| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 228 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 19-07-2550    อ่าน 11744
 เปิดใจนายกสภาสถาปนิก ฐนิธ กิตติอำพน ขอเวลา 3 ปี ยกระดับวิชาชีพ

เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งหมาดๆ เมื่อ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา สำหรับ "พล.ร.ท.ฐนิธ กิตติอำพน" นายกสภาสถาปนิกคนใหม่ อดีตนายกสมาคมสถาปนิกไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ได้รับเสียงโหวตให้เข้ามาทำหน้าที่นี้ต่อจาก "มติ ตั้งพานิช" แต่ดูเหมือนภารกิจที่ต้องเร่งทำจะมีมากมาย โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิดระบบ CPD (ฝึกอบรมสัมมนาเพื่อเก็บคะแนน) และระบบ Internship (ให้สถาปนิกจบใหม่ต้องฝึกงาน) มาใช้

เพื่อสานต่อแผนโรดแมปยกระดับสถาปนิกให้พร้อมรับมือเปิดเขตการค้าเสรีวิชาชีพสถาปัตย์ต่อไปในอนาคต รวมไปถึงประเด็นการดำเนินคดีกับสถาปนิกต่างชาติที่เข้ามารับงานออกแบบอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ล่าสุด "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์นายกสภาสถาปนิกคนใหม่ถึงภารกิจที่วางไว้ในช่วง 3 ปีของวาระดำรงตำแหน่ง

- สิ่งแรกที่คิดจะทำหลังมารับตำแหน่งใหม่

หลักๆ จะมี 4 ส่วนคือ 1) ให้ความช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ ให้บริการด้านวิชาการต่างๆ แบบเข้าถึงประชาชนมากขึ้น โดยเปิดรับสถาปนิกอาสาตามจังหวัดต่างๆ 2) ต่อไปสภาต้องมีบทบาทมากขึ้น เช่น การให้คำแนะนำเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม อาทิ ปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ ฯลฯ เมื่อเกิดเหตุสภาต้องออกมาแอ็กชั่น รวมถึงการให้คำปรึกษาภาครัฐในการร่างทีโออาร์ เพื่อไม่ให้ขัดกับ พ.ร.บ.สภาสถาปนิก พ.ศ.2543

3) แก้ไข พ.ร.บ.สภาสถาปนิกฯ ในส่วนที่ยังเป็นปัญหาอุปสรรคไม่สอดรับกับปฏิบัติงานจริง โดยมอบหมายให้อุปนายกสภา คนที่ 2 คุณวีรวุฒิ โอตระกูล เข้ามาดูแล คาดว่าใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือนน่าจะรวบรวมข้อกฎหมายที่ควรแก้ไขได้ครบ และ 4) ว่าจ้างหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาทำวิจัยเกี่ยวกับผลดีผลเสียการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ในด้านต่างๆ

ได้แก่ เมื่อเปิด FTA แล้วสถาปนิกได้อะไร ควรเปิดเสรีในระดับไหน ต้องมีการกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน อาทิ อาจให้ออกแบบได้เฉพาะอาคาร สไตล์โมเดิร์นหรืออาคารขนาดใหญ่ ส่วนอาคารที่เป็นสถาปัตยกรรมไทยอาจต้องอนุรักษ์ไว้เฉพาะสถาปนิกไทยเท่านั้น ฯลฯ

ทั้งหมดต้องชัดเจน และการวิจัยต้องทำอย่างละเอียดศึกษาข้อมูลจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกนำมาเป็นข้อมูลประกอบ และนำออกมาเปิดเผยให้กระทรวงพาณิชย์ สถาปนิก ประชาชนทั่วไปทราบ เพราะเรื่องพวกนี้ไม่สามารถตั้งสมมติฐานเองได้ ที่ผ่านมามีการร่างยุทธศาสตร์ไว้แล้ว แต่ไม่ได้ทำวิจัยหาข้อมูลที่ชัดเจนมาสนับสนุน

ภารกิจทั้ง 4 ส่วนจะเริ่มทำไปพร้อมกัน โดย 3 ข้อแรก ใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี ส่วนการแก้ไขกฎหมายคงต้องใช้เวลานาน เพราะต้องเป็นไปตามขั้นตอน โดยวันที่ 4 สิงหาคม 2550 นี้จะจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่ โรงแรมเลอคองคอร์ด สวิสโฮเท็ล (รัชดาภิเษก) เพื่อแจ้งนโยบายแก่สมาชิก

