| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 211 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 23-07-2550    อ่าน 11398
 กัญญานุช สอทิพย์ กับภารกิจโละขายทรัพย์ 1.8 แสนล้าน

สัมภาษณ์

เป็นลูกหม้อที่ทำงานในกรมบังคับคดีมานานเกือบ 30 ปี ผ่านการดูแลรับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับการยึดทรัพย์บังคับคดีมานับไม่ถ้วน เมื่อได้รับความไว้วางใจให้นั่งในตำแหน่งอธิบดีกรมบังคับคดีจึงค่อนข้างจะรู้งาน รวมทั้งรู้ปัญหาต่างๆ เป็นอย่างดีจากประสบการณ์ที่เคยผ่านการดูแลรับผิดชอบงานหลายๆ ด้าน และนี่คือบางส่วนของภารกิจสำคัญๆ ที่ "กัญญานุช สอทิพย์" อธิบดีกรมบังคับคดีจะสานต่อ ริเริ่มใหม่ โดยบางส่วนจะร่วมดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในช่วงที่นั่งบริหารงานองค์กรนี้

- ภารกิจในการระบายทรัพย์ขายทอดตลาด

ปีนี้ทั้งปีเราตั้งเป้าหมายจะระบายทรัพย์สินที่ได้จากการยึดทรัพย์บังคับคดีให้ได้ 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ตุลาคม 2549-มีนาคม 2550) สามารถขายทรัพย์โดยการทอดตลาดทั้งในส่วนของคดีแพ่งและคดีล้มละลายแล้วประมาณ 8-9 หมื่นล้านบาท คาดว่าถึงสิ้นปีงบประมาณยอดขายน่าจะเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านและที่ดิน มีทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

เรื่องการระบายทรัพย์จริงๆ เราพยายามผลักดันขายออกไปให้มากที่สุดอยู่แล้ว แต่ช่วงก่อนหน้านี้มีข้อจำกัดหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะปัญหาในแง่ข้อกฎหมาย แต่ 2-3 ปีที่ผ่านมาประเด็นปัญหาข้อกฎหมายเราพยายามปรับปรุงแก้ไขไปเกือบหมดแล้ว ทำให้สามารถขายทอดตลาดทรัพย์สินออกไปได้มาก ส่วนที่อาจจะยังมีปัญหาอยู่บ้างก็กำลังหาทางแก้ไข โดยจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เป็นการสางปัญหาเพื่อเร่งระบายสต๊อกทรัพย์สินในมือกรมบังคับคดีออกไปให้ได้มากที่สุด

- ผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ-การเมือง

ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปีสองปีนี้กระทบบ้าง เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนเกิดความไม่มั่นใจ แต่กรมบังคับคดีก็พยายามหาวิธีการมากระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้า และได้รับความร่วมมือจากสถาบันการเงินในฐานะเจ้าหนี้ช่วยผลักดันด้วย ซึ่งคิดว่าได้ผลระดับหนึ่งและคงต้องทำต่อเนื่อง

- ในส่วนของตัวทรัพย์มีปัญหาในการขายหรือเปล่า

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราเร่งระบายทรัพย์ออกไปมาก ถึงตอนนี้ทำให้ทรัพย์ที่มีคุณภาพดีๆ เหลือน้อยลง เพราะถูกระบายออกไปหมดแล้ว ทรัพย์ที่เหลือบางส่วนจึงเป็นทรัพย์ที่ลูกค้าไม่ต้องการซื้อ หรือมิฉะนั้นก็ราคาขายแพงเกินไป แต่คงต้องพยายามหาทางระบายออก สำหรับทรัพย์ที่เข้ามาใหม่เท่าที่สังเกตดูจะขายได้เรื่อยๆ

- มีการจัดเกรดหรือจัดกลุ่มทรัพย์เพื่อขาย

คงจะจัดเป็นเกรดๆ ไปเลยไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ทรัพย์ราคาสูงๆ เมื่อเก็บไว้นานๆ ขายไม่ออกก็จะมีสภาพเก่าหรือชำรุดทรุดโทรม เราจึงดูในส่วนของทุนทรัพย์มากกว่า เช่น จัดเป็นกลุ่มทรัพย์ระดับราคาต่ำกว่า 5 แสนบาท, 1 ล้านบาท, 2 ล้านบาทขึ้นไป หรือ 10 ล้านบาทขึ้นไป เป็นต้น

- ทรัพย์ที่มีปัญหาในการขาย

หลักๆ จะเป็นคอนโดฯ พวกนี้จะติดปัญหาที่มีหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างอยู่กับนิติบุคคลอาคารชุดด้วย ทำให้ผู้ซื้อไม่ค่อยสนใจซื้อ เพราะเกรงว่าจะมีภาระต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางแทนลูกหนี้ เนื่องจากส่วนใหญ่จะมีหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างอยู่จำนวนมาก แถมบางครั้งหนี้ในส่วนนี้สูงใกล้เคียงหรือมากกว่าราคาประมูลซื้อห้องชุดด้วยซ้ำไป

