| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 104 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26-07-2550    อ่าน 12101
 ปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล "เอสซีจี ซิเมนต์" ผงาดผู้นำตลาดอาเซียน

สัมภาษณ์

เป็นที่รับรู้กันว่า "ปูนซีเมนต์" คือ 1 ในธุรกิจเรือธงของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย หรือ SCG ที่สร้างรายได้ต่อปีสูงถึง 4 หมื่นล้านบาท ในฐานะที่ครองส่วนแบ่งตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศสูงสุด วันนี้กลุ่มปูนซิเมนต์ SCG กำลังเริ่มเดินหน้าขยายการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ตามแผนก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดอาเซียนในอนาคต

บนเส้นทางแห่งความท้าทายครั้งใหม่จะมีแนวทางเช่นไร "ปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด ให้สัมภาษณ์พิเศษ "ประชาชาติธุรกิจ" พร้อมกับสะท้อนมุมมองถึงภาพรวมเศรษฐกิจ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์-ธุรกิจปูนซีเมนต์ ตลอดจนแผนการลดต้นทุน เพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังมีปัจจัยลบหลายๆ ด้านให้ต้องฟันฝ่า

- นโยบายการพัฒนาอินโนเวชั่นในเชิงผลิตภัณฑ์

ก่อนหน้านี้ SCG ใช้งบฯลงทุน 90 ล้านดอลลาร์ ตั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศกัมพูชา ใช้ชื่อว่า บริษัท กัมปต ซีเมนต์ จำกัด (Kampot Cement มาจากชื่อเมือง "กัมปต" ในเมืองพนมเปญ) โดย SCG ถือหุ้น 49% และกลุ่มเคซีซีกรุ๊ป ซึ่งเป็นนักธุรกิจท้องถิ่นทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ของกัมพูชาถือหุ้น 51% ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนทดสอบเครื่องจักร คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องจักรผลิตปูนได้ในช่วงปลายปีนี้ มีกำลังผลิตสูงสุด 8.5 แสนตัน/ปี

ล่าสุดเราเปิดตัวปูนฉาบสูตรใหม่ (ปูนถุง) ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ใช้ชื่อว่า "K Cement" เป็นแบรนด์ใหม่ที่ส่งออกไปจำหน่ายที่นั่น จากเดิมส่งออกเฉพาะแบรนด์ "ตราช้าง-ตราเสือ" โดยพัฒนาคุณสมบัติให้เหมาะกับพฤติกรรมช่างชาวกัมพูชา ซึ่งต้องการปูนฉาบที่ค่อนข้างแห้ง หลังทำตลาดมาตั้งแต่ช่วงต้นปีได้รับการตอบรับดี เดิมช่างที่เคยใช้ปูนตราช้างไปผสมทรายใช้ฉาบผนัง ก็เปลี่ยนมาใช้ปูน K Cement ของเรา

- สภาพตลาดในกัมพูชา

ปัจจุบันกัมพูชายังไม่มีโรงงานผลิตปูนซีเมนต์แม้แต่แห่งเดียว เพราะโรงงานที่เคยมีอยู่ปิดตัวไปแล้ว สภาพตลาดช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ความต้องการใช้ปูนเพิ่มขึ้นปีละ 10% ปัจจุบันคาดว่ามีความต้องการ 2 ล้านตัน/ปี ส่วนบรรยากาศการก่อสร้างถือว่าบูม มีนักลงทุนเข้าไปลงทุนทั้งจากเกาหลี มาเลเซีย อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม ฯลฯ คนไทยเท่าที่ทราบก็มีกลุ่มสามารถ เทเลคอมฯ คาดว่าภายในปี 2553 น่าจะเดินเครื่อง จักรได้เต็มกำลัง และพิจารณาขยายโรงงานเพิ่ม

