| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 264 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-05-2550    อ่าน 12138
 ดีล 2 พันล้านดอลลาร์ ขายทิ้ง "อเมริกันสแตนดาร์ด" เดิมพันผู้นำตลาดรายใหม่

การเทกโอเวอร์กิจการในวงการวัสดุ โดยเฉพาะแบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เช่นก่อนหน้านี้ กลุ่ม "ลาฟาร์จ" ยักษ์ใหญ่วงการวัสดุก่อสร้างระดับโลก จากประเทศฝรั่งเศส ประกาศขาย กิจการในกลุ่มธุรกิจหลังคาทั่วโลก ทำให‰ทาง บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) สนใจซื้อหุ้นกลุ่มธุรกิจกระเบื้องหลังคาดินเผาเฉพาะในประเทศไทยคืนเพื่อนำมาบริหารเอง

เคสล่าสุดที่วงการสุขภัณฑ์กำลังจับตาคือการประกาศขายกิจการทั่วโลก ในกลุ่มธุรกิจ "สุขภัณฑ์" และ "เครื่องครัว" ของ "อเมริกันสแตนดาร์ด" แบรนด์สุขภัณฑ์ระดับท็อปของโลกจากอเมริกา คำถามระงมดังขึ้นมาคือ อะไรที่ทำให้สุขภัณฑ์ยักษ์ใหญ่รายนี้ตัดสินใจขายทิ้งธุรกิจ

เครือข่าย 60 ประเทศทั่วโลก

สำหรับกิจการหลักของอเมริกันสแตนดาร์ด มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ มิสเตอร์ Fred ชาวอเมริกัน มีธุรกิจหลัก 3 ส่วนคือ 1) สุขภัณฑ์และเครื่องครัว 2) ระบบเบรก (รถ) และ 3) แอร์ยี่ห้อ Trane (เทรน) โดยธุรกิจเบรกและแอร์ ได้แยกโครงสร้างเป็น 1 BU (Business Unit) โดยมีบริษัทดำเนินการบริหารจัดการออกจากกันอย่างชัดเจน

ข้อมูลรายงานประจำปีของกลุ่มบริษัทอเมริกันสแตนดาร์ดระบุว่า ในปี 2549 ที่ผ่านมา มียอดขาย 1.12 หมื่นล้านดอลลาร์ เติบโต 9% โดยรายได้หลักที่เพิ่มขึ้นมาจากธุรกิจเครื่องปรับอากาศ ที่มีอัตราเติบโต 12.4% (6.8 พันล้านดอลลาร์) และธุรกิจระบบเบรก เติบโต 10.1% (3 พันล้านดอลลาร์) ส่วนธุรกิจสุขภัณฑ์และเครื่องครัว เติบโตขึ้นเล็กน้อย (มีวอลุ่ม 2.4 พันล้านดอลลาร์)

รายได้ต่ำที่สุดในกลุ่ม จึงเป็นเหตุผลให้อเมริกันสแตนดาร์ดตัดสินใจประกาศขายธุรกิจ สุขภัณฑ์และเครื่องครัว ซึ่งมีเครือข่ายกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนนี้ ฐานการผลิตใหญ่อยู่ในอเมริกา และจีน


"เป็นเรื่องปกติของบริษัทต่างชาติเมื่อมีกำไรจากหุ้นถึงระดับหนึ่งก็ตัดขายออกไป เท่าที่ทราบตอนนี้เจ้าของกิจการ (ผู้ถือหุ้นหลัก) ซื้อมาตั้งแต่ราคาหุ้นละ 10 กว่าดอลลาร์ ปัจจุบันราคาไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 50 ดอลลาร์ ก็อาจจะต้องการขายเพราะได้กำไร" แหล่งข่าวจาก บมจ.เครื่องสุขภัณฑ์อเมริกันสแตนดาร์ด (ประเทศไทย) บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

