| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 105 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-09-2550    อ่าน 11382
 หัวเรือใหญ่สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร วโรดม สุจริตกุล เช็กความพร้อมก่อนเดตไลน์ 29 ธ.ค.

สัมภาษณ์



เหลือเวลาอีกเวลาอีกไม่ถึง 4 เดือนแล้ว ที่กฎกระทรวงตรวจสอบอาคารจะมีผลบังคับใช้ ก่อนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2550 นี้ ทุกอย่างต้องพร้อม ขณะนี้จึงเป็นช่วงนับถอยหลังของตึกสูงและป้ายโฆษณาทั่วประเทศ ที่เข้าข่ายต้องเร่งว่าจ้างผู้ตรวจสอบอาคารเข้ามาตรวจสุขภาพตึก และส่งแบบรายงานการตรวจสอบถึงมือ กรมโยธาธิการและผังเมืองตามกำหนด ไม่เช่นนั้นจะมีโทษหนักจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท และต้องเสียค่าปรับ รายวันๆ ละ 1 หมื่นบาท (กรณีส่งรายงานล่าช้า)

ล่าสุด "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ "วโรดม สุจริตกุล" นายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร เพื่อตรวจความพร้อมก่อนถึงเดตไลน์ตรวจตึกและป้ายทั่วประเทศช่วงสิ้นปีนี้

- ความพร้อมในภาพรวมการตรวจสอบอาคาร

ตามที่กฎหมายตรวจสอบอาคารจะมีผลบังคับใช้วันที่ 29 ธันวาคมนี้ แต่ปรากฏว่าถึงขณะนี้เจ้าของอาคารจำนวนหนึ่งยังไม่ทราบว่าอาคารของตนเข้าข่ายต้องตรวจสอบหรือไม่ ขณะเดียวกันที่ผ่านมาจะพบคำถามอย่างต่อเนื่องว่า 1)ทำไมต้องมีการตรวจสอบอาคาร และ 2)จำนวนผู้ตรวจสอบอาคารมีเพียงพอหรือไม่

อยากชี้แจงว่าจริงๆ แล้วการตรวจสอบอาคารถือเป็นหลักปฏิบัติสากล ในอเมริกา ญี่ปุ่น และแถบยุโรป ระบุเป็นกฎหมายชัดเจน โดยอเมริกามีการเขียนมาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Asscociation) ไว้อ้างอิงในการตรวจสอบ และเขียนละเอียดมากลงลึกถึงมาตรฐานส่วนต่างๆ อาทิ ทางหนีไฟ ระบบดับเพลิง

เท่าที่ทราบอาคารสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สนามบินสุวรรณภูมิ ก็อ้างอิงเรื่องความปลอดภัยอาคารตามมาตรฐานดังกล่าว เพราะในประเทศไทยยังไม่มีการเขียนมาตรฐานขึ้นมาใช้เอง

ล่าสุด เราอยู่ระหว่างร่วมกับสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชนชั้นนำ ยกร่าง "มาตรฐานการตรวจสอบ" เพื่อจัดทำเป็นหนังสือคู่มือเผยแพร่ และจะเร่งให้เสร็จทันก่อนกฎหมายตรวจสอบอาคารบังคับใช้

- จำนวนอาคารและป้ายที่เข้าข่ายตรวจสอบ

ตอนแรกผมประเมินไว้ทั่วประเทศมีประมาณ 2 หมื่นแห่ง แต่จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารสูง ประเมินว่าปัจจุบันเฉพาะตึกสูงที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบน่าจะอยู่ในช่วง 2-4 หมื่นแห่ง และถ้านับรวมป้ายโฆษณาด้วยคาดว่าอาจถึง 1 แสนแห่ง เนื่องจากในกฎหมายระบุว่าป้ายโฆษณาที่ติดตั้งอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคาร และมีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตร.ม. ขึ้นไป เข้าข่ายต้องตรวจสอบความปลอดภัยทั้งหมด

- อัพเดตจำนวนผู้ตรวจสอบอาคารล่าสุด

เท่าที่ทราบจากกรมโยธาฯ ระบุว่ามีผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียนในรูปแบบบริษัทแล้ว 50 แห่ง และในรูปแบบบุคคลอีก 700 ราย ส่วนที่อยู่ระหว่างรอขึ้นทะเบียนเข้าใจว่ามีอีกจำนวนมาก เฉลี่ยใช้เวลาตรวจสอบหลักฐานตามขั้นตอนต่างๆ ประมาณ 3 เดือน คาดว่าถึงสิ้นปีนี้น่าจะมีผู้ตรวจสอบอาคารในรูปแบบบริษัทประมาณ 200 แห่ง และในรูปแบบบุคคล 2,000 ราย

จากจำนวนผู้ตรวจสอบอาคารที่คาดว่าจะได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้ หลายคนอาจมองไม่เพียงพอรองรับอาคารทั้งหมด ขณะนี้จึงมีเจ้าของอาคารจำนวนหนึ่งพยายามขอผ่อนผันเวลากับ กรมโยธาฯ

