| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 80 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-05-2550    อ่าน 11492
 วิบากกรรม "N-PARK" ยักษ์ติดหล่มดิ้นฝ่าวิกฤตกู้ชื่อ

วิเคราะห์

"แนเชอรัล พาร์ค" ยักษ์ใหญ่วงการพัฒนาที่ดินที่ผันตัวเองจากดีเวลอปเปอร์ 100% มาสวมบทบาทโฮลดิ้งคอมปะนี กำลังเผชิญวิบากกรรมครั้งใหญ่อีกครั้ง หลังตกเป็นข่าวถูกเจ้าหนี้ทั้งไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด และบริษัท บริหารสินทรัพย์สาทร จำกัด รุมฟ้อง

กรณีไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย แม้จะเป็นเรื่องเก่า เป็นผลมาจากเจ้าหนี้รายนี้ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการ หลัง "แนเชอรัล พาร์ค" เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในศาลล้มละลายกลางเมื่อปี 2543 และมีข้อพิพาทติดพันต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ขณะที่บริษัทบริหารสินทรัพย์สาทร เพิ่งจะยื่นฟ้องล้มละลาย "แนเชอรัล พาร์ค" หมาดๆ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ทั้ง 2 คดีส่งผลด้านลบต่อค่ายพัฒนาที่ดินรายนี้อย่างคาดไม่ถึง

ทำให้ผู้บริหารระดับบิ๊กถึงกับนั่งไม่ติด ต้องวิ่งชี้แจงทั้งเจ้าหนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ นักลงทุน ตลอดจนพันธมิตร ทั้งรายเดิมและรายใหม่ที่อยู่ระหว่างเจรจาและมีแผนจะดึงเข้ามาร่วมหุ้น เพื่อคลายความวิตกกังวลและลดความสับสนจากกระแสข่าวที่โถมเข้ามาแบบตั้งตัวไม่ทัน

วินาทีนี้ เรื่องไหนที่ว่ายากอยู่แล้ว ยิ่งยากกว่าเดิมหลายเท่า ที่กำลังจะตกลงกันได้ก็กลับตาลปัตร กระทบชิ่งถึงการดำเนินงานรวมทั้งการลงทุนพัฒนาหลายโปรเจ็กต์ที่อยู่ระหว่างเดินหน้า และกำลังตระเตรียมแผนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"ปัญหาที่เกิดขึ้นกระทบเรามาก แต่กำลังพยายามหาทางแก้ไข ที่ทำไปแล้วคือชี้แจงให้หลายๆ ฝ่ายมั่นใจในสถานะของบริษัท โดยเฉพาะเจ้าหนี้และนักลงทุน" "เสริมสิน สมะลาภา" เอ็มดี "แนเชอรัล พาร์ค" หนึ่งในผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ที่เข้าตามถือหุ้นใน "เอ็นพาร์ค" ตามแผนฟื้นฟูกิจการเมื่อหลายปีก่อน กล่าวสั้นๆ

แม้ความพยายามในการสร้างความเข้าใจ และทำให้ทุกอย่างมีความชัดเจนจะเป็นเรื่องค่อนข้างยาก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวโยงถึงประเด็นปัญหาด้านข้อกฎหมาย ที่กำลังเฟ้นหามือกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะมาช่วยแก้ปม ซึ่งย่อมดีกว่านอนรอโชคชะตา

ที่ไปที่มาของวิบากกรรมครั้งนี้ มาจากกรณีไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัยยื่นคำร้องอุทธรณ์ หลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ "แนเชอรัล พาร์ค" เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 จากนั้นวันที่ 18 ธันวาคม 2543 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ

เมื่อทุกอย่างดำเนินไปตามแผนฟื้นฟู จนจบกระบวนการ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2546 ศาลล้มละลายกลางจึงได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ

ช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาคำร้องอุทธรณ์คัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการ "แนเชอรัล พาร์ค" ของไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย ว่า ไม่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟู และมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลาง

วันที่ 12 ตุลาคม 2548 ไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัยจึงได้ยื่นฟ้องล้มละลายเอ็นพาร์ค ซึ่งศาลล้มละลายกลางพิพากษาให้ยกฟ้อง แต่ไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัยยื่นอุทธรณ์อีกครั้ง และการพิจารณาคดีได้ยืดเยื้อมาถึงเวลานี้

จนกลายเป็นปัญหาด้านข้อกฎหมายที่ทำให้ "แนเชอรัล พาร์ค" คิดไม่ตกขบไม่แตก และกำลังพยายามอย่างหนักที่จะหาทางออก เพราะไม่รู้ว่าศาลฎีกาจะพิพากษาคำร้องอุทธรณ์ของเจ้าหนี้รายนี้เมื่อใด