- ในต่างประเทศเปิดเสรีกันแค่ไหน

เท่าที่ทราบแต่ละประเทศเปิดเสรีไม่เท่ากัน ยกเว้นประเทศออสเตรเลียน่าจะเปิดกว้างมากที่สุด คือสถาปนิกต่างชาติสามารถเข้าไปจัดตั้งบริษัทได้เองโดยไม่ต้องร่วมทุน แต่ต้องสอบขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพก่อน

- มองว่าเปิดระดับไหนถึงจะเหมาะสม

ผมไม่อยากตอบว่าระดับไหนถึงเหมาะสมเพราะเป็นแค่ความเห็นส่วนตัว แต่ที่ผ่านมาผมจะบอกอยู่เสมอว่า การเปิดเสรีต้องเปิดแบบมีขอบเขต อย่างไรก็ตามสิ่งที่เรากำลังจะเผชิญในเร็วๆ นี้ ไม่ใช่ FTA แต่เป็นการเซ็น MRA หรือการทำข้อตกลงเห็นด้วยในหลักการเบื้องต้นเพื่อออก "Asian Architect License" (ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปนิกในภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ) ซึ่งจะเกิดขึ้นในอีกไม่เกิน 3-6 เดือนข้างหน้า ประเทศที่ผลักดันเรื่องนี้คือสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งเริ่มต้นเรื่องการเก็บคะแนนสะสมจากการฝึกอบรมสัมมนาในวิชาชีพสถาปนิกพร้อมๆ เรา แต่ปัจจุบันเขาทำสำเร็จแล้ว

- จะมีผลกระทบตามมาอย่างไรบ้าง

ต่อไปสถาปนิกใน 10 ประเทศแถบอาเซียนจะมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกลาง แต่มีข้อแม้ว่าต้องผ่านการทดสอบตามขั้นตอนของประเทศนั้นๆ ก่อน เช่น ข้อกฎหมาย จรรยาบรรณ ฯลฯ โดยหลังจากเซ็นสัญญา MRA ยอมรับในหลักการแล้ว เราต้องมากำหนดคุณสมบัติสถาปนิกที่สามารถสอบใบอนุญาต Asian Architect License ได้ รวมถึงขอบเขตในการเข้ามาทำงานออกแบบในประเทศไทย ตรงนี้ถือว่าเทียบเท่าน้องๆ การเปิด FTA เพียงแต่เป็นการเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนเท่านั้น

- มีผลดีผลเสียอย่างไร

ผมมองว่าเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะปัจจุบันสถาปนิกสิงคโปร์หรือมาเลเซียก็มาทำงานในเมืองไทยอยู่แล้ว แต่ถ้าให้เขาเข้ามาอย่างถูกต้อง เท่ากับเราสามารถกำหนดเงื่อนไขหรือขอบเขตการทำงานของเขาได้ ขณะเดียวกันสถาปนิกของเราก็สามารถเข้าไปรับงานออกแบบในประเทศอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง สถาปนิกไทยมีความสามารถอยู่แล้วแต่ขาดแรงกระตุ้น ส่วนระดับหรือขอบเขตการเปิดเสรีนั้นจะเชื่อมโยงถึงการทำวิจัยเรื่อง FTA ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกสถาบันที่จะว่าจ้างให้เป็นผู้ทำวิจัย

-ตัวอย่างกฎหมายที่ต้องปรับแก้

หลักๆ เป็นเรื่องรายละเอียดในบางมาตราที่ยังคลุมเครือต่อการตีความ และกลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน อาทิ ข้อกฎหมายระบุถึงการตรวจสอบสภาพ แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบอาคาร ฯลฯ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงกฎหมายตรวจสอบอาคารที่จะเริ่มบังคับใช้ปลายปีนี้ ตรงนี้ต้องให้สมาคมสถาปนิก มัณฑนากร แลนด์สเคป และผังเมือง มาพูดคุยเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

