| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 83 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 31-05-2550    อ่าน 11498
 เช็กความพร้อม สายใต้แห่งใหม่ ดีเดย์เปิดใช้ มิถุนายนนี้

เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน "สถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่" หรือ "สถานีขนส่งกรุงเทพ" ก็พร้อมจะเปิดใช้แทนสถานีขนส่งสายใต้ปัจจุบัน ที่นับวันยิ่งแออัดมากขึ้น

ความคืบหน้าล่าสุด สำหรับงานก่อสร้างตัวอาคารชานชาลาจอดรถ และอาคารผู้โดยสารถือว่าแล้วเสร็จเกือบ 100% แล้ว เหลือเพียงเก็บรายละเอียดอีกเล็กน้อย และรอให้บริษัทเดินรถ ทั้ง 40 บริษัท ย้ายรถโดยสารทั้งหมดเข้ามาให้บริการ จากปัจจุบันที่ทยอยย้ายมาแล้ว 6 บริษัท

"เท่าที่ทราบจาก บ.ข.ส.ในฐานะผู้บริหารการเดินรถในสถานียังไม่ได้กำหนดวันเปิดใช้ที่ชัดเจน แต่ก็มีการพูดคุยกันเบื้องต้นว่าน่าจะอยู่ในช่วงกลางเดือนถึงปลายเดือนมิถุนายนนี้ การย้ายสถานีขนส่งสายใต้น่าจะเสร็จสิ้น" ปริทัศน์ เกียรติบำเพ็ญ ซีอีโอ บริษัท สิริโปรเจ็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด ในฐานะผู้ดำเนินการก่อสร้างและบริหารอาคาร ผู้โดยสารสถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่กล่าว

อาจมีคำถามว่าระหว่างสถานีปัจจุบันและสถานีแห่งใหม่อะไรคือความต่าง คงต้องยอมรับว่าอย่างไร "ของใหม่" ก็ย่อมจะดีกว่า

โดยตัวสถานีตั้งอยู่บนเนื้อที่ 37 ไร่เศษ (จากทั้งหมด 70 ไร่) ริมถนนบรมราชชนนี ใกล้กับวงแหวนรอบนอก วัดระยะแล้วห่างจากสถานีปัจจุบันประมาณ 5 กิโลเมตร หรือประมาณ 10-15 นาที เทียบเนื้อที่กับสถานีปัจจุบันที่มีขนาด 12 ไร่ ถือว่าใหญ่กว่ากัน 3 เท่า

รูปแบบสถานีทันสมัยเพราะได้แนวคิดมาจากสถานีรถไฟฟ้าใหญ่ๆ ในต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่พัฒนาส่วนของอาคารผู้โดยสารและพื้นที่ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์อยู่ภายในบริเวณเดียวกัน มูลค่าโครงการรวมงานก่อสร้างและที่ดินประมาณ 2,200 ล้านบาท

สถานีขนส่งแห่งใหม่ประกอบด้วยอาคาร 2 แห่ง คือ 1) อาคารชานชาลา หรือจุดขึ้นรถ จำนวน 130 คัน มากกว่าสถานีปัจจุบัน 60 คัน และ 2) อาคารผู้โดยสาร ขนาด 4 ชั้น พื้นที่รวม 4 หมื่น ตร.ม. ภายในติดแอร์เย็นฉ่ำ เน้นโทน สีขาวสะอาดตา

ตัวอาคารผู้โดยสารแบ่งเป็น ชั้น M ลานจอดรถกว่า 500 คัน และร้านค้า ชั้น G เป็นส่วนห้องโถงทางเข้า และพื้นที่เช่า อาทิ ธนาคาร ซึ่งมีธนาคารกสิกรไทยเข้าไปจับจองพื้นที่แล้ว นอกนั้นมีไปรษณีย์ และร้านค้าปลีก ชั้น 1 เป็นพื้นที่ขายตั๋วเดินรถ จุดนั่งพักสำหรับรอรถ รวมถึงร้านค้าที่แบ่งเป็นโซนโทรศัพท์มือถือ สินค้าไอที เสื้อผ้า เครื่องประดับ และชั้น 2 ซึ่งเป็นชั้นบนสุด เป็นฟู้ดเซ็นเตอร์ และร้านค้าต่างๆ กว่า 300 ร้าน

