| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 101 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-08-2550    อ่าน 12128
 จัดสรรพลิกแผนแก้เกมกำลังซื้อหด ผุดบ้านแฝดเสริมไลน์โปรดักต์พยุงยอด

ดีเวลอปเปอร์แก้เกมกำลังซื้อหด เหตุจากผู้บริโภครายได้ฝืดไม่พอซื้อบ้านเดี่ยว เบนเข็มปรับพอร์ตเพิ่มสัดส่วนบ้านแฝดเสริมไลน์โปรดักต์พยุงยอด ชูจุดขายราคาถูกกว่าบ้านเดี่ยวแต่คุณภาพชีวิตและฟังก์ชันการใช้สอยเทียบเท่า เจ้าตลาด "ศุภาลัย-ลลิลฯ-กานดาฯ-เอ็น.ซี.ฯ มั่นคงฯ" เสือปืนไว ปั้นยอดขายฉลุย



ในภาวะกำลังซื้อชะลอตัวจากปัจจัยลบหลากหลายด้านที่รุมเร้า ทำให้ดีเวลอปเปอร์ต้องพยายามแก้เกมยอดขายตกต่ำ นอกจากสร้างทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค โดยปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้สอย ลดขนาดบ้าน เพื่อให้ราคาขายถูกลงอีกแนวทางหนึ่งคือการเพิ่มสัดส่วนสินค้าประเภทบ้านแฝด ให้สอดรับกับกำลังซื้อที่มีข้อจำกัดในเรื่องของรายได้ เพื่อพยุงยอดขายในภาวะเศรษฐกิจขาลงให้ใกล้เคียงเป้าที่ตั้งไว้

แม้ในสถานการณ์ปกติบ้านแฝดไม่ได้เป็นสินค้าหลัก เป็นเพียงสินค้าเสริมที่เข้ามาแทรกในตลาด ยอดขายต่อปีมีไม่มากนัก ขณะเดียวกันอัตราการเติบโตของตลาดก็แทบจะไม่มีความเคลื่อนไหว แต่ในสถานการณ์ไม่ปกติอย่างเวลานี้บ้านแฝดกลายเป็นโปรดักต์ที่ผู้ประกอบการไม่อาจมองข้ามได้

ที่ผ่านมาบริษัทพัฒนาที่ดินที่ทำตลาดบ้านแฝดควบคู่ไปกับบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์มีหลายรายด้วย อาทิ พฤกษา, พร้อมพัฒน์พร็อพเพอร์ตี้, ลลิล, มั่นคงเคหะการ, เค.ซี.พร็อพเพอร์ตี้, ศุภาลัย และ เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง เป็นต้น ถือเป็นสินค้าที่เข้ามาขั้นกลางระหว่างบ้านเดี่ยวกับทาวน์เฮาส์ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อไม่ถึงบ้านเดี่ยว แต่ไม่อยากอยู่ทาวน์เฮาส์

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์รายงานตัวเลขที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน ใน กทม.-ปริมณฑล ไตรมาสที่ 1/2550 ว่า มีบ้านแฝดจดทะเบียนใหม่ 316 ยูนิต สูงกว่าไตรมาสที่ 4/2549 ที่ 270 ยูนิต 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ไตรมาสแรกปีนี้มีบ้านแฝดจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น 229%

พิจารณายอดจดทะเบียนเฉพาะ กทม.ไตรมาสที่ 1/2550 มีบ้านแฝดจดทะเบียน 258 ยูนิต สูงขึ้นจากไตรมาสที่ 4/2549 ที่มี 39 ยูนิต 562% สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณ 353% ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าบ้านแฝดเริ่มมีในตลาดมากขึ้น และเริ่มเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการและผู้ซื้อมากขึ้น

นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เจ้าของโครงการกานดา พาร์ค พระรามที่ 2 โครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮาส์ บนเนื้อที่ 70 ไร่ มูลค่า ที่เพิ่งจะเปิดตัวโดยลอนช์บ้านแฝด 37 ตร.ว.ทดสอบตลาด 98 ยูนิต ยูนิตละ 2.36 ล้านบาท เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ซัพพลายบ้านแฝดในยังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับที่อยู่อาศัยประเภทอื่น แต่ไตรมาสที่ 1/2550 มีอัตราการขยายตัวสูงมาก

สาเหตุหลักมาจากกฎหมายผังเมืองเปิดช่องให้ผู้ประกอบการพัฒนาได้มากขึ้น โดยเฉพาะทำเลที่ดินมีราคาแพง สินค้าประเภทนี้จะเข้าไปแทนบ้านเดี่ยวที่มีราคาแพงกว่า แต่คุณภาพชีวิตและการอยู่อาศัยเทียบเท่ากับบ้านเดี่ยว อย่างไรก็ตาม จะขายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งโครงการด้วย