- ความคืบหน้าการทำโรดแมป 12 ปีก่อนเปิด FTA

การทำโรดแมปหรือยุทธศาสตร์ 12 ปีก่อนเปิด FTA เริ่มในสมัยคุณมติ (ตั้งพานิช) นายกสภาสถาปนิกคนที่ผ่านมาซึ่งมีวาระ 3 ปี เท่ากับปัจจุบันเหลือเวลาอีก 9 ปี ส่วนตัวมั่นใจว่าถ้าเริ่มตอนนี้สามารถทำได้ทันแน่นอน โดยมี 2 สิ่งที่ต้องทำคือ 1) การเก็บคะแนนฝึกอบรม หรือ "CPD" (continue professional development) คล้ายกับวิชาชีพที่เรียนจบแล้วต้องเก็บคะแนนจากการฝึกอบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา รวมถึงถ้าเก็บคะแนนได้ไม่ได้ถึงเกณฑ์ก็ไม่สามารถต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ สำหรับเรื่องหลักสูตรอบรมสัมมนา มีสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ร่างหลักสูตรไว้แล้ว สภาสถาปนิกฯ เพียงเข้าไปดูว่าต้องปรับแก้ตรงไหนบ้าง

2) การทำระบบ Internship (ฝึกงาน) สำหรับนักศึกษาที่เรียนจบทางด้านสถาปัตย์ ต้องฝึกงานกับบริษัทก่อนจึงมีสิทธิ์สอบขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ ต่างจากปัจจุบันที่เรียนจบก็สามารถสอบขอใบอนุญาตได้ทันที ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ระหว่างควรต้องฝึกงาน 1 หรือ 2 ปี ถือเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสถาปนิกที่จบใหม่แทบไม่มีประสบการณ์ ไม่รู้จักวิธีการทำโปรแกรมออกแบบ การติดต่องาน แต่ก็ออกไปรับงานฟรีแลนซ์เอง แต่กว่าจะเรียนรู้เองจนเป็นมืออาชีพได้ก็อาจต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี

ดังนั้นการฝึกงานตามบริษัทต่างๆ โดยมีสถาปนิกมืออาชีพเป็น "พี่เลี้ยง" จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยอาจเปิดกว้างให้สถาบันการศึกษาสามารถเลือกได้ว่าจะสอนหลักสูตร 4 ปี หรือ 5 ปี กรณีหลักสูตร 4 ปี ก็ต้องฝึกงาน 2 ปี ส่วนถ้าหลักสูตร 5 ปี ก็ฝึกงาน 1 ปี

- บริษัทที่มารองรับอาจไม่เพียงพอ

เราคิดเรื่องนี้ไว้แล้ว ทางออกคืออาจใช้สถาบัน ISA ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในลักษณะเอาต์ซอร์ซเข้ามาดูแลเรื่องการฝึกอบรมสถาปนิกจบใหม่ รวมถึงกระจายสาขาไปตามจังหวัดใหญ่ๆ อาทิ เชียงใหม่ ฯลฯ เท่ากับนักศึกษาจบใหม่มี 2 ชอยซ์ให้เลือกคือ 1) ฝึกงานกับบริษัท และ 2) ฝึกงานกับสถาบัน ISA แต่รูปแบบการฝึกงานอาจจะแตกต่างกัน

- การดำเนินการทางกฎหมายกับสถาปนิกต่างชาติ

สำหรับความคืบหน้าการเอาผิดที่ได้แจ้งความดำเนินคดีกับสถาปนิกต่างชาติ ที่เป็นผู้ออกแบบโครงการคอนโดฯ ของผู้ประกอบการรายหนึ่ง ตามมาตรา 45 ซึ่งมีโทษจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะนี้ได้โอนการแจ้งความดำเนินคดีมายัง สน.ลุมพินี เนื่องจากออฟฟิศของสถาปนิกรายนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ สน.ลุมพินี

ขณะนี้เรื่องช้าลงไป ผมจึงได้ปรึกษาทนายว่าหากเรื่องยังไม่มีความคืบหน้า จะทำหนังสือแจ้งถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และหากยังไม่คืบหน้าอีกก็จะทำหนังสือแจ้งถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีแนวคิดตั้งรางวัลนำจับให้กับคนที่มีหลักฐานเอาผิดกับสถาปนิกต่างชาติในเคสอื่นๆ ที่เข้ามารับงานออกแบบอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 19-07-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.