| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 75 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 08-10-2550    อ่าน 13370
 กระแสโลกร้อน ยุคบูมวัสดุ "ประหยัดพลังงาน"

3 ไตรมาสที่ผ่านเลยในปีหมูไฟ ภาวะเศรษฐกิจซบเซาทำให้ตลาดวัสดุก่อสร้างและตกแต่งในปีนี้เข้าขั้นติดลบ โดยก่อนหน้านี้เครือซิเมนต์ไทยได้ออกมาประเมินว่า ช่วง 8 เดือนแรกที่ผ่านมาภาพรวมตลาดวัสดุส่วนใหญ่หดตัวลง อาทิ หลังคา คาดว่าจะติดลบ 10-15% กระเบื้องเซรามิกติดลบ 8% สุขภัณฑ์ติดลบ 7-8%

แม้ว่าภาพรวมตลาดวัสดุซบเซาลง แต่ในกลุ่ม "วัสดุประหยัดพลังงาน" ยังเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตสวนกระแส ปัจจัยมี 2 ส่วน คือ 1)กระแสตื่นตัวภาวะโลกร้อน และ 2)การออกกฎกระทรวง "ข้อกำหนดการใช้พลังงานในอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่ เพื่อควบคุมค่าการถ่ายเทพลังงานความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร"

ล่าสุด กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการร่างกฎกระทรวงเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ ตามขั้นตอนคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 5-6 เดือนกว่าจะแล้วเสร็จ

เทรนด์ "วัสดุประหยัดพลังงาน" มาแรง

ในมุมมองของนักออกแบบ "สิน พงษ์หาญยุทธ" นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ชี้ว่าความตื่นตัวเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและการออกกฎหมายควบคุมค่าพลังงานความร้อน ความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ตัวอาคารที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะผลักดันให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารให้ ประหยัดพลังงานมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม พบว่าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเจ้าของบ้าน/เจ้าของอาคาร หันมาให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยการเลือกใช้วัสดุจะคำนึงถึงความสามารถในการช่วยลดความร้อนหรือประหยัดพลังงาน มากกว่าคำนึงถึงความสวยงามเพียงอย่างเดียว

ทำให้สถาปนิกต้องทำงานหนัก ระดมสรรพความคิด อาศัยหลักการทุกอย่างเข้ามาใช้ในการออกแบบ อาทิ การจัดวางผังอาคาร ปลูกต้นไม้ การลดพื้นผิวรับแสงแดด ใช้วัสดุประหยัดพลังงาน ฯลฯ ฟันธงได้ว่าในอนาคตสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบอาคารเชิงอนุรักษ์พลังงานจะมีบทบาทมากขึ้น

ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่าภายหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้จะช่วยผลักดันตลาดวัสดุประหยัดพลังงานให้เติบโตขึ้น ส่วนในเชิงการออกแบบ อาคารที่ใช้กระจกเป็นวัสดุปิดผิวน่าจะลดลง หรือปรับเปลี่ยนมาใช้กระจก "เขียวตัดแสง" รวมถึงมีวัสดุประหยัดพลังงานรูปแบบใหม่เข้ามามากขึ้น

ดังจะเห็นได้จากวัสดุที่เริ่มได้รับความนิยม เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อาทิ แผ่นอะลูมิเนียม คอมโพสิตสำหรับปิดผิวอาคารภายนอก ที่มีคุณสมบัติช่วยลดรังสีความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารและเป็นฉนวนทนไฟ ส่วนวัสดุที่มีส่วนช่วยประหยัดพลังงานอื่นๆ อาทิ ฉนวนกันความร้อน ฝ้ายิปซัม อิฐมวลเบา ฯลฯ มีแนวโน้มจะกลายเป็นวัสดุพื้นฐานที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

เพิ่มคุณสมบัติ "ไตรลอนคูล" ปั๊มยอด

ในฟากผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างและตกแต่งหลายรายต่างพากันเปิดตัวผลิตภัณฑ์ช่วยประหยัดพลังงาน เริ่มต้นจากกลุ่มหลังคา "ห้าห่วง" เปิดตัวกระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์รุ่น "ไตรลอนคูล" และเตรียมเพิ่มไลน์โปรดักต์อื่นๆ ต่อเนื่อง ที่น่าสนใจคือสามารถทำยอดขายช่วง 9 เดือนแรกของปีประมาณ 350 ล้านบาท เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ (เป้าทั้งปี 500 ล้านบาท) และช่วยผลักดันให้ยอดขายรวมกลุ่มสินค้าหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์เติบโตกว่าที่ประมาณการเล็กน้อย