"บ้านแฝดเป็นสินค้าที่เข้ามาเติมช่องว่างระหว่างทาวน์เฮาส์กับบ้านเดี่ยว ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสมีบ้านเป็นของตนเองในเขตเมืองได้ในภาวะที่กำลังซื้อหด แต่การเติบโตหวือหวาคงไม่มี"

แม้บ้านแฝดจะเป็นตลาดทางเลือกของผู้บริโภคที่ไม่มีวันโตแบบก้าวกระโดดเหมือนที่อยู่อาศัยประเภทอื่นๆ แต่ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถทิ้งตลาดนี้ไปได้ เนื่องจากเป็นไลน์โปรดักต์ที่เข้ามาเสริมให้มีสินค้าครอบคลุมกำลังซื้อทุกเซ็กเมนต์

นายไชยยันต์ ชาครกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดยังมีความต้องการบ้านแฝดตลอดไม่ว่าเศรษฐกิจจะขึ้นหรือลง กำลังซื้อก็มักเป็นเรียลดีมานด์ รูปแบบบ้านแฝดปัจจุบันถูกพัฒนาให้ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าบ้านเดียวทั้งในแง่ดีไซน์และฟังก์ชันการใช้สอย ทำให้ผู้บริโภคสนใจมากขึ้น

"บ้านแฝดที่ออกมาทำตลาดในขณะนี้ ถือว่าตอบรับกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น นอกจากที่ทำตลาดนี้อยู่ก่อนแล้ว ขณะนี้บริษัทพัฒนาที่ดินหลายรายสนใจจะเข้ามาเล่นในตลาดนี้ด้วย แต่มีข้อจำกัดในการบริหารต้นทุน และต้องมีประสบการณ์ สำหรับยอดขายบ้านแฝดเมื่อเทียบกับบ้านเดี่ยว ถือว่าทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะบ้านแนวคิดใหม่ที่บริษัทพัฒนาขึ้น ลูกค้าตอบรับมาก" นายไชยยันต์กล่าว

ก่อนหน้านี้บริษัทพัฒนาที่ดินรายกลางที่เคยพัฒนาบ้านแฝดในโครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ เริ่มมองเห็นช่องว่างทางการตลาด จากที่ลูกค้าซื้อบ้านแฝดมากขึ้น และการขายวิ่งได้ดีกว่าบ้านเดี่ยวที่เริ่มชะลอตัว อย่างบริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) ได้ปรับแผนการลงทุนโดยเพิ่มสัดส่วนในการพัฒนาบ้านแฝดแทนบ้านเดี่ยวระดับกลางราคา 5-6 ล้านบาท

นายสมนึก ตันฑเทอดธรรม รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง กล่าวว่าได้ปรับสัดส่วนบ้านแฝดเป็น 20% จากเดิม 10% ซึ่งเป็นการปรับสินค้าให้มีราคาสอดคล้องกับอำนาจซื้อที่ลดลง ซึ่งในภาวะอัตราดอกเบี้ยขาลงจะเร่งการตัดสินใจให้ลูกค้าซื้อบ้านแฝดมากขึ้น

ด้านบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) เป็นอีกรายที่เบนเข็มมาเน้นตลาดบ้านแฝดช่วงครึ่งหลังปีนี้ โดยโครงการกรีนพาร์ค รามอินทรา มีบ้านแฝดสไตล์ contemporary ขนาดใหญ่ 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ที่จอดรถ พื้นที่ใช้สอย 106-134 ตร.ม. ให้ลูกค้าเลือก ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 54 ยูนิต จาก 114 ยูนิต

"จากข้อมูลการตอบแบบสอบถามของลูกค้า พบว่าเหตุผลที่ตัดสินใจซื้อบ้านแฝดเพราะราคาขายไม่แพง สอดคล้องกับกำลังซื้อที่มีอยู่จริง" นางธัญญา สิริปูชกะ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บมจ.มั่นคงเคหะการ กล่าว

ด้านบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ปลายปีที่ผ่านมาได้เปิดตัวบ้านแฝด ภายใต้ชื่อศุภนุช (พิเศษ) ในโครงการศุภาลัย วิลล์ สุขุมวิท-ศรีนครินทร์ 8 ยูนิต ขนาดพื้นที่ 44 ตร.วา ราคาขาย 3.4 ล้านบาท ขายได้แล้ว 3 ยูนิต ชูคอนเซ็ปต์เป็นบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยเท่าบ้านเดี่ยวเป็นจุดขาย ปรากฏว่าลูกค้าให้ความสนใจจำนวนมากเช่นเดียวกัน

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 09-08-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.