| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 85 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-09-2550    อ่าน 11550
 "รับเหมา-วัสดุ" ลุ้นต่อลมหายใจ ฝากรัฐบาลใหม่ปลุกเศรษฐกิจฟื้น

คอลัมน์ สดจากเวที



วงการรับเหมาก่อสร้างช่วงที่ผ่านมาได้รับความบอบช้ำจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาไม่น้อยไปกว่าภาคธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะปริมาณงานภาครัฐที่เปิดประมูลมีจำนวนลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย ทำให้ธุรกิจรับเหมาเวลานี้เหมือนขาดเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง

ล่าสุด สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ใน พระบรมราชูปถัมภ์ องค์กรที่เปรียบเสมือนเป็น เสาหลักวงการก่อสร้าง ร่วมมือกับบริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ "ทิศทางและอนาคตอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย"

โดยมี "กานต์ ตระกูลฮุน" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) องค์กรมหาชนยักษ์ใหญ่ในวงการวัสดุก่อสร้าง ที่มียอดขายกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี "พลพัฒ กรรณสูต" นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ หนึ่งในบริษัทรับเหมาก่อสร้างยักษ์ใหญ่ มาฉายภาพธุรกิจวัสดุก่อสร้างและปัญหาของวงการรับเหมาก่อสร้าง

นอกจากนี้ยังมีวิทยากรรับเชิญกิตติมศักดิ์อย่าง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในตัวเก็งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป มาชี้แจงถึงแนวนโยบายในการปลุกเศรษฐกิจให้กับมาฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง หากได้รับความไว้วางใจให้นั่งบริหารประเทศสมัยหน้า

หนุนใช้ภาคก่อสร้างขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

เปิดเวทีสัมมนาด้วยข้อมูลเชิงสถิติที่ "กานต์ ตระกูลฮุน" ซีอีโอของ SCG ผู้เคยมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เครือซิเมนต์ไทยฟันฝ่าเมฆหมอกเลวร้าย ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มาแล้ว มาฉายให้เห็นภาพที่แท้จริงของวงการวัสดุก่อสร้างขณะนี้ พร้อมให้ข้อเสนอแนะว่ารัฐบาล (ชุดใหม่) ว่าควรเพิ่มน้ำหนักการใช้ภาคการก่อสร้างมาเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นมากกว่าเดิม

เหตุผลคือจากข้อมูลเชิงสถิติจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) พบว่าช่วงก่อนปี 2533 มูลค่าตลาดวัสดุก่อสร้างโดยรวมซึ่งเชื่อมโยงกับภาคการก่อสร้าง เคยมีสัดส่วนถึง 20% ของจีดีพีประเทศ กระทั่งปี 2542 เป็นต้นมาสัดส่วนของตลาดวัสดุก่อสร้างต่อจีดีพีก็ค่อยๆ ปรับลดลง และกลายเป็นภาค "ส่งออก" ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึง 60-70% ของอัตราจีดีพี ผลที่ตามมาคือเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1 ปีที่ผ่านมา ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยก็ได้รับผลกระทบทันที

สิ่งที่อยากเห็นคือ ความสมดุลระหว่างภาคการก่อสร้างและส่งออกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะที่ผ่านมานอกจากสนามบินสุวรรณภูมิและโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ยังไม่เห็นโครงการอินฟราสตรัคเจอร์ขนาดใหญ่ใหม่ๆ เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ลึกๆ แล้วไม่อยากคาดหวังกับพรรคการเมืองที่จะมีการหาเสียงด้วยการสร้างอินฟราสตรักเจอร์อีก

เวียดนามใช้ซีเมนต์แซงหน้าไทย

กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทยกล่าวว่าข้อมูลตลาดวัสดุก่อสร้างและซีเมนต์จาก สภาพัฒน์ในปี 2549 ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวม 711,700 ล้านบาท ส่วนในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ตลาดหดตัวลงเล็กน้อย และ SCG ประมาณการว่าหากสถานการณ์ในช่วงครึ่งปีหลังเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลาดวัสดุก่อสร้างโดยรวมปี 2550 น่าจะหดตัวประมาณ 0.2%

ปี 2549 เป็นปีแรกนับจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ภาพรวมตลาดซีเมนต์ในประเทศลดลง -2% หรือมีความต้องการใช้ 28-29 ล้านตัน และเป็นเพียงประเทศเดียวในแถบอาเซียน ส่วนสถานการณ์ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ตลาดติดลบ 7.5% และช่วงเดือน 7-8 ที่ผ่านมายังติดลบ 5-6% ดังนั้นประมาณการว่าในปี 2550 ภาพรวมตลาดซีเมนต์จะติดลบ 5-10%

"สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือในขณะที่ความต้องการใช้ซีเมนต์ของเราติดลบ แต่เวียดนามกลับเติบโต ต่อเนื่อง คาดว่าในปี 2550 เวียดนามจะมีความต้องการใช้ซีเมนต์ถึง 36 ล้านตัน โดย 70-80% ถูกใช้ไปในภาคอินฟราสตรักเจอร์ ขณะที่ประเทศไทยใช้ซีเมนต์ในภาคอินฟราฯ ประมาณ 40% เท่านั้น และมีการคาดการณ์กันว่าในปี 2553 ความต้องการใช้ซีเมนต์ของเวียดนามจะเพิ่มขึ้นเป็น 49% หรือเติบโตประมาณ 30%"

