| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 176 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-08-2550    อ่าน 11681
 เวนคืนหมู่บ้านซิเมนต์ไทย ขยายถนนใหม่เชื่อม "รัชดาภิเษก"

คอลัมน์ เวนคืนอัพเดท



เส้นทางลัดที่มีอยู่ทั่วทุกอณูของพื้นที่กรุงเทพมหานคร นับวันยิ่งได้รับความนิยมสำหรับคนที่ต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางเป็นประจำแทบทุกวัน เพื่อหลีกเลี่ยงถนนสายหลักที่การจราจรค่อนข้างคับคั่ง โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนอย่างตอนเช้าตรู่และเย็นย่ำ

"ซอยซิเมนต์ไทย" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านจัดสรรสวัสดิการเก่าแก่ "หมู่บ้าน ปูนซิเมนต์ไทย" ถือเป็นอีกซอยหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้เส้นทางลัดซอยอื่นๆ เนื่องจากเป็นซอยที่สามารถเดินทางออกไปทะลุกับถนนสายหลัก ไม่ว่าจะเป็นถนนประชาชื่น พงษ์เพชร งามวงศ์วาน รัชดาภิเษก วิภาวดีรังสิต วงศ์สว่าง พระรามที่ 7 ทางด่วนที่ด่านรัชดาภิเษก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ถนนในซอยซิเมนต์ไทยในปัจจุบันถือว่ายังไม่สมบูรณ์แบบ เนื่องจากผู้ที่ใช้ทางหากมีความต้องการใช้เป็นทางเชื่อมไปยังถนนรัชดาภิเษกนั้น เนื่องจากปลายซอยอีกด้านหนึ่งทะลุกับจุดกลับรถใต้สะพานข้ามแยกวิภาวดีหรือสะพานรัชวิภา ที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "สะพานเส้นก๋วยเตี๋ยว" ทำให้ถูกบังคับต้องไปกลับรถที่ใต้สะพานต่างระดับประชานุกูลก่อนถึงจะวกกลับเข้าสู่ถนนรัชดาภิเษกมุ่งหน้าไปอโศกได้

สาเหตุเป็นเพราะยังขาดส่วนเชื่อมโยงกับสะพานรัชวิภาได้โดยตรงนั่นเอง จากข้อจำกัด ดังกล่าว ทำให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแผนจะก่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษกกับซอยซิเมนต์ไทย

ล่าสุด กทม.ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน เพื่อกำหนดพื้นที่ที่จะเวนคืนในแขวงจตุจักรและแขวงลาดยาว เขตจตุจักร

โดยพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา มีอายุบังคับใช้ทั้งหมด 3 ปี โดย กทม.ออกพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพื่อให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ของ กทม.สามารถเข้าไปเดินสำรวจพื้นที่ที่จะเวนคืน โดยแนวที่จะเวนคืนมีความกว้างสุด 200 เมตร และส่วนที่แคบสุด 30 เมตร

"ในอนาคตเมื่อโครงการขยายถนนเส้นนี้แล้วเสร็จ จะทำให้เป็นถนนเชื่อมโยงการเดินทางได้โดยไม่ต้องขับอ้อมไปกลับรถใต้สะพานลอยประชานุกูล เพราะปัจจุบันคนที่ใช้ซอยนี้แม้ว่าจะออกมายังซอยรัชดาภิเษก 52 ได้ แต่ไม่สามารถเชื่อมกับสะพานต่างระดับที่มุ่งหน้าไปยังถนนรัชดาภิเษก และถนนกำแพงเพชรได้ ต้องไปกลับรถใต้สะพานก่อน" แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เมื่อมีการต่อเชื่อมกันแล้วจะทำให้การเดินทางสะดวกมากขึ้น เพราะสามารถเชื่อมโยงกับสะพานรัชโยธินได้ ซึ่งเป็น การช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้มากทีเดียว เนื่องจากผู้ใช้เส้นทางนี้ไม่ต้องไปใช้ถนนสายหลักที่เสี่ยงกับการจราจรที่หนาแน่นอย่างถนนประชาชื่น ซึ่งจะเป็นการช่วยระบายการจราจรบนถนนประชาชื่นและถนนรัชดาภิเษกได้บางส่วน อีกทั้งยังเป็นการเปิดพื้นที่ปิดล้อมให้มีการสัญจรไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้นไปอีก

"โครงการนี้ความยาวที่จะก่อสร้างทั้งหมด 307 เมตร เริ่มจากปากทางซอยรัชดาภิเษก 52 และปากทางเข้าหมู่บ้านซิเมนต์ไทย เป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันถนนซอยนี้จะเป็นขนาด 2 เลน แต่ถือว่ายังแคบ จะปรับปรุงใหม่และอาจจะต้องขยายเพิ่ม"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ตามแผนเดิม กทม.คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมด 33 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 11 ล้านบาท ที่เหลือ 21 ล้านบาทเป็นค่าเวนคืนที่ดิน แต่วงเงินนี้ถือเป็นการคาดการณ์งบประมาณเบื้องต้นเท่านั้น จริงๆ แล้วอาจต้องใช้งบฯ สูงถึง 100 ล้านบาท เนื่องจากงบฯเดิมเป็นผลจากการสำรวจนานหลายปีแล้ว

ทั้งนี้ สำหรับการเวนคืนที่ดิน ทาง กทม.คาดว่าจะเวนคืนไม่มากเพื่อลดผลกระทบของผู้ที่จะถูกเวนคืนให้มีน้อยที่สุด โดยพื้นที่เวนคืนส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่เป็นปากทางเข้า (ซอย) สภาพปัจจุบันเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งในการออกแบบหลีกเลี่ยงได้ยากเพราะจำเป็นจะต้องขยายถนนให้มีความกว้างของพื้นที่ เพื่อทำทางเชื่อมต่อกับสะพานรัชวิภาได้

เพราะฉะนั้น แม้ถนนจะสั้นเพียง 307 เมตร แต่ประโยชน์ใช้สอยด้านจราจรกลับสูงยิ่ง

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 27-08-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.