| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 199 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 23-07-2550    อ่าน 11828
 ฝ่าวงล้อมค่าบาทดันส่งออก7.5ล้านตัน SCGปูแผน5พันล.ลดต้นทุนผลิตปูน

เปิดแผน SCG ลดต้นทุนการผลิตกลุ่ม "ปูนซีเมนต์" ทุ่มงบฯ 5,000 ล้านบาท ลงทุน 3 ปีในโครงการ "Waste Heat Power Generation" นำลมร้อนกลับมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในกระบวน การผลิต ช่วยลดตุ้นทุนผลิตปีละ 500 ล้าน ชี้แนวโน้มตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศช่วงครึ่งปีหลังยังไม่กระเตื้อง ทำใจต้องพึ่งพาตลาดส่งออก ตั้งเป้าทั้งปี 7.5 ล้านตัน แม้เงินบาทแข็งตัวทำรายได้วูบ

นายปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด ในเครือซิเมนต์ไทย (SCG) ผู้ผลิตปูนตราช้างและตราเสือ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากบริษัทได้ศึกษาข้อมูลโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากลมร้อนที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ระหว่างกระบวน การผลิตปูนซีเมนต์ หรือ "Waste Heat Power Genertion" (WHG) มาเป็นเวลานาน ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาต้นทุนพลังงานหลักที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ ได้แก่ ราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก บริษัทจึงตัดสินใจเดินหน้าแผนการลงทุนโครงการ WHG ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท

โดยโครงการดังกล่าวแบ่งการลงทุนเป็น 2 เฟส เฟสแรก 2,000 ล้านบาท และเฟสที่สอง 3,000 ล้านบาท มีกรอบระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี (ปี 2550-2552) เป้าหมายเพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้าและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำลมร้อนกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่ากับเป็นการช่วยชาติประหยัดพลังงาน

วิธีการคือนำลมร้อนที่ระดับอุณหภูมิ 200-300 องศาเซลเซียส ซึ่งในกระบวนการผลิตจะต้องถูกปล่อยทิ้งสู่ชั้นบรรยากาศ ตรงจุดนี้เองที่จะมีการติดตั้ง boiler (เครื่องจักรต้มน้ำขนาดใหญ่) ดักลมร้อน พลังงานลมร้อนเมื่อเข้า boiler จะทำให้มีพลังงานไอน้ำ (stream) ซึ่งจะถูกส่งต่อมายังตัว turbine ปั่นกระแสไฟฟ้าสำหรับนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ต่อไป

"เราใช้เวลาติดตามศึกษาเรื่องนี้มานาน ตั้งแต่สมัยที่โครงการนำลมร้อนกลับมาใช้ผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ ต้องมีงบฯลงทุนสูงถึง 2.-2.5 ล้านดอลลาร์ ณ ตอนนั้นเรามองว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า กระทั่งปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวพัฒนาไปมาก การผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ ใช้งบฯลงทุนลดลงเหลือ 1-1.5 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ต้นทุนเชื้อเพลิงคือราคาน้ำมันขึ้นมาถึงระดับ 60 เหรียญ/บาร์เรล เราจึงตัดสินใจเดินหน้าโครงการนี้เป็นรายแรกในวงการอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในเมืองไทย"

นายปราโมทย์กล่าวต่อว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งเครื่องจักร (boiler) ในเฟสแรกจำนวน 4 ชุด คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมผลิตกระแสไฟฟ้าได้ภายในกลางปี 2551 จากนั้นจะเริ่มติดตั้งเครื่องจักร (boiler) ในเฟสสองอีกจำนวน 7 ชุด รวมเป็น 11 ชุด ภายในปี 2552 เบ็ดเสร็จจะทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 35 เมกะวัตต์ เมื่อคำนวณย้อนกลับจะทำให้การผลิตปูนซีเมนต์ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง 12.5% ของพลังงานไฟฟ้าที่บริษัทใช้ในแต่ละปี บริษัทประเมินว่าจะช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตได้ปีละ 500 ล้านบาท เท่ากับว่าการลงทุนในเฟสแรก 2,000 ล้านบาท สามารถคืนทุนได้ภายในเวลา 4 ปี

อย่างไรก็ตาม โครงการ WHG ไม่ได้มีผลดีในเชิงการลดต้นทุนการผลิตเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือบริษัทสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกไซด์ได้ถึง 1.2 แสนตันต่อปี เท่ากับมีส่วนช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อน โดยอยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียน "เครดิตคาร์บอน" กับกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมรองรับตลาดการเทรดเครดิตคาร์บอน (ซื้อขายเครดิตการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) ในอนาคต

คาดตลาดปูนซีเมนต์ครึ่งปีหลังไม่กระเตื้อง

สำหรับทิศทางตลาดปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งปีหลัง นายปราโมทย์กล่าวว่า แนวโน้มไม่น่าจะดีขึ้นกว่าช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา เพราะสภาพเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหา

ริมทรัพย์ยังไม่กลับคืนมา รวมถึงภาวะการเมืองก็ยังไม่นิ่ง สิ่งที่ต้องลุ้นคือ 1)การโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 2)ลุ้นการเลือกตั้งว่าจะเกิดขึ้นได้ทันปีนี้หรือไม่ จากนั้นค่อยมองเรื่องภาคการลงทุน

"ในเชิงธุรกิจ สิ่งที่ผู้ผลิตปูนซีเมนต์คาดหวังคือการกระจายตัวของที่อยู่อาศัยและระบบสาธารณูป โภคตามแนวรถไฟฟ้า เป็นตัวผลักดันให้ตลาดปูนซีเมนต์กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง เพราะโดยพื้นฐานของธุรกิจอสังหาฯในระยะยาวเชื่อว่ายังดีอยู่ แต่ดีมานด์ถูกอั้นไว้เนื่องจากไม่มั่นใจ สภาพเศรษฐกิจและภาวะการเมือง คาดว่าหากรัฐธรรมนูญผ่านการโหวตและการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้เร็ว ภายในช่วงกลางปี 2551 สถานการณ์น่าจะดีขึ้น"

นายปราโมทย์กล่าวอีกว่า เมื่อความต้องการใช้ปูนในประเทศลดลง ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทคง ต้องผลักดันการส่งออกปูนเพิ่มขึ้น โดยวางเป้าหมายส่งออกทั้งปี 7.5 ล้านตัน แม้ว่าในปีนี้ต้องประสบปัญหาเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากช่วงต้นปี 35 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจุบันอยู่ที่กว่า 33 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้รายได้จากการส่งออกหายไปแล้วประมาณ 100 ล้านบาท/ปี

"โชคยังดีที่ตลาดส่งออกปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น เล็กน้อย 5-10% เนื่องจากประเทศแถบตะวันออก กลาง แอฟริกา ยุโรป และเอเชียใต้ ใช้ปูนเพิ่มขึ้น ราคาส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกจึงปรับขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ 35-38 ดอลลาร์ต่อตัน FOB (ราคาสินค้า ไม่รวมค่าขนส่ง) ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังเราคาดการณ์ว่าราคาน่าจะทรงตัว แต่ก็คงต้องผลักดันการส่งออกเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ economy of scale ใน การผลิต"

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 23-07-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.