โดยยอมรับว่ากระแสโลกร้อนมีส่วนอย่างมากในการผลักดันสินค้าให้ได้ความนิยม เพราะหลังคาไตรลอนคูลสามารถป้องกันรังสีความร้อนได้ 70% จากหลังคาทั่วไปสะท้อนความร้อนได้ประมาณ 20%

ล่าสุด ภายในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้ ห้าห่วงเตรียมเปิดตัวหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์รุ่นใหม่ "Cooro Shield" ที่รวม 2 คุณสมบัติ คือ สะท้อนความร้อนได้ดีขึ้นเป็น 80% และป้องกันการผุกร่อน มีให้เลือกทั้งสีฟ้า สีงาช้าง และสีตามสั่ง โดยออกแบบเป็นกระเบื้องแผ่นใหญ่ความยาว 4.80 เมตร (ปกติ 1.20 เมตร) ราคาแผ่นละ 398 บาท

เป้าหมายเพื่อเจาะตลาดโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง-เล็ก และโรงเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะ โดยเข้าไปทดแทนตลาดกระเบื้องเมทัลชีต (กระเบื้องเหล็ก) บางส่วน โดยประเมินว่ามีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 6,000 ล้านบาท

ห้าห่วงประมาณการด้วยว่า จากกระแสโลกร้อน บวกกับการออกสินค้าใหม่ น่าจะช่วยผลักดันยอดขายสินค้าในกลุ่ม "ไตรลอนคูล" (หลังคาสะท้อนความร้อน) ในปี 2551 ให้เติบโตอีกเท่าตัว หรือมียอดขายทั้งปี 950-1,000 ล้านบาท

ทีโอเอปรับแผน "โฟร์ซีซั่นส์ ซันบล็อก"

สำหรับค่ายสีทีโอเอเป็นผู้ผลิตวัสดุที่เปิดตัวสีทีโอเอรุ่น "โฟร์ซีซั่นส์ ซันบล็อก" ที่มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนความร้อนได้ 94.9% หรือลดอุณหภูมิในตัวบ้านลงได้ 2-3 องศาเซลเซียส ไปเมื่อช่วงต้นปีนี้ หวังว่าการบังคับใช้กฎหมายควบคุมความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารจะช่วยผลักดันยอดขายสีรุ่นโฟร์ซีซั่นส์ ซันบล็อก ให้เติบโตขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในแง่การขายยังพบปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างเนื่องจากสีรุ่นนี้มีกรรมวิธีการใช้แตกต่างจากเดิม โดยต้องทาสีรองพื้น ทารองพื้นฉนวนกันความร้อนแบบบยืดหยุ่น และสีทับหน้า รวม 3 ชั้น จากสีทั่วไปทาเพียงน้ำยารองพื้นและสีรองพื้นเท่านั้น รวม 2 ชั้น บางครั้งจึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำลูกค้า

ประกอบกับสถาปนิกหรือมัณฑนากรส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการออกแบบผังหรือเลือกใช้วัสดุอื่นๆ เป็นลำดับแรกๆ เพื่อให้อาคารประหยัดพลังงาน ก่อนการเลือกใช้สีที่มีคุณสมบัติควบคุมความร้อน

ล่าสุด ทีโอเอได้ปรับกลยุทธ์ใหม่โดยหันมาจัดกิจกรรมนำร่องให้บริษัทพัฒนาที่ดินที่เป็น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายทดลองใช้สีฟรี อาทิ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ฯลฯ เพื่อเจาะเข้าหากลุ่มเป้าหมายโดยตรง

ผู้ผลิต-นำเข้าพาเหรดสินค้ารุกตลาด

นอกจากนี้ ยังพบว่าช่วงที่ผ่านมาผู้ผลิตและนำเข้าวัสดุหลายรายได้ทยอยเปิดตัวหรือทำการตลาดสินค้าแนวประหยัดพลังงานมากขึ้น อาทิ "ซีแพคโมเนีย" เปิดตัวระบบหลังคาเย็นที่มีการออกแบบให้มีช่องระบายอากาศใต้หลังคา "บี เอฟ เอ็ม" เร่งขยายตลาดแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตนำเข้าแบรนด์ "ALPOLIC/fr" สำหรับติดผนังอาคารจากประเทศญี่ปุ่น

"เบเยอร์" เปิดตัวสีเบเยอร์คูลที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน โดยล่าสุดเบเยอร์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ "Beyer Super Ceramic Shield Roof Paint" สีสำหรับทากระเบื้องหลังคาที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนเช่นเดียวกัน ส่วนบีเอฟเอ็ม ได้เปิดตัวแผ่นอะลูมิเนียม สีและลวดลายใหม่ อาทิ ลายหิน ลายทองแพง สีสเตนเลส

เรียกว่า แปรวิกฤตจากภาวะโลกร้อนให้เป็นโอกาสทางการตลาดได้อย่างลงตัว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 08-10-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.