- แผนการลงทุนในประเทศอื่นๆ

กำลังศึกษาตลาดในประเทศเพื่อนบ้านแถบอาเซียนอยู่ ที่สนใจเพราะมีวัฒนธรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตคล้ายคลึงกัน รวมถึงมีความสัมพันธ์เนื่องจากเคยมีความร่วมมือในระดับภูมิภาคกันมาก่อน ตามแผนในอีก 7 ปีข้างหน้า ประเทศที่จะเข้าไปตั้งโรงงานคือ อินโดนีเซีย เวียดนาม เพราะมีประชากรมาก ส่วนฟิลิปปินส์ พม่าก็สนใจ กรณีพม่ามีจำนวนประชากรถึง 54 ล้านคน ถือว่าไม่น้อย แต่คงต้องรอจังหวะให้เปิดประเทศก่อน รูปแบบจะมีทั้ง SCG เข้าไปลงทุนเอง และร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่น

- จะได้เห็นเอเย่นต์ร้านโฮมมาร์ทในต่างประเทศ

ในระยะแรกคงสร้างเป็นระบบเอเย่นต์เน็ตเวิร์กขึ้นมาก่อน ถ้าแข็งแรงแล้ววันหนึ่งก็คงพัฒนาเป็นระบบร้านซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ท ที่มีวัสดุก่อสร้างให้เลือกหลากหลาย คิดว่าเราน่าจะไปถึงจุดนั้นได้ เพราะมีประสบการณ์ในประเทศมาแล้ว

- เป้าหมายในตลาดอาเซียน

อีก 10 ปีข้างหน้า เราตั้งเป้าเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในภูมิภาคอาเซียน

- เงินบาทแข็งค่ามีการบริหารจัดการอย่างไร

ปัจจุบันเราส่งออกปูนซีเมนต์ 20% ต่อปี หรือประมาณปีละ 8,000 ล้านบาท จริงๆ แล้วการส่งออกไม่ได้มีกำไรมาก เรียกว่ามีแต่เจ๊าเท่านั้น เป้าหมายเพื่อให้ได้อีโคโนมี ออฟ สเกล คือมีปริมาณการผลิตมากพอเพื่อมาถัวเฉลี่ยกับต้นทุน เฉพาะปีนี้เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทำให้รายได้จากการส่งออกหายไปแล้ว 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตามเรื่องค่าเงินเป็นปัญหาระดับประเทศที่รัฐบาลต้องแก้ไข การชะลอส่งมอบสินค้าออกไปเพื่อประวิงเวลาคงไม่ใช่ทางออก ยอมรับว่าเราก็เดือดร้อน แต่ก็คงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล

- สถานการณ์โดยรวมของตลาดส่งออก

ช่วงครึ่งปีแรกเติบโตขึ้นเล็กน้อย 5-10% มาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ แถบตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป และเอเชียใต้ ยกเว้นอเมริกามีความต้องการลดลงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่วนแนวโน้มช่วงครึ่งปีหลัง ราคาน่าจะทรงๆ เนื่องจากความต้องการใช้ไม่น่าจะเพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตามแม้ว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ยังยืนยันนโยบายเร่งผลักดันการส่งออกเพิ่มขึ้น เป้าหมายคือ 7.5-8 ล้านตัน เฉพาะครึ่งปีแรกทำได้ตามเป้า

- เศรษฐกิจครึ่งปีหลังดูมีความหวังขึ้นหรือไม่

ตอนนี้มีหลายประเด็นที่ยังต้องลุ้น 1)การโหวตร่างรัฐธรรมนูญ 2)จัดการเลือกตั้ง สำหรับโครงการรถไฟฟ้าคงเกิดขึ้นแน่ และน่าจะช่วยเรียกความเชื่อมั่นในการลงทุนกลับมาได้บ้าง แต่ถ้าจะผลักดันให้เกิดขึ้นเร็วก็คงต้องใช้เงินรัฐบาลไปก่อน แล้วรอรัฐบาลใหม่เดินหน้าเรื่องเงินกู้จากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างรถไฟฟ้าไม่ได้ใช้ปูนซีเมนต์มากมาย สิ่งที่หวังคือการสร้างที่อยู่อาศัย เมือง สาธารณูปโภค โดยรอบโครงการรถไฟฟ้าที่จะตามมา

