| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 129 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-08-2550    อ่าน 11931
 2 ระนาบมุมมองผู้ผลิตเฟอร์ฯไทย แบรนด์ "โพเดียม-ร้อกเวิธ" ปรับตัวอย่างไรรับมือค่าเงินบาท-ตลาดขาลง

สัมภาษณ์



ตลาดเฟอร์นิเจอร์ปีนี้ที่ผ่านพ้นมากว่าครึ่งทางถือว่าซบเซาเงียบเหงาตามภาวะเศรษฐกิจและภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัว รวมถึงภาวะเงินบาทแข็งค่าที่เป็นปัญหาใหม่ของผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์เปิดมุมมองผู้บริหาร 2 แบรนด์ดัง สมชาย อังสนันท์ เอ็มดี บริษัทโพเดียม โฮม เซ็นเตอร์ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ "โพเดียม" และ ไชยยงค์ พงษ์สุทธิมนัส ผู้บริหารสูงสุดของ บมจ.ร้อกเวิธ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ "ร้อกเวิธ" ด้วยประสบการณ์เป็น แบรนด์ที่อยู่ในตลาดเฟอร์นิเจอร์มานานกว่า 10 ปี ช่วยกันหาคำตอบถึงทิศทางการปรับตัวและแนวโน้มตลาดช่วงครึ่งปีหลัง

- ตลาดเฟอร์นิเจอร์ช่วงครึ่งปีแรก

สมชาย - ถ้าย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงต้นปีเหตุการณ์ระเบิดมีผลกระทบแน่นอน สำหรับโชว์รูมโพเดียมสาขาศรีนครินทร์ ช่วง 2-3 เดือนแรกถือว่าเงียบ ยอดขายลดลง 10-12% เพราะคนไม่ค่อยกล้าเดินห้าง กระทั่งช่วงไตรมาสที่ 2 สถานการณ์เริ่มดีขึ้นบ้าง และคิดว่าช่วงครึ่งปีหลังน่าจะดีขึ้นอีก ส่วนบรรยากาศการเมืองที่ยังไม่สงบนิ่งไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อ แต่กระทบทางอ้อมจากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนเปิดตัวโครงการใหม่ลดลง แม้มีโครงการคอนโดฯตามแนวรถไฟฟ้าทั้งปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเปิดตัวค่อนข้างคึกคัก แต่ส่วนใหญ่เป็นห้องชุด 1-2 ล้านบาท ซึ่งไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักของโพเดียม ซึ่งโฟกัสไปที่ตลาดบ้านหรือ คอนโดฯระดับราคาตั้งแต่ 3-4 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 3-4 น่าจะเห็นผู้ประกอบการกลับมาลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดฯระดับกลาง-บนกันมากขึ้น เพื่อเร่งยอดขายในช่วงครึ่งปีหลัง



ถามว่าภาพรวมตลาดปีนี้อาจติดลบหรือไม่ ผมคิดว่ามีโอกาสเป็นไปได้ เพราะโดยภาพรวมแบ่งลูกค้าออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1)ซื้อเพื่อตกแต่งบ้านใหม่ 60% 2)ซื้อเพื่อปรับเปลี่ยน 40% สำหรับปีนี้การลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยชะลอตัวอย่างชัดเจนโดยเฉพาะบ้านเดี่ยว จึงมองว่าตลาดเฟอร์นิเจอร์โดยรวมปีนี้มี 2 อย่าง คือ "ทรง" กับ "ทรุด"

- ตลาดออฟฟิศเฟอร์นิเจอร์

ไชยยงค์ - ช่วงครึ่งปีแรกตลาดแย่คาดว่าหดตัวลงประมาณ 10% เพราะตลาดหลักของออฟฟิศเฟอร์นิเจอร์คืองานโครงการ ซึ่งปีนี้ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและความไม่สงบทางการเมือง ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจชะลอการขยายงาน ส่วนงานโครงการภาครัฐก็แข่งขันราคากันรุนแรง อาทิ โครงการประมูลงานออฟฟิศเฟอร์นิเจอร์ในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ราคาเปิดประมูลเริ่มต้นที่เกือบ 900 ล้านบาท แข่งขันกันหนักจนราคาชนะประมูลเหลืออยู่กว่า 400 ล้านบาท

ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลัง คิดว่าคงซึมๆ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งได้รัฐบาลชุดใหม่ความเชื่อมั่นถึงจะเริ่มกลับมา การประเมินตลาดเฟอร์นิเจอร์ในประเทศปีนี้คงหวังรักษายอดขายเท่ากับปีก่อนคือ 700 ล้านบาท และเติบโตจากการส่งออก เป้าหมายคือ 250 ล้านบาท เติบโตขึ้น 18%