รับเหมารายกลางอาการหนัก

ถัดมาเป็นมุมมองของ "พลพัฒ กรรณสูต" ผู้นำของสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ ออกมาฉายภาพปัญหาหนักอกที่ผู้รับเหมากำลังเผชิญในขณะนี้ และเหมือนจะบอกเป็นนัยว่าภาคธุรกิจรับเหมาคาดหวังอะไรจากรัฐบาลชุดใหม่บ้าง

โดยสะท้อนว่าการลงทุนอินฟราสตรักเจอร์ของรัฐบาลชุดก่อน (พรรคไทยรักไทย) ส่วนใหญ่เป็นเมกะโปรเจ็กต์ ทำให้งบประมาณที่ใส่เข้ามาไม่ถึงผู้รับเหมารายกลาง รายเล็ก และเมื่อมีการปฏิวัติก็ยิ่งทำให้ท่อน้ำเลี้ยงของวงการก่อสร้าง "ถูกปิดก๊อก"

ที่ผ่านมา ผู้รับเหมารายใหญ่ที่มีสายป่านยาวปรับตัวหันไปรับงานในต่างประเทศมากขึ้น แต่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (เอ็กซิมแบงก์) อยู่ที่ 5% ถือว่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศที่ปล่อยกู้ให้กับผู้รับเหมาที่ออกไปรับงานต่างประเทศในอัตราที่ต่ำมาก ตั้งแต่ 0.1-1% ที่อาการหนักคือผู้รับเหมากลางขณะนี้เหมือนขาดเลือดหล่อเลี้ยงเพราะไม่มีงาน ส่วนผู้รับเหมารายเล็กปีนี้ทยอยปิดกิจการไปหลายราย

นอกจากนี้ มีปัญหาการถูกยึดเงินค้ำประกันการยื่นประกวดราคา (ประมาณ 5% ของราคากลาง) หากไม่สามารถลงทะเบียนทันตามเวลากำหนดไม่ว่ากรณีใดๆ เคสที่น่าสนใจคือ บมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) ถูกยึดเงินจำนวน 168 ล้านบาท เนื่องจากไปช้าเพียง 5 นาที และขณะนี้อยู่ระหว่างการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง รวมถึงการผลักดันให้มีการจัดตั้ง "สภาการก่อสร้าง"

ชูแผนลงทุน 6 แสนล้านฟื้น ศก.

จากมุมมองนักธุรกิจ ปิดท้ายที่นักการเมืองรุ่นใหม่ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์วัย 43 ปี เปิดประเด็นด้วยการโปรยยาหอมว่า ไม่กลัวว่าจะต้องเหนื่อยหากได้รับเลือกให้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

โดยชูนโยบายพรรรคที่ประกาศเป็น "วาระประชาชน" 4 เรื่อง เพื่อปลุกเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอีกครั้ง เบ็ดเสร็จใช้งบประมาณ 6 -7 แสนล้านบาท (ตลอดสมัยรัฐบาล) ได้แก่ 1) การพัฒนาคน อาทิ โครงการเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้สูงอายุ การพัฒนาการศึกษา ฯลฯ ใช้งบฯลงทุน 1.5-2 แสนล้านบาท 2) การพัฒนาระบบน้ำ อาทิ ระบบท่อส่งน้ำ ฯลฯ ซึ่งเชื่อมโยงถึงการพัฒนาเศรษฐกิจในชนบท การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ซึ่งปัจจุบันถือว่าต่ำมาก ใช้งบฯลงทุน 1 แสนล้านบาท

3) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เป้าหมายคือลดต้นทุนค่าขนส่งจากปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วน 20% ของจีดีพีให้เหลือ 15% แต่สามารถขนส่งสินค้าได้ดีขึ้น ใช้งบฯลงทุนรถไฟระบบรางคู่ทั่วประเทศ 2 แสนล้านบาท และ 4) การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน จะผลักดันให้เกิดรถไฟฟ้าสายบางซื่อ-ตลิ่งชัน ผลักดันสายสีส้มทางด้านพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก (ฝั่งลาดพร้าว-บางกะปิ) เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน(ใต้ดิน) ให้เกิดการเชื่อมต่อครบลูปกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ และขยายรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายของกรุงเทพมหานคร จากแบริ่งไปสำโรง ใช้งบฯ ลงทุน 2.5 แสนล้านบาท

สำหรับที่มาของงบประมาณเชื่อว่าขณะนี้ประเทศไทยมีสถานะทางการเงินดี ประมาณการว่ามีความสามารถเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินได้อีกถึง 1.2 ล้านล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันกองทุนสำรองระหว่างประเทศ สูงกว่าปริมาณหนี้ระยะสั้นหลายเท่า ประกอบกับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อรายได้ประชาชาติก็อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานค่อนข้างมาก

สุดท้าย การแก้ไขปัญหาฮั้วประมูลในระบบ อีออกชั่น ซึ่งเป็นการบ้านที่พรรคจะนำกลับไปพิจารณาหาแนวทางแก้ไข เพื่อดำเนินการหากได้รับเลือกจัดตั้งรัฐบาลใหม่

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 20-09-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.