- มองธุรกิจอสังหาฯช่วง 1-2 ปีนี้อย่างไร

ในระยะยาวน่าจะไปได้ เชื่อว่าความต้องการที่อยู่อาศัยยังมี แต่ถูกอั้นไว้เนื่องจากไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจและการเมือง เมื่อทุกอย่างดีขึ้นกำลังซื้อก็น่าจะกลับมา ถ้าโชคดีไตรมาส 2 ปี 2551 ทุกอย่างอาจชัดเจนขึ้น แต่ในช่วงสั้นคือ 1 ปีนับจากนี้คงยังอึมครึม สำคัญที่สุดคือบรรยากาศการเมือง

- ต้นทุนพลังงานสูงขึ้นปรับตัวอย่างไร

ปลายปีที่ผ่านมาบริษัทเพิ่งลงทุนในโครงการ นำลมร้อนปล่อยทิ้งโดยสูญเปล่า ที่เกิดจากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์กลับมาใช้ หรือ "waste heat power generation" เนื่องจากในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีลมร้อนอุณหภูมิ 200-300 องศาเซลเซียส ถูกปล่อยทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ระหว่างขั้นตอนทำให้ปูนซีเมนต์เย็นลง

วิธีการคือนำลมร้อนกลับมาผ่านบอยเลอร์ (หม้อต้มขนาดใหญ่แบบเดียวกับโรงผลิตไฟฟ้า) และนำไอน้ำที่ได้จากการต้มมาปั่นกระแสไฟฟ้าเพื่อนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์

สาเหตุที่เพิ่งนำมาใช้เพราะแต่เดิมเทคโนโลยีนี้มีราคาสูงมากไม่คุ้มทุน แต่ปัจจุบันราคาลดลงจากเมื่อ 20 ปีก่อนประมาณ 50% จากเดิมถ้าลงทุนให้เกิดการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1 เมกะวัตต์ ต้องใช้เงิน 2-2.5 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบันลดลงเหลือ 1-1.5 ล้านดอลลาร์

- ใช้งบฯลงทุนเท่าไหร่

เราแบ่งการลงทุนเป็น 2 เฟส เฟสแรก 2,000 ล้านบาท และเฟสสอง 3,000 ล้านบาท ใช้เงินลงทุนรวม 5,000 ล้านบาท เบ็ดเสร็จผลิตไฟฟ้าได้ 35 เมกะวัตต์ คิดเป็น 12.5% ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในแต่ละปี เท่ากับช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ปีละ 500 ล้านบาท หรือคืนทุนได้ภายใน 4 ปี (ลงทุนเฟสแรก 2,000 ล้าน) ซึ่งปัจจุบันค่าไฟฟ้ามีสัดส่วน 25-30% ของต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์ทั้งหมด คาดว่าการลงทุนเฟสแรกน่าจะเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2551 จากนั้นจะเริ่มติดตั้งเครื่องจักรเฟสสองต่อไป คาดแล้วเสร็จภายในปี 2553

การทำโครงการนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1.2 แสนตันต่อปี โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างทำเรื่องเสนอกับกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขายเครดิตการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ (เครดิตคาร์บอน) เพราะต่อไปในอนาคตประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญาโตเกียวจะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯลง หากทำไม่ได้ก็ต้องยอมจ่ายเงินซื้อเครดิตการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯจากประเทศอื่น เท่ากับสามารถสร้างรายได้ได้อีกทางหนึ่ง

- แผนลดต้นทุนอื่นๆ ที่วางไว้

สำหรับกลุ่มปูนซิเมนต์สิ่งที่ลงทุนอยู่เป็นโครงการระยะแรก จริงๆ ในแผน 5 ปี (ปี 2550-2555) เราเตรียมงบประมาณไว้ 7,000 ล้านบาท แยกเป็นโครงการนำลมร้อนกลับมาใช้ใหม่ 5,000 ล้านบาท และการปรับปรุงประสิทธิภาพอีก 2,000 ล้านบาท

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 26-07-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.