| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 193 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-09-2550    อ่าน 12057
 5 ทางเลือกลงทุนรถไฟฟ้า สายสีม่วง "บางซื่อ-บางใหญ่"

รายงาน



หลังจากใช้เวลากลั่นกรองมานานหลายเดือน ในที่สุดบริษัทที่ปรึกษา ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ว่าจ้างมาศึกษาพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ก็ตกผลึกรูปแบบการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตรแล้ว

ล่าสุด รฟม.ได้นำข้อมูลผลการศึกษาดังกล่าว เสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา หลังจากได้รับไฟเขียวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ไฟเขียวแล้ว เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา

จากนั้นจะเสนอให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เจียระไนอีกครั้งในขั้นตอนสุดท้าย

ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติและฟันธงว่าจะเลือกรูปแบบการลงทุนแบบไหนถึงจะดีที่สุด

ส่วนจะเป็นวิธีไหนที่เหมาะสมที่สุด ยังไม่มีใครตอบได้ตอนนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ ครม. ซึ่งคาดว่านับจากนี้ไปอีก 1 เดือน จะเสนอให้ ครม.พิจารณาได้

สำหรับผลการศึกษา ทางบริษัทที่ปรึกษาได้ใช้หลักเกณฑ์ และสมมติฐานของบริษัทที่ปรึกษาของเอดีบีที่มาช่วยสำนักบริหารหนี้ (สบน.) ในการศึกษาวิธีการลงทุนโครงการรถไฟฟ้า มาเป็นต้นแบบในการวิเคราะห์ถึงวิธีการและรูปแบบการลงทุนว่าจะเป็นวิธีไหนบ้าง

ตกผลึก 2 รูปแบบ

จนมาสรุปที่ 2 รูปแบบ คือ 1.แบบ PPP (public private partnership) เป็นรูปแบบรัฐบาลลงทุนร่วมกับเอกชน โดยรัฐลงทุนงานโยธา ราง ส่วนเอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้าและตัวรถไฟฟ้า 2.แบบ PSC (public sector comparator) เป็นรูปแบบรัฐบาลลงทุนทั้งหมดงานโยธา ราง ระบบรถไฟฟ้า และรถไฟฟ้า

ซึ่งการลงทุนใน 2 รูปแบบนี้ เมื่อมาดูรูปแบบการเก็บค่าโดยสารและแบ่งค่าโดยสารแล้ว จะแยกมาอีก 3 รูปแบบ คือ 1.แบบ net cost เอกชนรับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าและเก็บเงิน จ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาล เหมือนกรณีของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ที่รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ซึ่งรูปแบบนี้รัฐบาลจะการันตีผลตอบแทนการลงทุนให้เอกชน 13.5%

2.แบบ gross cost รัฐบาลจะเป็นคนจ้างเอกชนมาเดินรถตามราคาที่ตกลงกัน จะเป็นแบบรายปีหรือระยะยาว รัฐเก็บค่าโดยสารเอง และรัฐจะการันตีผลตอบแทนการลงทุนให้ 12.5%

3.แบบ modify gross cost รัฐบาลจะจ้างเอกชนมาเดินรถไฟฟ้าตามราคาที่จะตกลงกัน เป็นรายปีหรือระยะยาว แต่มีโบนัสให้พิเศษเป็นแรงจูงใจ กรณีที่เอกชนสามารถทำยอดผู้โดยสารได้ตามเป้า รัฐเก็บค่าโดยสารเอง โดยรัฐบาลจะ การันตีผลตอบแทนการลงทุนให้ 12.75%

แตกย่อย 5 วิธี

แต่เมื่อนำมาผสมผสานกันแล้ว จะได้ออกมาเป็น 5 รูปแบบวิธีให้เลือก คือ 1.แบบ PPP+net cost รัฐบาลลงทุนโครงการงานโยธา ราง เอกชนระบบรถไฟฟ้า ตัวรถไฟฟ้า และให้เอกชนรับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า 2.แบบ PPP+gross cost รัฐบาลลงทุนโครงสร้างงานโยธา ราง เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้า รถไฟฟ้า และจ้างเอกชนมาเดินรถไฟฟ้าตามราคาที่ตกลงกัน แบบรายปีหรือระยะยาว รัฐเก็บค่าโดยสารเอง

3.แบบ PPP+modify gross cost รัฐบาลลงทุนโครงสร้างงานโยธา ราง เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้า รถไฟฟ้า จ้างเอกชนมาเดินรถไฟฟ้าตามราคาที่ตกลงกันแบบรายปีหรือระยะยาว และมีโบนัสเพิ่มให้เป็นแรงจูงใจหากทำผู้โดยสารได้ตามเป้า รัฐเป็นคนเก็บค่าโดยสารเอง

4.แบบ PSC+gross cost รัฐบาลลงทุนทั้งหมด จ้างเอกชนมาเดินรถไฟฟ้าตามราคาที่ตกลงกันเป็นรายปีหรือรายเดือน รัฐเป็นคนเก็บค่าโดยสารเอง 5.แบบ PSC+modify gross cost รัฐบาลลงทุนทั้งหมด จ้างเอกชนมาเดินรถไฟฟ้าตามราคาที่ตกลงกันแบบรายปีหรือระยะยาว และมีโบนัสพิเศษเป็นแรงจูงใจให้เมื่อผู้โดยสารได้ตามเป้า รัฐเป็นคนเก็บค่าโดยสารเอง

"เมื่อวิเคราะห์กันแล้ว เห็นวิธีการลงทุนแบบรัฐบาลลงทุนทั้งหมด และจ้างเอกชนมาเดินรถไฟฟ้า โดยรัฐเก็บค่าโดยสารเอง ซึ่งออกมาเป็นรูปแบบที่ 5 เป็นวิธีที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการลงทุน แต่ในการทำข้อมูลที่ปรึกษาไม่ได้ระบุลงไปว่าเป็นวิธีไหน ให้ทาง ครม.เป็นคนตัดสินใจเอง" แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เนื่องจากวิธีนี้เอกชนไม่ต้องรับความเสี่ยง ที่สำคัญประชาชนได้ใช้บริการค่าโดยสารที่ถูก เพราะรัฐบาลเป็นผู้ควบคุมราคาค่าโดยสาร ไม่ใช่เอกชนเหมือนปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการต่อเชื่อม แต่มีข้อเสียคือรัฐบาลจะต้องรับภาระการลงทุนเองทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม นอกจากบริษัทที่ปรึกษา จะมีการศึกษาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯแล้ว ยังได้วิเคราะห์ตัวเลขปริมาณผู้โดยสารของสายสีม่วงใหม่ด้วย ล่าสุดอยู่ที่ 1.9 แสนเที่ยวต่อวัน ณ ปีแรกที่เปิดให้บริการ จากเดิมประมาณการไว้เกือบ 2 แสนเที่ยวต่อวัน

อัตราค่าโดยสาร เริ่ม 10 บาท บวกเพิ่มสถานีละ 1.80 บาท ส่วนมูลค่าการลงทุนทั้งงานก่อสร้างและระบบรถไฟฟ้า ได้ปรับลดลงจากเดิม เหลือ 55,000 กว่าล้านบาท หลังจากที่ รฟม.ได้มีการปรับลดค่าเวนคืนที่ดินลงมา จากเดิม 12,000 ล้านบาทเหลือ 9,300 กว่าล้านบาท

แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะเลือกรูปแบบไหนถึงจะสมประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายระหว่างรัฐและเอกชน

โดยปราศจากข้อครหาต่างๆ นานา ที่จะตามมา

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 03-09-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.