เพราะเวลายิ่งเนิ่นนานออกไป นอกจากจะทำให้แผนดำเนินธุรกิจสะดุด ผลพวงจากความไม่เชื่อมั่นของเจ้าหนี้และนักลงทุนแล้ว หากต้องกลับไปอยู่ในสถานะเดิมเหมือนก่อนเข้าฟื้นฟูกิจการ ก็เท่ากับว่ากลุ่มทุนใหม่ที่เข้ามารับไม้ต่อธุรกิจจากกลุ่มเดิมยุคที่ "ทศพงศ์ จารุทวี"

อดีตบิ๊กเอ็นพาร์คบริหาร และใส่เม็ดเงินใหม่เข้ามาร่วม 4 พันล้านบาทอาจสูญเงินฟรี เช่นเดียวกับการเจรจากับเจ้าหนี้ และพันธมิตรที่อาจสะดุด ทำให้ "แนเชอรัล พาร์ค" จำต้องพลิกตำราใช้ 5 แนวทางขึ้นมาแก้เกม

นอกเหนือจากพึ่งมือกฎหมายชั้นเซียนแล้ว ส่วนหนึ่งเดินหน้าเจรจากับเจ้าหนี้ อย่างธนาคารกรุงไทย ธนาคารนครหลวงไทย สานต่อแผนเพิ่มทุน ดึงพันธมิตรเข้ามาเสริมฐานธุรกิจ และตัดขายสินทรัพย์บางส่วนเพื่อล้างหนี้ควบคู่กันไปด้วย ล่าสุดคือการขายที่ดินที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ให้กับกลุ่มนายเอเดรียน เซชา (Adrian Zecha) ที่ซื้อมา 7 ล้านเหรียญสหรัฐ ในราคา 9 ล้านเหรียญหรือประมาณ 315 ล้านบาท ฟันกำไรมาได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างเจรจาขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาฯ ยูโอบีอพาร์ต เมนต์ ที่ถืออยู่ 27% ให้กับนักลงทุนจากฮ่องกง

แหล่งข่าวจากแนเชอรัล พาร์ค ยอมรับว่า กระแสข่าวที่ออกมาในช่วงนี้กระทบบริษัทมาก ส่งผลให้การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ประสบปัญหา สาเหตุมาจากเจ้าหนี้ไม่มั่นใจในสถานะของบริษัท อย่างกรณีธนาคารนครหลวงไทยที่ผ่านมามีการเจรจากันหลายครั้งแต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ทั้งๆ ที่เสนอแผนเข้าไปแล้ว

ส่วนแนวทางแก้ปัญหาอีก 2 แนวทางจากทั้งหมด 5 แนวทาง คือ การเพิ่มทุน 4,029 ล้านหุ้น คิดเป็นเงิน 2,216 ล้านบาท ซึ่งกำหนดวันจองซื้อระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายนนี้ หากสำเร็จหรือมีผู้จองซื้อหุ้นเข้ามาบางส่วน ก็น่าจะช่วยบรรเทาปัญหาและทำให้บริษัทมีสภาพคล่องมากขึ้น

ขณะที่การร่วมทุนโดยดึงพันธมิตรเข้ามาลงทุนในโครงการต่างๆ ที่ผ่านมาถือว่า "แนเชอรัล พาร์ค" ค่อนข้างโชคดี อย่างโรงแรมสยาม และเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ มูลค่า 3 พันล้านบาท มีกลุ่มทุนจากบาห์เรนถือหุ้น โรงแรมโนโวเทล บีช รีสอร์ต พันวา ภูเก็ต ได้กลุ่มเลห์แมน บราเธอร์ส เข้ามาถือหุ้น โครงการโรงภาษีร้อยชักสาม มีกลุ่มอมันบุรีร่วมทุน และกำลังดึงบริษัทย่อยในกลุ่มของเจ้าของร้านเลอโนทเข้ามาเป็นพันธมิตรอีกรายหนึ่ง

ทั้งหมดนี้คือการดิ้นรนฮึดสู้โชคชะตา ที่แม้สถานการณ์จะยังไม่เลวร้ายถึงระดับ "สู้แบบหลังพิงฝา" ดังคำโบราณว่าไว้แต่ก็คงทำให้ระดับบิ๊ก "แนเชอรัล พาร์ค" ต้องเหนื่อยอย่างหนักอีกครั้ง

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 28-05-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.