| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 301 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26-07-2550    อ่าน 11503
 ตั้งการ์ด-งัดแผนสกัดจุดเสี่ยงอสังหาฯ "KK"ปั้นดาวรุ่ง"รายกลาง-เล็ก"แชร์เค้ก

"เกียรตินาคิน" ตั้งการ์ดรับความเสี่ยงเต็มสูบ หวั่นผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจ-การเมืองยื้อยาวถึงกลางปี "51 คุมพอร์ตสินเชื่อพรีไฟแนนซ์อยู่ ในระดับคงที่ 1.5 หมื่นล้าน 200 โครงการ/ปี โฟกัสตลาดบ้าน-คอนโดฯ 1-3 ล้านโดยเฉพาะ เผย 70% เข้าขั้นมืออาชีพปั้นยอดขายได้ฉลุย ไม่น้อยหน้าบิ๊ก

นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่ส่งผลกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารต้องเกาะติดความเคลื่อนไหวในตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่าง ใกล้ชิด และร่วมมือกับผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กเพื่อปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ

ขณะเดียวกันก็พยายามบริหารพอร์ตสินเชื่อโครงการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง ซึ่งมั่นใจว่าลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการอสังหาฯรายย่อยจะสามารถประคองตัวอยู่รอดได้แม้ต้องเหนื่อยมากขึ้น และต้องทำใจรับสถานการณ์ที่ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้นมากนัก และคาดว่ากว่าทุกอย่างจะคลี่คลายชัดเจนคงประมาณกลางปี 2551

ขณะนี้บริษัทมีพอร์ตสินเชื่อโครงการอยู่ในมือประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท อยู่ในระดับเดียวกับเมื่อ 2-3 ปีก่อน ขณะที่จำนวนโครงการที่ปล่อยสินเชื่อให้ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วง 2-3 ปีก่อน คือประมาณ 200 โครงการ เช่นเดียวกับจำนวน

ผู้ประกอบการก็อยู่ในระดับเท่าเดิม ในจำนวนนี้ประมาณ 70% เป็นผู้ประกอบการที่จัดได้ว่าเป็น

มืออาชีพ มีความสม่ำเสมอทั้งในแง่ของการทำตลาด และการพัฒนาโครงการ ซึ่งจะเน้นในทำเลเดิมเป็นการตอกย้ำแบรนด์ของตัวเอง สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้ ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ระดับราคา 1-3 ล้านบาทเป็นหลัก ส่วน คอนโดฯมีเพียง 14% และเป็น คอนโดฯขนาดเล็ก

โดยกลุ่มใหญ่ๆ มีหลายกลุ่มด้วยกัน อาทิ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด, บริษัท ไพรม์เนเจอร์ จำกัด, บริษัท ไฟน์โฮม จำกัด, บริษัท นัมเบอร์วัน เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด, บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด, กลุ่มพนาสนธิ์, บริษัท มณฑลแลนด์ จำกัด ส่วนต่างจังหวัด อาทิ กลุ่ม เอสทีฯ ในจังหวัดชลบุรี เป็นต้น

นายธวัชไชยกล่าวว่า ผู้ประกอบการในกลุ่มแรกนี้หลายๆ บริษัทพัฒนาโครงการและสามารถทำยอดขายบ้านได้ค่อนข้างดี แม้สภาพตลาดโดยรวมจะชะลอตัวลง เนื่องจากตัวโครงการตลอดจนแบบบ้านมีจุดขายที่ชัดเจน มองตลาดและเจาะกลุ่มลูกค้าได้ตรงเป้า ทำให้สามารถปิดการขายได้ตามแผนที่วางไว้ จากนั้นจึงยื่นขอสินเชื่อเพื่อนำไปพัฒนาโครงการใหม่เพิ่มได้ต่อเนื่อง ซึ่งธนาคารในฐานะผู้ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อจึงค่อนข้างมั่นใจ เพราะเห็นว่าเป็นกลุ่มที่ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ดี และพัฒนาสินค้าได้ตรงกับความต้องการของตลาด

อีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่ยอดขายยอดโอนเข้ามาค่อนข้างช้า คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของพอร์ต

สินเชื่อทั้งหมด กลุ่มนี้ธนาคารจะเข้าไปแนะนำและให้ความช่วยเหลือ เป้าหมายก็เพื่อให้สามารถผลักดันยอดขายออกไปได้ วิธีการคือให้ผู้ประกอบการวางแผนการพัฒนาโดยให้สามารถปรับเปลี่ยนตัวโปรดักต์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดได้เร็ว เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

อย่างเช่นหากพัฒนาโปรดักต์ผิดโดยสร้างบ้านหลังใหญ่ ก็ปรับให้เล็กลง ให้ทดลองทำตลาดไประยะหนึ่งก่อน จากนั้นจะมีการประเมินสถานการณ์ หากเห็นว่ายอดขายไปได้ช้าหรือตัวโปรดักต์ไม่ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ก็จะมีการปรับเปลี่ยนโปรดักต์ใหม่ตามความเหมาะสม หรืออาจจะลดราคาลงบ้างเพื่อให้ขายได้เร็วขึ้น ฯลฯ

นายธวัชไชยกล่าวว่า วิธีการดังกล่าวที่นำมา ใช้ส่วนใหญ่จะได้ผล และทำให้ผู้ประกอบการสามารถประคองตัวอยู่รอดได้ แม้ผลตอบแทนอาจจะลดน้อยลงบ้าง ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 10% จะเป็นกลุ่มที่มีปัญหามาก แก้ไขได้ยาก หรือผู้ประกอบการมีปัญหากันเองระหว่างหุ้นส่วนทำให้ไม่สามารถพัฒนาโครงการต่อไปได้ ก็อาจให้ตีโอนทรัพย์ชำระหนี้ หรือบางรายอาจจะต้องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องในศาล

"ที่ผ่านมาเราพยายามให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ อย่างกรณีประสบปัญหาลูกค้าที่ซื้อบ้านประสบปัญหาในการยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารก็จะปล่อยสินเชื่อให้เป็นตัวเสริมเพื่อทำให้โครงการขายได้ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ถ้าปล่อยให้หลุดมือไปเขาก็อาจจะไปซื้อบ้านในโครงการอื่นแทน ซึ่งได้ผลและคนซื้อบ้านก็ชอบ เพราะเราเน้นให้บริการด้วยความรวดเร็ว"

สำหรับนโยบายในการผลักดันขายทรัพย์สินรอการขาย (เอ็นดีเอ) ซึ่งมีในมือประมาณ 8,600 ล้านบาท ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาสามารถขายได้แล้ว 1,000 ล้านบาท ช่วงครึ่งปีหลังตั้งเป้ายอดขายไว้ประมาณ 1,000 ล้านบาทเช่นเดียวกัน โดยจะเร่งทำตลาดและจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายทั้งในกรุงเทพมหานคร (กทม.) และต่างจังหวัด

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 26-07-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.