| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 105 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-10-2550    อ่าน 11451
 รื้อย้ายชุมชน 3,000 หลังคาเรือน โจทย์กลุ้มๆ...รถไฟฟ้าสายสีแดง

ดูเหมือนจะง่าย แต่ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิดเสียแล้ว สำหรับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 8,748.4 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แม้จะกำหนดวันประกวดราคาไว้แล้ว ภายในวันที่ 13 ธันวาคมนี้ แต่ไม่รู้ว่าเมื่อถึงเวลาจริงๆ จะมีผู้รับเหมารายไหนบ้างที่มายื่นซองประกวดราคา

โยนเผือกร้อนรื้อ 3 พันครัวเรือน

พลิกดูรายละเอียดทีโออาร์บอกได้คำเดียวว่าน่าหนักใจ โดยเฉพาะประเด็นการรื้อย้ายชุมชน 3,337 หลังคาเรือนตามพื้นที่เขตทางรถไฟ ซึ่งการรถไฟฯเองก็ไม่อยากเจ็บตัว เพราะเคยมีบทเรียนจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ต เรลลิงก์มาแล้ว จึงโยนให้ผู้รับเหมารับภาระในการรื้อย้ายทั้งหมด

รายละเอียดที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ ประกอบด้วยการรื้อย้ายชุมชนที่มีสัญญาเช่ากับการรถไฟฯ 130 สัญญา ผู้ยื่นข้อเสนอต้องดำเนินการรื้อย้ายและ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เช่น ค่ารื้อถอน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งพื้นที่ก่อสร้าง โดยจะต้องรับผิดชอบแผนงานการดำเนินการเอง และต้องรับผิดชอบในกรณีที่การรถไฟฯอาจจะได้รับความเสียหายจากการถูกฟ้องร้องโดยผู้เช่า เนื่องจากการกระทำของผู้ยื่นข้อเสนอด้วย

นอกจากนี้มีการรื้อย้ายผู้บุกรุก 3,084 หลังคาเรือน ผู้ยื่นข้อเสนอต้องรับผิดชอบในการให้ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ และต้องรื้อย้ายรวมทั้งการเจรจาและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ฯลฯ

การรื้อย้ายสลัม 4 ภาค 90 หลังคาเรือน โดยกรณีนี้การรถไฟฯจะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยใหม่ให้ และการรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างของการรถไฟฯ อีก 40 หลังคาเรือน

แม้การรถไฟฯยืนยันจะให้ความร่วมมือเต็มที่กับผู้รับเหมาด้านกฎหมาย เช่น การฟ้องร้องต่อศาล ขณะเดียวกันก็เพิ่มเวลาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาออกไปอีก 200 วัน จากเดิม 900 วัน เป็น 1,100 วัน

รับเหมาท้อเจอปัญหาอื้อ

"การที่การรถไฟฯให้ผู้รับเหมารื้อย้ายชุมชนเองเพิ่งมีเป็นกรณีแรก ไม่เคยมีที่ไหนเขาทำกัน เพราะเท่ากับโยนภาระให้ผู้รับเหมา ซึ่งไม่รู้ว่าจะทำได้หรือเปล่า เพราะไม่ใช่เจ้าของที่ เรื่องนี้ยากกว่าโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เพราะจำนวนชุมชนมากกว่า ที่สำคัญงบประมาณก็น้อย ถูกปรับลดลงเหลือ 300-400 ล้านบาทเท่านั้น เวลาก็น้อย งานนี้คาดว่ามีแต่คนมาซื้อเอกสาร คงไม่มีใครยื่นซอง เพราะเป็นงานหินมาก และไม่รู้ว่าทำแล้วจะได้กำไรหรือเปล่า" แหล่งข่าวจากบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียร์ริง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว

เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทได้ให้ทีมฝ่ายวิศวกรรมเข้าไปสำรวจพื้นที่โครงการตลอดทั้งแนวสายทาง พบว่างานก่อสร้างค่อนข้างยากและมีอุปสรรคมาก ปัญหาใหญ่คือการรื้อย้ายชุมชนตามริมทางรถไฟ โดยเฉพาะบริเวณฝั่งกรุงเทพฯ บริเวณชุมชนวัดสร้อยทอง ชุมชนสมถวิล ชุมชนตลาดบางซ่อน เนื่องจากมีผู้บุกรุกอาศัยอยู่จำนวนมาก และแต่ละครอบครัวก็อยู่อาศัยมานานเป็นสิบๆ ปี อย่างโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ตอนแรกคิดว่าจะง่าย แต่เมื่อเข้าพื้นที่จริงๆ ปรากฏว่ายากมาก และใช้เวลานานกว่าจะตกลงกับชาวบ้านได้

"โครงการนี้ผู้รับเหมารับความเสี่ยงมาก ไม่รู้ว่าเมื่อเข้าพื้นที่ไปรื้อย้ายแล้วจะเจอผู้มีอิทธิพลอะไรหรือเปล่า ทราบมาว่ามีบางจุดที่เพิ่งทำสัญญาเช่ากับการรถไฟฯ และเพิ่งสร้างตึกใหม่เสร็จเรียบร้อย ถ้าค่าชดเชยไม่มากพอ เขาไม่ยอมย้ายออกไปแน่ๆ เราจะไปทุบได้ยังไงเพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน"

ส่วนปัญหาการก่อสร้างเป็นเพราะมีสิ่งกีดขวางจำนวนมากตลอดเส้นทาง จุดใหญ่ๆ คือ บริเวณจุดตัดทางรถไฟ มีสะพานข้ามทางรถไฟด้านหน้าหมู่บ้านภาณุรังสีที่ไม่สามารถทุบได้ เพราะหากทุบสะพาน ประชาชนในย่านนั้นจะไม่มีเส้นทางเข้าออก ติดระบบสาธารณูปโภค มีท่อประปา ไฟฟ้า บริเวณเชิงสะพานพระราม 7

"วันที่ 19 ตุลาคมนี้ การรถไฟฯจะให้ผู้สนใจเข้าไปรับฟังรายละเอียดโครงการ ในวันนั้นคงมีการสอบถามปัญหาต่างๆ ทั้งหมด รวมทั้งแนวทางแก้ไข โครงการนี้บริษัทสนใจจะเข้าประมูล แต่เมื่อการรถไฟฯกำหนดทีโออาร์แบบนี้ คงต้องคิดให้รอบคอบ เพราะอาจเจ็บตัวเหมือนโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์"

ดึง พอช.หาที่อยู่ใหม่รองรับ

แหล่งข่าวจากการรถไฟฯกล่าวว่า ได้ขอความร่วมมือจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จัดหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้ที่ถูกรื้อย้าย 18 ชุมชน 3,337 หลังคาเรือนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาที่อยู่อาศัยให้ เบื้องต้นทราบว่าจะมีย่านบางบัวทอง โดย พอช.เสนอให้ชุมชนรวมตัวกันตั้งเป็นรูปของสหกรณ์ซื้อที่อยู่อาศัย และผ่อนชำระเป็นรายงวดกับ พอช.

ก่อนหน้านี้ชุมชนต้องการให้การรถไฟฯจัดหาที่อยู่อาศัยให้ใหม่ ใกล้ที่อยู่อาศัยเดิมในรัศมี 5 กิโลเมตร แต่การรถไฟฯสำรวจแล้วไม่มีที่ดินเหลืออยู่เลย จะมีก็ที่สุพรรณบุรีซึ่งชุมชนไม่ต้องการ จึงได้ขอความร่วมมือไปยัง พอช.

ปัญหามากมายขนาดนี้คงต้องออกแรงลุ้นว่า รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชันที่จะปักหมุดก่อสร้างต้นปีหน้านี้ จะเจอทางตันหรือไม่
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 01-10-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.