| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 309 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 12-07-2550    อ่าน 11728
 แหล่งรายได้ใหม่ "บิ๊กเพลเยอร์"

เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้กระแส "บูม" ตลาดคอนโดมิเนียมไซซ์

"คอมแพ็กต์" ราคาขาย 1 ล้านบาทต้นๆ ไม่เกิน 2 ล้านบาท ขยายตัวอย่างรวดเร็วแบบติดจรวด จนสามารถโค่นล้มแชมป์ตลอดกาล "บ้านเดี่ยว" ลงได้ เป็นผลมาจากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

เนื่องจากปัจจัยลบราคาน้ำมันส่งผลกระทบทำให้ค่าครองชีพของผู้บริโภคขยับเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว กระทบชิ่งทำให้กำลังซื้อลดลงโดยปริยาย โดยเฉพาะการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย

เป็นที่น่าสังเกตว่าราคาน้ำมันยิ่งปรับเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งทำให้พฤติกรรมในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ชัดเจนและพิสูจน์ได้คือการหันมานิยมซื้อคอนโดมิเนียมเกาะติดแนวรถไฟฟ้า มากกว่าการเลือกซื้อ ที่อยู่อาศัยแนวราบที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในทำเลที่ไกลออกไป

เมื่อความต้องการของผู้ซื้อเปลี่ยนทิศ ทำให้ดีเวลอปเปอร์แทบทุกรายเริ่มปรับแผนการลงทุนกันยกใหญ่ หันมาให้น้ำหนักในการลงทุนพัฒนาโครงการแนวสูงเพิ่มในพอร์ตมากขึ้น

ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตด้านพลังงาน จะเห็นการขยายตัวของคอนโดฯในเมืองมีอัตราการเติบโตแบบหวือหวาและร้อนแรง จากการเข้ามาปักหลักลงทุนขึ้นโครงการของ "ขาใหญ่" ในตลาด

จนทำให้เวลานี้บิ๊กพัฒนาที่ดินครองส่วนแบ่งตลาดคอนโดฯมากกว่า 60% ผู้เล่นหลักๆ มี อาทิ เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้, พฤกษา เรียล เอสเตท, ศุภาลัย, ปรีชากรุ๊ป อารียา พร็อพ

เพอร์ตี้, ปริญสิริ, พลัส พร็อพเพอร์ตี้, เมโทร สตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ รวมทั้ง แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเม้นท์ เป็นต้น

ส่วนผู้ประกอบการรายกลางรายเล็กหลายรายที่เพิ่งเข้ามาแจม แม้ฐานเงินจะไม่แน่นปึ้กเหมือนรายใหญ่ แต่วิธีทำตลาดแบบกองโจรโดยการซุ่มผุดโครงการชนกับระดับบิ๊กเกือบทุกพื้นที่ทุกทำเล ก็ทำให้รายใหญ่ไม่อาจประมาทได้เช่นเดียวกัน

ในจำนวนนี้ดีเวลอปเปอร์ที่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดคอนโดฯระดับกลางมากที่สุด คือ ค่าย แอล.พี.เอ็น.ฯ ที่เจาะตลาดระดับนี้มาตั้งแต่ยุควิกฤตต้มยำกุ้ง

ขณะที่ค่าย "พลัส พร็อพเพอร์ตี้" บริษัทในเครือแสนสิริ ยักษ์เบอร์สองในวงการอสังหาฯ เป็นค่ายแรกๆ ที่ทำให้กระแส "ซิตี้ คอนโด" ดังเป็นพลุแตก จากการส่งแบรนด์ "คอนโดวัน" ลงสังเวียนแย่งเค้ก

จากนั้นรายอื่นๆ เบนเข็มเข้ามาหวังสร้างรายได้เพิ่ม ด้วยการส่งคอนโดฯหลากหลายแบรนด์มาแจมตลาด ที่ว่ากันว่ากำลังซื้อยังมีเหลืออีกมากโข

ไม่ว่าจะเป็น ซิตี้ โฮม ของค่ายศุภาลัย, เอ สเปซ ของค่ายอารียา, ไลฟ์ ค่ายเอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้, ลุมพินี คอนโดทาวน์ ค่าย แอล.พี.เอ็นฯ, ไอวี่ คอนโดมิเนียม ค่ายพฤกษา เรียลเอสเตท, ไอ-เฮ้าส์ ค่ายซิตี้ เรียลตี้, เมโทร พาร์ค ค่ายพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค และเมโทร อเวนิว ค่ายเมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ เป็นต้น

เมื่อขาใหญ่ดับเครื่องชน ความร้อนแรงเลยเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ เพราะนอกจากไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันในด้านฐานการเงินแล้ว กลยุทธ์ทางการตลาดที่ขึ้นชั้นระดับเซียนใกล้เคียงกัน ยิ่งทำให้ตลาดซิตี้ คอนโดฯ แข่งกันมันหยด กว่าเดิม

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 12-07-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.