แหล่งข่าวคนเดิมยอมรับว่า บริษัทแม่อาจมองว่าเครื่องปรับอากาศเป็นธุรกิจที่มีอนาคต เพราะนับวันประชากรต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อนมากขึ้น ส่วนธุรกิจระบบเบรกก็สามารถทำไรได้สูงกว่า

"ราคาขายเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์ เป็นไปได้ว่าจะถูกนำมาใช้เพื่อลงทุนใน 2 ธุรกิจที่เหลือ ซึ่งอเมริกันสแตนดาร์ดจะใช้เป็นคอร์บิสเนสต่อไปในอนาคต"

ดังนั้น ความคืบหน้าในการเจรจากับบริษัทที่จะกล้าทุ่มเงินมหาศาลเพื่อเทกโอเวอร์กิจการของอเมริกันสแตนดาร์ดครั้งนี้ จึงเป็นที่จับตาของคนในแวดวงสุขภัณฑ์ เพราะจะได้ทั้งแบรนด์ ฐานการผลิต และเครือข่ายช่องทางจำหน่ายในเวลาเดียวกัน

คู่แคนดิเดต "โคห์เลอร์" มาแรง

เมกะดีลครั้งนี้ ว่ากันว่านับถอยหลังไม่เกิน 3-5 เดือน ทุกอย่างน่าจะได้ข้อสรุป และแน่นอนว่า "ใครเป็นใคร" ในตอนนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้เพราะเป็นความลับทางการค้า โดยมีกระแสข่าวว่า "โคห์เลอร์" หนึ่งในแบรนด์ยักษ์ข้ามชาติร่วมเป็นแคนดิเดต 1 ใน 2 รายที่กำลังชิงดำกันอยู่

"เท่าที่ทราบ มีการเจรจากันอยู่ 2 ราย เป็นบริษัทผลิตสุขภัณฑ์รายใหญ่ระดับโลก กับอีกรายไม่ได้อยู่ในวงการสุขภัณฑ์แต่อยู่ในธุรกิจวัสดุตัวอื่น"

หลังจากมีการเทกโอเวอร์เปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหม่แล้ว มั่นใจว่าจะไมส่งผลกระทบต่อการทำตลาดในประเทศไทย เพราะแบรนด์อเมริกัน สแตนดาร์ดค่อนข้างแข็งแกร่ง จึงมีความเป็นไปได้ว่าสูงว่าจะยังคงทำตลาดต่อไป ในทางกลับกันถ้าได้ผู้ถือใหม่ที่ทำธุรกิจวัสดุอื่นๆ น่าจะส่งผลดีมากขึ้นด้วย เนื่องจากจะมีวัสดุอื่นๆ เข้ามาทำตลาดเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีแค่สุขภัณฑ์และเครื่องครัว

"อัครพงศ์ นิธยานนท์" ซีอีโอผลิตภัณฑ์ก๊อกน้ำแบรนด์ "กะรัต" วิเคราะห์ว่า การประกาศขายกิจการของอเมริกันสแตนดาร์ดเป็นสิ่งที่คนในวงการสุขภัณฑ์และก๊อกน้ำให้ความสนใจ เพราะถ้าได้ผู้ถือหุ้นใหม่ก็อาจมีการปรับนโยบายการตลาดเชิงรุก

ถึงแม้การวิเคราะห์ว่าผู้ถือหุ้นรายใหม่จะเป็นใครค่อนข้างลำบาก แต่ถ้ามองว่ามีบริษัทใดบ้างที่มีศักยภาพพอจะ "ปิดดีล" ครั้งนี้ได้ ความคิดเห็นของ "อัครพงศ์" มองว่า "โคห์เลอร์" ยักษ์ใหญ่วงการสุขภัณฑ์ที่ติด 1 ใน 3 ของโลก ล่าสุดเพิ่งเข้าเทกโอเวอร์โรงงานสุขภัณฑ์กะรัตจากกลุ่มปูนซีเมนต์นครหลวงช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีเงินทุนมากเพียงพอ

"นอกจากนี้ก็น่าจะมี Rocca จากสเปน ผู้ผลิตสุขภัณฑ์ระดับโลกอีกรายที่กำลังมาแรง ก่อนหน้านี้เพิ่งเทกโอเวอร์โรงงานสุขภัณฑ์อันดับหนึ่งในประเทศมาเลเซีย แต่อาจติดตรงที่ดีลครั้งนี้ต้องใช้วงเงินสูงมาก"

แหล่งข่าวในวงการผู้ผลิตสุขภัณฑ์หลายรายระบุว่า "ก่อนหน้านี้มีตัวแทนนายหน้าของอเมริกันสแตนดาร์ดได้ติดต่อเข้ามา ส่งเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับการประกาศขายกิจการมาให้ แต่เท่าที่ทราบทางหลังทีมผู้บริหารพิจารณารายละเอียดแล้วได้ตอบปฏิเสธ เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง"

เบอร์ 2 ตลาดเมืองไทย

สำหรับธุรกิจของอเมริกันสแตนดาร์ดในประเทศไทย มียอดขาย 3 ปี (2547-2548-2549) เท่ากับ 1,700, 2,200 และ 2,500 ล้านบาทตามลำดับ แบ่งเป็นสัดส่วนการขายในประเทศ 65% และส่งออก 35% ในลักษณะใช้ไทยเป็นฐานการส่งออกสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และส่วนใหญ่ส่งกลับไปจำหน่ายในประเทศอเมริกา

นอกจากประเทศไทยจะเป็น "ฮับ" แล้ว ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่บริษัทแม่ก่อตั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) ขึ้น เพื่อทำงานร่วมกับฝ่าย R&D ที่ Head Office ในการออกแบบสินค้ารุ่นใหม่ๆ ด้วย

เฉพาะตลาดในประเทศไทย อเมริกันสแตน ดาร์ดเน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-บน ล่าสุดคือการเปิดตัวสุขภัณฑ์รุ่นอิมเมจิ้น ราคา 1.1 หมื่นบาท (แบบ 2 ชิ้น) และ 1.7 หมื่นบาท (แบบชิ้นเดียว) โดยประมาณการว่ามีส่วนแบ่งตลาดในตลาด รวมเป็นอันดับ 2 (24%) จากมูลค่าตลาดรวมประมาณ 7,000 ล้านบาท ขณะที่ผู้นำตลาดที่มีแชร์สูงสุดคือแบรนด์ "คอตโต้" ครองส่วนแบ่งตลาดเกือบ 30%

ปัจจุบันโรงงานของอเมริกันสแตนดาร์ดในประเทศไทย มีกำลังการผลิตมากกว่า 2 ล้านชิ้น/ปี โดย "จอน ริกก์" กรรมการผู้จัดการ บมจ.เครื่องสุขภัณฑ์อเมริกันสแตนดาร์ด (ประเทศไทย) คนปัจจุบัน ที่เข้ามารับตำแหน่งต่อจากผู้บริหารคนก่อนเมื่อปีที่ผ่านมา ได้วางนโยบายบริหารงานภายใต้แนวคิด "ดีไซน์ โซลูชั่น" (ดีไซน์ที่ตอบสนองทุกความต้องการ) โดยใช้เรื่องดีไซน์ผลิตภัณฑ์เป็นตัวนำ ดีลขายกิจการของอเมริกันสแตนดาร์ดนับว่าไม่ธรรมดา มีความพยายามใช้ "verb to เดา" ว่าในที่สุด "โคห์เลอร์" น่าจะเป็นกลุ่มที่เข้ามาช้อนซื้อกิจการไปในที่สุด ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง อาจทำให้ยักษ์ใหญ่วงการสุขภัณฑ์รายนี้ครองส่วนแบ่งในตลาดโลกเหนือคู่แข่งทุกราย

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 17-05-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.