- ปัญหาค่าเงินบาทกระทบอย่างไรบ้าง

สมชาย - โพเดียมมียอดส่งออก 600 ล้านบาท หรือประมาณ 90% จากยอดขายโดยรวมปีที่ผ่านมาประมาณ 700 ล้านบาท โดยส่งออกไปญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียว ซึ่งบางรายก็มาเปิดสาขาในประเทศไทย จึงมีทั้งการซื้อขายด้วยเงินเยน เงินบาท และเงินดอลลาร์ จากภาวะเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็ถือว่ามีผลกระทบพอสมควร การปรับตัวของบริษัทเพื่อรองรับค่าเงินบาทแข็งในขณะนี้คือ 1)ลดต้นทุนการผลิต เช่น ลดชั่วโมงทำงานล่วงเวลา ลดความสูญเสียระหว่างการผลิต เป็นต้น และ 2)เจรจาขอปรับขึ้นราคาสินค้าแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตามยอมรับว่าการขอปรับขึ้นราคาคงเป็นเรื่องยาก

จุดที่น่าเป็นห่วงคือ จากการประเมินของบริษัทกรณีที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปถึง 32 บาทต่อดอลลาร์ ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์โดยรวมมีผลกระทบแน่ เพราะปัจจุบันมาร์จิ้นลดลงมาก จากเดิมเคยได้ 20% เชื่อว่าปัจจุบันเหลือประมาณ 10%

- การปรับตัวของร้อกเวิธ

ไชยยงค์ - เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทเพิ่งอนุมัติแผนจัดตั้งโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ในประเทศอินเดีย โดยร่วมทุนกับบริษัทอัล เรยามี่ ออฟฟิศ เฟอร์นิชชิ่ง แอนด์ เจนเนอรัล เทรดดิ้ง ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ร้อกเวิธในประเทศอินเดียกันมานาน 8 ปี เบ็ดเสร็จใช้งบฯลงทุน 200 ล้านบาท ตามแผนจะเริ่มผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้ในช่วงต้นปี 2552 เมื่อถึงตอนนั้นจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน จากปัจจุบันใช้วิธีส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายและต้องเสียภาษีนำเข้า 25%

- กำลังบุกตลาดต่างประเทศ

ไชยยงค์ - ใช่... อนาคตเราต้องมุ่งไปทางนั้น เพราะตลาดออฟฟิศเฟอร์นิเจอร์ในประเทศมีมูลค่าไม่มาก ประมาณ 5,000 ล้านบาท ถ้าไม่ขยายตลาดต่างประเทศก็จะเติบโตช้า แม้ว่าขณะนี้เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นทำให้รายได้จากการส่งออกลดลง แต่เรามองว่าช้าหรือเร็วเราต้องมุ่งไปที่ตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว เป้าหมายของเราคือภายในปี 2555 จะต้องมีโรงงานเฟอร์นิเจอร์ในต่างประเทศครบ 4 แห่ง (รวมอินเดีย) อาจเป็นโรงงานผลิตหรือโรงงานประกอบเฟอร์นิเจอร์ก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมในการลงทุน ตลาดที่สนใจคือ เวียดนาม แอฟริกาใต้ รัสเซีย

- แผนการสร้างแบรนด์ในต่างประเทศ

ไชยยงค์ - คงมุ่งไปที่การออกบูทในนามร้อกเวิธตามงานแฟร์ใหญ่ๆ ในต่างประเทศเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักระดับโลก วางแผนว่าในปี 2551 จะต้องออกบูทอย่างน้อย 2 แห่ง ได้แก่ งานแฟร์ในประเทศเยอรมนี และจีน ขณะเดียวกันได้ส่งทีมงานออกแบบไปเรียนรู้เรื่องเทรนด์เฟอร์นิเจอร์ตามสตูดิโอออกแบบในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เทียบกับระดับโลก

- เงินบาทแข็งกระทบศักยภาพแข่งขัน

สมชาย - ตอนนี้ยังไม่เห็นผลกระทบชัดเจน ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมาลูกค้ารายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น 4 ราย บางรายก็สั่งสินค้าเพิ่มขึ้นแต่บางรายก็ลดลง แต่เราก็ไม่ได้นิ่งเฉย สิ่งที่เรากำลังทำอยู่คือพัฒนาศักยภาพการดีไซน์และการผลิตให้ดีขึ้น ล่าสุดเราเพิ่งเปิดโชว์รูมแห่งใหม่ในซอยทองหล่อเพื่อรองรับการเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศให้กับเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ "Toki" และ "Musashi" ของบริษัท FRANCE BED จากประเทศญี่ปุ่น โดยทั้ง 2 แบรนด์ทีมงานฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ของโพเดียมมีส่วนร่วมในการดีไซน์และพัฒนาการผลิตสำหรับเฟอร์นิเจอร์ทั้ง 2 แบรนด์ทางญี่ปุ่นเพิ่งนำไปออกบูทในงาน "มิลานแฟร์" ที่ประเทศอิตาลี เพื่อเปิดตลาดแถบยุโรป ถ้าประสบความสำเร็จถือว่าโรงงานของโพเดียมสามารถผลิตสินค้าเทียบเท่าระดับโลก

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 09-08-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.