| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 361 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-07-2550    อ่าน 11772
 กรมที่ดินรื้อข้อกำหนดล้อมคอกจัดสรร คุมเข้มผังโครงการอุ้มลูกบ้านเต็มพิกัด

"กรมที่ดิน" ล้อมคอกปัญหาจัดสรร รื้อข้อกำหนดจัดสรรที่ดินอุ้มลูกบ้าน กำหนดข้อห้ามนำถนนในโครงการจดเป็นภาระจำยอม ให้จัดทำแผนผังรูปแบบสวน-สนามเด็ก และกำหนดขนาดทางสาธารณะให้ชัดเจน พร้อมเตรียมแก้ปัญหาลูกบ้านในโครงการ บบส.-การเคหะฯ และโครงการจัดสรรเก่าให้สามารถยื่นขอตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรได้ เผย 11 หน่วยงานขานรับการให้บริการ "วันสต็อปเซอร์วิส"

นายสุรสิทธิ์ สหัสธรรมรังษี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรมที่ดิน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมที่ดินได้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดข้อกำหนดจัดสรรที่ดิน ภายใต้พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 หลายประเด็น ทั้งนี้เพื่อให้การบังคับใช้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด

สำหรับสาระสำคัญที่แก้ไขประกอบด้วย 1.ห้ามไม่ให้นำถนนภายในโครงการมาจดเป็นที่ดินภาระจำยอม เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากลูกบ้านว่าโครงการบางแห่งนำถนนภายในโครง การไปใช้ประโยชน์หรือกิจกรรม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ กระทบสิทธิของลูกบ้าน

2.กำหนดให้จัดทำแผนผังแสดงรูปแบบสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่นในโครงการอย่างละเอียด จากเดิมให้ระบุเพียงที่ตั้งเท่านั้น เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดิน (บอร์ดจัดสรร) ทราบรายละเอียดผังที่ชัดเจนก่อนอนุญาตให้จัดสรร และ 3.การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดขนาดถนนทางสาธารณประโยชน์ด้านหน้าโครงการ เพื่อให้รถที่แล่นผ่านเข้า-ออกสะดวกมากขึ้น ขณะนี้ข้อกำหนดที่แก้ไขมีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติแล้ว

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาอีกหลายประเด็นที่เกิดขึ้นภายหลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินฉบับนี้ ซึ่งกรมที่ดินอยู่ระหว่างพิจารณาหาทางปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ ประเด็นการขอยกเลิกจัดสรรที่ดินตามมาตรา 54 ที่ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงออกมารองรับ ทำให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินไม่สามารถจะยกเลิกการจัดสรรได้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกา

โดยช่วงที่ผ่านมามีผู้ยื่นเรื่องขอยกเลิกจัดสรรที่ดินเข้ามาบ้างแต่ไม่มากนัก และส่วนใหญ่เป็นโครงการที่อยู่ในต่างจังหวัด

ออกข้อกำหนดแก้ตั้งนิติฯจัดสรรไม่ได้

ประเด็นถัดมาคือการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรไม่ได้มี 2 ส่วน คือ 1.การจัดตั้งนิติบุคคลสำหรับโครงการจัดสรรที่ได้รับอนุญาตจัดสรรตาม ปว.286 (ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286) เนื่องจากเจ้าของโครงการละทิ้งไปหรือหาตัวไม่เจอ ทำให้ลูกบ้านที่ต้องการรวมตัวกันจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่อง จากติดปัญหาไม่มีผู้โอนโฉนดที่ดินส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคของโครงการ ปัจจุบันลูกบ้านต้องใช้วิธีฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้กรมที่ดินออกโฉนดให้ใหม่ แล้วนำโฉนดมาประกอบการยื่นขอจัดตั้งนิติบุคคลฯ จะแก้ไขให้เจ้าพนักงานที่ดินสามารถออกใบแทนโฉนดให้ใหม่ได้

2.โครงการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ได้แก่ โครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ที่ผ่านมาลูกบ้านบางส่วนที่ซื้อบ้านในโครงการเหล่านี้ไม่ทราบมาก่อนว่าไม่สามารถจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรได้ เนื่องจากไม่อยู่ในภายใต้ พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน กรณีนี้จะแก้ไขโดยอาจออกเป็นข้อกำหนดให้โครงการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นขออนุญาตจัดสรรที่ดิน สามารถจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรได้ เป็นต้น นอกจากนี้อยู่ระหว่างรวบรวมประเด็นปัญหาอื่นๆ เพื่อจะได้เสนอปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน

ร่างรายละเอียดทำ "พื้นที่แก้มลิง" ในโครงการ

นายสุรสิทธิ์กล่าวว่า สำหรับแนวคิดของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ต้องการให้โครงการบ้านจัดสรรกันพื้นที่ในโครงการทำเป็นพื้นที่แก้มลิง (พื้นที่กักเก็บน้ำ) เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ก่อนหน้านี้สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาฯได้นำเรื่องเสนอให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพฯพิจารณาแล้ว และที่ประชุมมีมติให้ศึกษารายละเอียด โดยให้เรียก "พื้นที่หน่วงน้ำ" แทน "พื้นที่แก้มลิง" ซึ่งตัวแทนผู้ประกอบการเสนอให้จัดโซนนิ่งแบ่งระดับความเสี่ยงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ และให้กำหนดขนาดพื้นที่หน่วงน้ำโดยพิจารณาขนาดโครงการเป็นหลักด้วย

ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด 2 ส่วน คือ 1.วิธีการระบายน้ำที่กักเก็บน้ำ 2.กำหนดพื้นที่หน่วงน้ำว่าควรอยู่รวมในพื้นที่ส่วนกลาง และควรมีขนาดเท่าใดจึงเหมาะสม เพราะอาจกลายเป็นภาระลูกบ้านที่จะต้องดูแลเมื่อมีการโอนมาอยู่ในความดูแลของนิติบุคคลบ้านจัดสรร

11 หน่วยงานขานรับ "วันสต็อปเซอร์วิส"

ส่วนความคืบหน้าการจัดศูนย์บริการร่วมในการยื่นขออนุญาตจัดสรรที่ดิน (วันสต็อปเซอร์วิส) ล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีหน่วยงาน 11 หน่วยงาน จากทั้งหมด 14 หน่วยงานร่วมหารือกับกรมที่ดิน ได้แก่ 1) กรมธนารักษ์ 2) กรมโยธาธิการและผังเมือง 3) กรมทรัพยากรน้ำ 4) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 5) กรมทางหลวง 6) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้อถิ่น 7) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี 8) กรมชลประทาน 9) การไฟฟ้านครหลวง 10) การประปานครหลวง และ 11) การประปาส่วนภูมิภาค ได้ข้อสรุปว่าทั้ง 11 หน่วยงานยินดีเข้าร่วมการให้บริการแบบวันสต็อปเซอร์วิส หรือ "เซอร์วิสลิงก์"

ล่าสุดอยู่ระหว่างการร่างหลักการ ได้แก่ 1.การกำหนดกรอบเวลาการดำเนินของแต่ละหน่วยงาน 2.ร่างแบบฟอร์มการขอใช้บริการ และ 3.จัดทำคู่มือการใช้บริการ จากนั้นจะจัดพิธีลงนาม MOU (ลงนามบันทึกข้อตกลง) ระหว่างหน่วยงานทั้งหมด โดยจะพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นภายในรัฐบาลชุดนี้ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการเลือกใช้การบริหารตามขั้นตอนปกติหรือเซอร์วิสลิงก์

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 09-07-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.