้วย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 11-10-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.