| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 85 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-05-2550    อ่าน 11429
 เช็กเรตติ้งรายได้บิ๊กอสังหาฯ ยุคกำลังซื้อฝืดใครมาแรง

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์บ้านเมืองผันผวนอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ภัยพิบัติจากธรรมชาติ คลื่นยักษ์ น้ำท่วม ฝนแล้ง ไข้หวัดนก ขณะเดียวกันก็มีการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ระบบขนส่งมวลชนระบบราง ฯลฯ

ปัจจัยต่างๆ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย อย่างเช่น โครงการคอนโดมิเนียมในเมืองริมเส้นทางรถไฟฟ้าขยายตัวอย่างมาก สวนทางกับตลาดบ้านเดี่ยวราคาแพงที่ชะลอตัวลง บ้านพร้อมอยู่หรือบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย เริ่มเป็นปัญหาต้นทุน นอกจากนี้ผู้บริโภคก็มีกำลังซื้อลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ

สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนน่าจะเป็นผลประกอบการของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2545-2549 ซึ่งอาจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม (ดูตาราง)

กลุ่มบริษัทที่มีรายได้รวมผันผวน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ศุภาลัย ทำรายได้รวมสูงถึง 4.6 พันล้านบาท ในปี 2549 ในขณะที่ยอดรายได้รวมที่ผ่านมา ขึ้นลงตั้งแต่ 2 พันล้านบาทในปี พ.ศ.2545 เป็น 3.7 พันล้านบาทในปีต่อมา และตกลงไปเท่าเดิม ในปี 2547 และกลับมาเพิ่มขึ้นในปี 2548 เป็น 3.5 พันล้านบาท

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จาก 3.6 พันล้านบาท เป็น 4 พันล้านบาท, 4.5 พันล้านบาท และสูงสุดที่ 5.7 พันล้านบาท ในปี พ.ศ.2548 ก่อนจะลดลงเหลือ 4.5 พันล้านบาท ในปีที่ผ่านมา

โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ รายได้เพิ่มขึ้น จากพันล้านบาท ในปี 2545 เป็น 3 พันล้านบาทในปีต่อมา และลดเหลือ 1.8 พันล้านบาทในปี 2547 ส่วนปี 2548-2549 ทำรายได้ 2.5 พันล้านบาทเท่ากัน

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ก็มีลักษณะคล้ายกัน คือ เริ่มจากรายได้เกือบ 2 พันล้านบาท ในปี 2545 เป็น 3 พันล้านบาท ในปีต่อมา แล้วกลับไปเท่าเดิม คือ 2.3 พันล้านบาท เช่นเดียวกับปี 2549 ที่รายได้กลับไปอยู่ที่ 2 พันล้านบาทเท่าเดิม ลดลงจาก 2.7 พันล้านบาทในปี 2548

แม้แต่ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ทำรายได้รวมสูงสุดอันดับหนึ่งตลอดทั้ง 5 ปี แม้จะทำรายได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่ปี 2545 จาก 1.6 หมื่นล้านบาท ขึ้นมาสูงสุดถึง 2.3 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2548 กลับลดลงเหลือ 1.95 หมื่นล้านบาท ในปี 2549

บริษัทอื่นที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ แผ่นดินทองพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์, มั่นคงเคหะการ, กฤษดามหานคร, ไรมอนด์แลนด์ จำกัด, เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้, ชาญอิสสระ ดีเวลลอปเมนท์, สัมมากร, เอเวอร์แลนด์, ปรีชา กรุ๊ป และเคปเปล ไทย พร็อพเพอร์ตี้

กลุ่มที่ 2 บริษัทที่รายได้รวมลดลง ในปีแรกที่เข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือปี 2547 มี 2 บริษัท คือ เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง ลดจาก 2.5 พันล้านบาท เป็น 1.5 พันล้านบาท และ 1.2 พันล้านบาทตามลำดับ และอารียา พร็อพเพอร์ตี้ ลดจาก 1.7 พันล้านบาท เหลือ 900 ล้านบาท ในปี 2549

กลุ่มที่ 3 บริษัทที่มีรายได้รวมเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงภาวะวิกฤตกลับเป็นโอกาสสำหรับหลายบริษัท ได้แก่ แสนสิริ สามารถทำรายได้รวมเพิ่มขึ้นทุกปี และเพิ่มขึ้นอย่างมากในแต่ละปี คือ จาก 1.3 พันล้านบาท ในปี 2545 เป็น 1.1 หมื่นล้านบาทในปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มจาก 4 พันล้านบาท (ปี 2546) 7 พันล้านบาท (ปี 2547) และ 1 หมื่นล้านบาท (ปี2548)

เช่นเดียวกับควอลิตี้ เฮ้าส์ ที่ทำรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเริ่มจาก 4 พันล้านบาท ในปี 2545 เป็น 6 พันล้านบาท, 7 พันล้านบาท และ 8 พันล้านบาท ก่อนที่จะก้าวกระโดดขึ้นถึง 1.1 หมื่นล้านบาท ในปี 2549

ส่วนเอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านบาท ในปี 2545 เป็น 7 พันล้านบาท ในปีที่ผ่านมา แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ รายได้เพิ่มขึ้นจาก 1 พันล้านบาท ในปี 2545 เป็นลำดับจนถึง 5 พันล้านบาท ในปี 2549

แม้แต่เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น ที่มีรายได้รวมไม่มาก แต่ก็เพิ่มขึ้นจาก 1 พันล้านบาท เป็น 2 พันล้านบาท รวมทั้งบริษัทน้องใหม่ อย่างปริญสิริ ที่ผลประกอบการ 2 ปี เพิ่มขึ้นจาก 2.2 พันล้านบาท เป็นเกือบ 3 พันล้านบาท เช่นเดียวกับพฤกษา เรียลเอสเตท ที่เพิ่มขึ้นจาก 7.6 พันล้านบาท เป็น 8.2 พันล้านบาท

จะเห็นได้ว่า ผลประกอบการของบริษัท อสังหาฯ 24 บริษัท ส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์บ้านเมือง มีอยู่ 2 บริษัทที่ผลประกอบการลดลงเป็นลำดับ ยกเว้น 6 บริษัท กลับทำรายได้รวมเพิ่มขึ้นสวนกระแส

ตัวเลขรายได้รวมของแต่ละบริษัทที่เพิ่มขึ้น และลดลง นอกจากสะท้อนสถานการณ์บ้านเมืองและสภาพธุรกิจอสังหาฯที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ยังสะท้อนวิธีดำเนินงานของแต่ละบริษัท ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การวิจัย ตัวสินค้า การวางแผนโครงการ ขบวนการผลิตสินค้า การบริหารการเงิน การขายและการตลาด และการบริหารโครงการ ยิ่งสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลง การดำเนินงานจะต้องมีความ ชัดเจนแม่นยำ ที่สำคัญต้องมาจากการวิจัย และวางแผน

ดังจะเห็นได้จากบริษัทที่ผลประกอบการเพิ่มขึ้นในภาวะวิกฤต มักจะมีความแตกต่างในการดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ประเภทที่อยู่อาศัย ระดับราคาที่อยู่อาศัย เป็นต้น

อีกเรื่องที่น่ากังวลใจ หากสถานการณ์บ้านเมืองยังเป็นแบบนี้ต่อไป ไม่รู้ว่าจะมีกี่บริษัทที่สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่น่าจับตามองคือ จำนวนบริษัทที่มีรายได้ผันผวนอาจมีเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้รวมของธุรกิจอสังหาฯทั้งระบบอาจลดลง

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 28-05-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.