เบ็ดเสร็จสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดกว่า 1 แสนคน/วัน จากจำนวนเที่ยวรถโดยสารให้บริการ 1,300-1,500 เที่ยว/วัน และในอนาคต บ.ข.ส.จะปรับรูปแบบการเดินรถให้สถานีขนส่งมีรถให้บริการไปทั่วทุกภาค เช่น สถานีขนส่งสายใต้ ก็จะมีรถไปยังจังหวัดในภาคเหนือด้วย

วันที่ไปสังเกตการณ์ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม สังเกตว่าร้านค้าส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการตกแต่ง อาทิ ร้านหนังสือ ร้านเครื่องดื่ม ร้านของฝาก ฯลฯ และเริ่มมีบางร้านค้า และร้านขายอาหารในฟู้ดเซ็นเตอร์บางส่วนทยอยเปิดบริการบ้างแล้ว

บริษัทสิริโปรเจ็คฯให้ข้อมูลว่า ร้านค้าทั้งหมดพร้อมเปิดบริการเต็มรูปแบบในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ปัจจุบันมีคนเช่าพื้นที่เต็มแล้ว และสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทประมาณกว่า 10 ล้านบาท/เดือน

ที่ทันสมัยและแตกต่างจากสถานีขนส่งทุกแห่งในปัจจุบัน คือระบบป้ายบอกเวลาเดินรถทุกช่องขายตั๋วเป็นแบบ "จอแอลซีดี" จากเดิมที่เป็นป้ายพลาสติก และบางบริษัทเตรียมนำระบบขายตั๋วออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้

นอกจากนี้บริการที่สะดุดตาอีกจุดคือบริเวณโถงกลางชั้น 1 ที่มีการติดตั้งจอพลาสม่าขนาดใหญ่ เพื่อเป็นจอมอนิเตอร์กลางสำหรับตรวจเช็กเวลารถเข้า-ออก คล้ายๆ กับตารางเวลาเที่ยวบินตามสนามบินต่างๆ

นอกจากสิ่งอำนวยความสะดวกสบายแล้ว การจัดระบบการจราจรถือเป็นปัญหาใหญ่อันหนึ่ง เนื่องจากถนนบริเวณด้านหน้ามีเพียง 2 เลนเท่านั้น ทางสถานีได้แก้ไขโดยสร้างป้ายรถเมล์ เข้ามาอยู่ด้านในสถานีบริเวณด้านหน้าอาคาร ผู้โดยสาร เพื่อบรรเทาปัญหารถติด ส่วนจุดจอดรถตู้และรถแท็กซี่จะอยู่ด้านข้างอาคารสถานี พร้อมทั้งจัดระบบเดินรถแบบ 2 ทาง คือสามารถออกทางถนนบรมราชชนนี (ด้านหน้า) และถนนพุทธมณฑลสาย 1 (ด้านข้าง) ได้

ขณะเดียวกัน กรมทางหลวงก็อยู่ระหว่างปรับปรุงพื้นที่ใต้ตอม่อถนนคู่ขนานลอยฟ้า (บรมราชชนนี) เพื่อขยายถนนเพิ่มขึ้นอีก 1 เลน รวมเป็น 3 เลน

อนาคตบริษัทสิริโปรเจ็คฯ เจ้าของพื้นที่ยังเตรียมแผนพัฒนาพื้นที่เฟส 2 ที่เหลืออยู่อีกกว่า 30 ไร่ เบื้องต้นเตรียมก่อสร้างปั๊มน้ำมันเพื่อให้บริการรถโดยสาร รวมถึงพัฒนาเป็นพื้นที่ให้ ร้านค้าเช่าต่อไป

เท่ากับว่าที่นี่จะเป็นสถานีขนส่งที่ทันสมัยที่สุดในขณะนี้

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 31-05-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.