แต่ผมคิดว่าการตรวจสอบอาคารถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตหากเกิดไฟไหม้ขึ้นและเสียหายถึงชีวิตถือว่าไม่คุ้ม แต่สุดท้ายถ้าไม่ทันกำหนดจริงๆ ทางภาครัฐก็คงต้องหาทางออกต่อไป เช่น อาคารที่อยู่ระหว่างรอการตรวจสอบหรือกำลังตรวจสอบก็อาจอะลุ้มอล่วยให้ เป็นต้น

- ในภาพรวมมีอาคารตรวสอบแล้วกี่เปอร์เซ็นต์

เข้าใจว่าน้อยมาก (เน้นเสียง) เฉพาะที่ตรวจสอบไปแล้วในนามบริษัทของผมเองมีประมาณ 4-5 อาคาร และอยู่ระหว่างการติดต่ออีก จำนวนหนึ่ง แต่สังเกตว่าถ้าเป็นอาคารสาธารณะโดยเฉพาะศูนย์การค้า จะตื่นตัวกว่าอาคารประเภทอื่น เพราะเป็นอาคารขนาดใหญ่ที่รองรับคนจำนวนมาก

- เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบและค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย

เท่าที่บริษัทดำเนินการมาเฉลี่ยใช้เวลา 4-7 วัน ขึ้นกับขนาดและความสลับซับซ้อนของอาคาร ถือว่าเร็วกว่าที่คาดการไว้ สำหรับอาคารขนาด 1 หมื่นตารางเมตร คาดว่าใช้เวลาไม่เกิน 4 วัน ส่วนถ้าเป็นอาคารขนาดใหญ่มาก ยกตัวอย่าง ศูนย์การค้าสยามพารากอน คงต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

ส่วนในแง่ค่าใช้จ่ายปัจจุบันแต่ละบริษัทก็คิดค่าจ้างแตกต่างกันเป็นไปตามกลไกตลาด และความพึงพอใจของลูกค้า แต่ถ้าไม่มีความรู้สามารถอ้างอิงจาก "ราคามาตรฐานกลาง" ที่สมาคมจัดทำขึ้นได้ ที่ผ่านมาราคาที่ตกลงกันถือว่าใกล้เคียงกับราคากลางที่เราจัดทำขึ้น

- ต่ำที่สุดเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

คาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 1 แสนบาท สำหรับการตรวจสอบใหญ่ที่กำหนดไว้ทุก 5 ปี ส่วนการตรวจสอบย่อยประจำปี ค่าใช้จ่ายจะลดลง 20% เหลือประมาณ 8 หมื่นบาท เพราะเป็นแค่การเช็กของเดิมเท่านั้น โดยการตรวจสอบมีทั้งหมด 4 ส่วนคือ 1) ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้าง 2) ระบบอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคาร 3) ทดสอบสมรรถนะของอุปกรณ์ต่างๆ 4) กำหนดแผนการหนีไฟ

- ความพร้อมของอาคาร

ถ้าเป็นอาคารที่สร้างหลังปี 2535 จะมีปัญหาน้อยกว่าที่สร้างก่อนปี 2535 เพราะเกิดขึ้นหลังจากมี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2535 บังคับใช้ ซึ่งเพิ่มความเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันอัคคีภัย

ที่กังวลคือ "อาคารชุด" สำหรับพื้นที่ส่วนกลางไม่มีปัญหา แต่ส่วนของห้องพักต้องอาศัยความมือเจ้าของห้องชุดด้วย ประกอบกับโครงการที่ค้างชำระค่าส่วนกลางก็อาจมีปัญหาตามมาภายหลังได้ เพราะเชื่อว่าส่วนใหญ่กังวลว่าการตรวจสอบอาคารจะทำให้ค่าส่วนกลางแพงขึ้น ดังนั้นอยากเสนอแนะให้จัดตั้งเป็นกองทุนให้กู้ยืมเงินปรับปรุงอาคารดอกเบี้ยต่ำเพื่อจูงใจ

- ฝากคำแนะนำถึงเจ้าของอาคาร

ถ้าไม่แน่ใจว่าอาคารเข้าข่ายต้องตรวจสอบหรือไม่ สามารถสอบถามทางสำนักงานเขต องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ได้ ส่วนเจ้าของอาคารต้อง เตรียม "แบบแปลนอาคาร" ให้พร้อม เพื่อวิศวกรหรือสถาปนิกจะได้ทราบถึงตำแหน่งทางหนีไฟ อุปกรณ์ดับเพลิง และกำหนดแผนทำงานได้ ที่สำคัญอยากให้ภาครัฐมีมาตรฐานเดียวกันในเรื่องการตรวจสอบรายงานความปลอดภัยอาคาร

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 13-09-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.