| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 237 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-09-2550    อ่าน 11630
 เปิดแผนธุรกิจสีนิปปอน สืบพงศ์ พูนศรัทธา ชู "เทคนิคอลเซอร์วิส" เจาะตลาด

สัมภาษณ์



เป็นครั้งแรกที่ "สืบพงศ์ พูนศรัทธา" ประธานบริหารของ "นิปปอนเพนต์ (ประเทศไทย)" เปลี่ยนบรรยากาศในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะตลาดสี ตลอดจนภาพรวมเศรษฐกิจและการเมือง ที่ปกติจะใช้ห้องประชุมตามโรงแรมเป็นสถานที่ นัดหมายในรูปแบบที่ค่อนข้างเป็นทางการ มาสู่บรรยากาศแบบไม่เป็นทางการมากนัก ที่บ้านพักหลังใหม่ย่านประชาชื่นมูลค่าร่วม 20 ล้านบาท ที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย

ด้วยความที่เป็นซีอีโอที่มีประสบการณ์ทำงานกับสีนิปปอนมานานถึง 31 ปี และจุดเด่นเรื่องความมีระเบียบวินัยในการทำงาน ทำให้เขาได้รับความไว้วางใจให้ก้าวขึ้นนั่งเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรมานานถึง 12 ปี ล่าสุด ภายใต้แรงกดดันจากสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก เขาเปิดใจเล่าถึงภารกิจสำคัญ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และแผนระยะยาวที่นิปปอนเพนต์จะก้าวไปในวันข้างหน้า เพื่อให้องค์กรแห่งนี้สามารถยืนหยัดอยู่ได้ในระดับแนวหน้าของวงการสีเมืองไทย

"ภาพรวมตลาดสีทาอาคารช่วง 7 เดือนแรกเปรียบเทียบแล้วถือว่าแย่กว่าปีที่ผ่านมา เพราะตามหลักธุรกิจสีทาอาคารจะได้รับผลกระทบช้ากว่าธุรกิจก่อสร้างประมาณ 8-24 เดือน ซึ่งปีที่ผ่านมาก็อย่างที่ทราบว่างานก่อสร้างชะลอตัว ปีนี้จึงเห็นผลกระทบโดยตรงกับสีทาอาคาร" สืบพงศ์ ซีอีโอของนิปปอนเพนต์เปิดประเด็น

ล่าสุด นิปปอนเพนต์จึงปรับลดประมาณการยอดขายทั้งปีลง จากเดิม 5,200 ล้านบาท เติบโตเกือบ 20% เหลือ 4,800 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 12% โดยในช่วง 6 เดือนแรกมียอดขายแล้ว 2,300 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นยอดขายในกลุ่มสีทาอาคารประมาณ 500 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากมองยาวไปถึงปีหน้า เขาไม่ฟันธงว่าตลาดจะดีขึ้นหรือแย่ลง เพราะมีโอกาสเป็นไปได้ใน 2 แนวทางคือ 1) หากมองแบบ คอนเซอร์เวทีฟ เป็นไปได้ว่ารัฐบาลชุดใหม่อาจไม่อัดฉีดงบประมาณมากนัก เนื่องจากในปีนี้มีการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐไปเยอะมาก รวมถึงรายได้จากภาษีก็ลดลง และ 2) รัฐบาลเร่งการอัดฉีด งบประมาณเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว

"ช่วง 6 เดือนแรกยอดขายกลุ่มสีทาอาคารของเรามีอัตราเติบโตขึ้นกว่า 10% จากเป้าตอนแรกที่ตั้งไว้ 30% เนื่องจากเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย แต่คาดว่าทั้งปีเราน่าจะทำยอดขายได้ 800-900 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดประมาณ 9-10%"

"สืบพงศ์" ฉายภาพถึงกลยุทธ์ของสีนิปปอนที่จะผลักดันยอดขายให้ได้ตามเป้าว่า จะมาจาก 3 ส่วนคือ 1) ควอลิตี้ โปรดักต์ 2) การลดต้นทุน และ 3) เซอร์วิส

ประเด็นของควอลิตี้ โปรดักต์ แนวทางของนิปปอนเพนต์จะไม่เน้นการเปิดตัวสินค้าใหม่แบบถี่ๆ สู้กับคู่แข่ง แต่จะเน้นการสื่อสารเรื่องคุณภาพสินค้าเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวสินค้าในกลุ่มสีทาอาคารจะต้องมีอย่างแน่นอน ตามแผนที่วางไว้คือภายใน 3 ปีนับจากนี้ จะมีสีรุ่นใหม่เปิดตัวประมาณ 1-2 รุ่น

ส่วนการลดต้นทุนจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) ลดต้นทุนบริษัทในส่วนการบริหารจัดการ และ 2) ลดต้นทุนลูกค้า อาทิ การเข้าไปให้คำแนะนำในการพ่นสีในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และซ่อมรถยนต์ เพื่อลดการสูญเสียของละอองสีที่ปลิวไปในอากาศ อาจจะลดลงเหลือ 1-3% หรือไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้นเลย

สุดท้ายคือเซอร์วิส กลยุทธ์ที่จะช่วยผลักดันยอดขายในกลุ่มสีอาคาร โดยอาศัยทีมงาน "เทคนิคอล เซอร์วิส" เข้าไปช่วยเหลือลูกค้า เป็นที่ปรึกษาในการทาสี ซึ่งจะคัดคนมาจากผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ทั้งหมด