นอกจากนี้ การซื้อห้องชุดในโครงการเก่าๆ ที่ยึดทรัพย์บังคับคดีมานานๆ ยังมีปัญหาในการโอนที่ พ.ร.บ.อาคารชุดกำหนดให้การจดทะเบียนโอนห้องชุดต้องมีหนังสือยินยอมจากนิติบุคคลอาคารชุดไปแสดง แต่บ่อยครั้งมักจะหาตัวผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่ได้ หรือหาไม่เจอ จุดนี้ถือว่าเป็นปัญหามากและทำให้เราระบายห้องชุดที่ค้างอยู่ออกไปได้น้อย

- จะแก้ไขอย่างไร

กำลังหารือกับหลายๆ หน่วยงาน อย่างกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแล พ.ร.บ.อาคารชุด โดยขอให้ไม่ต้องนำ พ.ร.บ.อาคารชุดมาบังคับใช้กับกรณีการบังคับคดีตามคำสั่งศาล ขณะเดียวกันก็เสนอขอแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ลูกค้าที่ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดสามารถรับโอนห้องชุดได้ ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ลูกหนี้เดิมค้างชำระไว้ก็ให้นิติบุคคลอาคารชุดไปเรียกเก็บจากลูกหนี้แทน

- ส่วนใหญ่เป็นคอนโดฯระดับล่าง

ใช่ โดยเฉพาะทรัพย์ที่ยึดมาจากลูกหนี้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่ง ธอส.ก็มองเห็นปัญหาในจุดนี้ และพยายามช่วยผลักดันปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเช่นเดียวกัน

- คอนโดฯที่มีปัญหาในการขายมีเยอะหรือเปล่า

ระดับล่างจริงๆ มีเยอะ ของ ธอส.มีถึงประมาณ 5 พันคดีที่อยู่ระหว่างรอขาย หรือประมาณ 80% ของทรัพย์จำพวกคอนโดฯที่รอขายอยู่ทั้งหมด โดยบางส่วนนำออกขายทอดตลาดหลายครั้งแล้วแต่ไม่มีผู้ซื้อ

- คอนโดฯราคาแพงมีหรือเปล่า

มีเข้ามาเหมือนกันแต่มักจะขายดี โดยเฉพาะคอนโดฯระดับราคา 3-5 ล้านบาทในทำเลย่านใจกลางเมือง มีเข้ามาก็ขายออกไปได้หมด

- กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย

เรากำลังหารือกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ซึ่งมีแผนที่ผู้ใช้ไฟในระบบจีไอเอส เพราะอยากจะนำระบบนี้มาใช้ในงานของกรมบังคับคดีทั้งในส่วนของขั้นตอนการยึดทรัพย์บังคับคดี และการขายทอดตลาดทรัพย์ คือเวลายึดทรัพย์ถ้ามีภาพถ่าย พร้อมกับแผนที่จีไอเอสประกอบ ซึ่งนอกจากเจ้าหน้าที่จะทำงานสะดวกแล้ว ยังช่วยสนับสนุนการขายทรัพย์ด้วย เพราะจะทำให้ผู้ซื้อได้เห็นถึงสภาพพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งทรัพย์ ตลอดจนสภาพแวดล้อมลูกค้าจะตัดสินใจซื้อทรัพย์สินได้ง่ายขึ้น แต่อาจต้องใช้เงินลงทุนบ้างเหมือนกับที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และการประปานครหลวง (กปน.) นำมาใช้ในการจัดเก็บภาษีและจัดเก็บค่าน้ำประปา

- ยังมีงานยึดทรัพย์บังคับคดีเข้ามาเยอะ

ก็ทยอยเข้ามาเรื่อยๆ แต่น้อยลงกว่าช่วงก่อนหน้านี้ เป็นธรรมดาที่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีจะมีคดีเข้าสู่การบังคับคดีมาก แต่เมื่อเศรษฐกิจดีคดีจะมีน้อยลง เพราะลูกหนี้มีกำลังผ่อนชำระหนี้ อย่างปีนี้น่าจะเข้ามาคิดเป็นทุนทรัพย์ไม่เกิน 1.2 แสนล้านบาท

- งานในส่วนของการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

ในส่วนของการฟื้นฟูกิจการตอนนี้คดีที่เข้ามาเริ่มจะน้อยลงแล้ว เพราะธุรกิจหรือองค์กรที่ประสบปัญหาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ต้องการจะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในศาลล้มละลายกลางส่วนใหญ่ยื่นขอฟื้นฟูกิจการไปเกือบหมดแล้ว

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 23-07-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.