"ลูกค้าของเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ร้านดีลเลอร์จำหน่ายสี ซึ่งมีจำนวน 700-800 ราย เราจะสร้างความรู้สึกว่าทุกรายเป็นเหมือน บิสซิเนสพาร์ตเนอร์ คือเติบโตไปด้วยกัน ช่วยกันผลักดันยอดขาย ส่วนลูกค้าปลายทางที่เป็นงานโครงการต่างๆ จากเดิมร้านค้าซื้อสีจากบริษัทก็อาจถือว่าจบ แต่เราปรับกลยุทธ์ใหม่ ใช้ทีมเทคนิคอล เซอร์วิส เจาะเข้าไปดูแลลูกค้าโครงการอย่างใกล้ชิดแบบ on request ทุกครั้งที่มีร้องขอ เพื่อให้คำแนะนำหรือแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น"

กลยุทธ์ทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นการปรับส่วนผสมการใช้งบประมาณการตลาดในปีนี้จำนวน 200 ล้านบาท โดยลดการสื่อโฆษณาทางทีวี และหันมาทำกิจกรรมการตลาดในรูปแบบบีโลว์เดอะไลน์ แบบยิงตรงถึงลูกค้าเป้าหมายแต่ละกลุ่มมากขึ้น

ในแง่ของตลาดสีทาอาคาร ซีอีโอของนิปปอนเพนต์มองว่า บริษัทมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากน่าจะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณอันดับที่ 5 การเพิ่มยอดขายในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จึงเป็นตลาดที่ยังเปิดกว้างอยู่

"สไตล์ของนิปปอนเพนต์อาจไม่ได้เน้นการสื่อสารมากนัก แต่อาศัยบุคลากรเจาะเข้าหาลูกค้าโดยตรง เป้าหมายของเรากำหนดไว้ชัดเจน ภายในปี 2553 จะต้องมียอดขายสีทาอาคารเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 1,600-1,800 ล้านบาท และภายในปี 2555 เราจะต้องมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 หรือ 3" สืบพงศ์กล่าวพร้อมระบุว่า

จุดแข็งของสีนิปปอนคือ "คุณภาพ" ซึ่งสอดรับกับเทรนด์ผู้บริโภคที่จะหันมาให้ความสำคัญกับคุณภาพมากว่าความสวยงาม เช่น สีทาอาคารเกรดพรีเมี่ยมรุ่นล่าสุดที่เปิดตัวไปคือ "สีนิปปอน ออเดอเรส" สีปลอดกลิ่นฉุนและสารระเหย 100% รับประกันคุณภาพโดยหน่วยงานด้านมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น

แม้ว่ายอดขายของสีรุ่นนี้จะยังไม่เข้าเป้า แต่เขามีความเชื่อมั่นลึกๆ ว่า หากสามารถสื่อให้เห็นถึงความสำคัญเรื่องการใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้ ลูกค้าน่าจะมียอดจ่ายแพงขึ้นในราคาขนาด 5 แกลลอน กระป๋องละกว่า 3,000 บาท ซึ่งน่าจะเป็นสีทาอาคารเกรดพรีเมี่ยมที่มีราคาสูงสุดในขณะนี้ เหมือนเช่นในประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมมาก

"กลุ่มเป้าหมายของเราคือโรงพยาบาล โรงเรียน อาคารสำนักงาน เพราะระหว่างที่ทาสีอาคารทุกคนสามารถทำงานต่อไปได้ เนื่องจากไม่มีกลิ่นฉุนระเหยออกมา ถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น โรงพยาบาลหมายถึงรายได้ที่ต้องสูญเสียไป เช่น โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ก็เป็นลูกค้าของเรา"

"สืบพงศ์" บอกว่า ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน บริษัทยังคงกำหนดมาสเตอร์แปลนแผนการลงทุนไว้รองรับเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยการลงทุนเต็มรูปแบบจะต้องใช้ประมาณ 600-800 ล้านบาท แยกเป็นโรงงานผลิตสีอุตสาหกรรมที่บางปะกง ซึ่งได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 52 ไร่ ไว้แล้ว ปัจจุบันมีกำลังผลิตสูงสุด 4 หมื่นตันต่อปี จะขยายเพิ่มขึ้นอีกกว่า 1 หมื่นตันต่อปี หรือ 1 ใน 3 แต่กรณีที่เศรษฐกิจยังซบเซาอาจลดขนาดการลงทุนเหลือ 100-200 ล้านบาท

ส่วนโรงงานผลิตสีทาอาคารที่พระประแดง ปัจจุบันเดินกำลังผลิต 60-65% จากกำลังผลิตสูงสุด 3 หมื่นตัน ดังนั้นการลงทุนเพิ่มคาดว่าจะใช้งบประมาณไม่เกิน 100-200 ล้านบาท โดยอาศัยวิธีการเปลี่ยน "ถังปั่นสี" ให้มีความจุเพิ่มขึ้นจาก 5,000 ตัน เป็น 1 หมื่นตัน เท่ากับเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตบางจุด

"แผนการตลาดตัวสุดท้ายของเราคือ การลงทุนตั้งหน่วยงานศูนย์กลางวิจัยและพัฒนา หรือ R&D Center เพื่อรองรับการพัฒนาสีอุตสาหกรรมในสาขานิปปอนที่อยู่กลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมด ศูนย์นี้จะทำหน้าที่ประสานงานกับค่ายรถชั้นนำ เช่น บีเอ็มดับบลิว วอลโว่ ซึ่งมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนารถรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาเช่นเดียวกัน"

ซึ่งจะได้เห็นหน้าตา R&D Center เต็มรูปแบบในอีก 3 ปีข้างหน้า

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 03-09-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.