| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 489 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 10-05-2550    อ่าน 11581
 เทียบฟอร์มเลือดใหม่อสังหาฯ พ้นช่วง "ฮันนีมูน" จ่อขึ้นมืออาชีพ

หลังธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัว ชัดเจนในปี 2544-2545 นอกจาก ดีเวลอปเปอร์ทั้งรายเล็กรายใหญ่ที่เคยประสบปัญหาในช่วงวิกฤต จะพลิกฟื้นสถานะหวนกลับคืนวงการ ด้วยการสานต่อโครงการที่คั่งค้าง รวมทั้งผุดโปรเจ็กต์ใหม่รับกำลังซื้อในตลาดบ้านที่เริ่มดีวันดีคืนแล้ว วงการพัฒนาที่ดินยังมีโอกาสได้ต้อนรับผู้เล่นที่เรียกได้ว่าเป็นเลือดใหม่ในวงการอสังหาฯ จำนวนมาก โดยเฉพาะจากตระกูลดังทั้งในแวดวงสังคมไฮโซฯ วงการธุรกิจ ตลอดจนวงการเมือง

ไม่ว่าจะเป็นตระกูลเรืองกฤตยา, ณรงค์เดช, คีตวรนาฎ, พูลวรลักษณ์, โตวชิรกุล, กลุ่มปราณีภัณฑ์, พงษ์พานิช, พร้อมพันธุ์ ฯลฯ

ที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ไฟแรง มีดีกรีนักเรียนนอก แถมยังได้รับการบ่มเพาะประสบการณ์จากการเป็นทายาทที่ถูกหมายมั่นปั้นมือให้เป็นผู้รับไม้ต่อทางธุรกิจ ทั้งกลุ่มที่ทำธุรกิจอสังหาฯเป็นธุรกิจหลัก และที่ขยายไลน์มาบุกเบิกธุรกิจนี้อย่างจริงจัง โดยอาศัยความได้เปรียบจากที่มีแลนด์แบงก์เก่าเก็บอยู่ในมือ โดยเฉพาะในไพรมแอเรีย นอกเหนือจาก คอนเน็กชั่นที่มีมายาวนานทั้งในวงการธุรกิจและวงการเงิน ทั้งยังคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตและมีไลฟ์สไตล์แบบคนรุ่นใหม่

ไม่แปลกที่โปรเจ็กต์ของ young developer ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 จะลอนช์ออกมาเป็นคอนโดมิเนียมเกาะติดแนวรถไฟฟ้า และหลายโครงการก็ไม่ผิดหวัง เพราะสร้างปรากฏการณ์ด้านยอดขายได้อย่างเหลือเชื่อ จนทำให้สามารถปิดการขายหลังเปิดตัวโครงการได้ไม่นาน โดยอาศัยความโดดเด่นทั้งในเรื่องรูปลักษณ์ ดีไซน์ของตัวสินค้า ที่โดนใจคนรุ่นใหม่แบบจังๆ

เวลาผ่านไปหลายคนคงอยากทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวของบรรดา "yong blood" ว่าสามารถแจ้งเกิดบนถนนสายอสังหาฯสมกับที่คาดหวังเอาไว้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งปัจจัยลบหลายด้านที่รุมเร้า กลุ่มเลือดใหม่จะสามารถพลิกสถานการณ์สร้างภูมิคุ้มกันธุรกิจ ทั้งรุกทั้งตั้งรับตามแต่จังหวะและโอกาส เพื่อผลักดันยอดขายให้มีเข้ามาต่อเนื่องได้อย่างไร


"ประชาชาติธุรกิจ" เกาะติดความเคลื่อนไหวและความคืบหน้าในการพัฒนาโครงการของอสังหาฯคลื่นลูกใหม่ พบว่ามีหลายกลุ่มที่ยังเคลื่อนไหวพัฒนาโครงการต่อเนื่อง

อาทิ ตระกูลพูลวรลักษณ์ มี สุริยน พูลวรลักษณ์ นั่งแท่นเอ็มดี บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอป เม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่ประเดิมเปิดตัวโปรเจ็กต์แรก "แฮมป์ตัน" คอนโดมิเนียมหรูในซอยทองหล่อ 10 ราคาขาย ตร.ม.ละ 7 หมื่นบาท ในปี 2546 ปัจจุบันเมเจอร์ฯเปิดตัวคอนโดฯใหม่เพิ่มอีก 7 โครงการ ได้แก่ โครงการแมนฮัตตัน-ชิดลม, คอนโด วิน รัชโยธิน และสุขุมวิท 23, โครงการออกัสตัน, โครงการวอเตอร์มาร์ค เจ้าพระยา, ฟูลเลอร์ตัน-สุขุมวิท และโปรเจ็กต์ใหม่ล่าสุดมิคโคนอส หัวหิน

โพซิชันนิ่งที่ชัดเจนของดีเวลอปเปอร์ค่ายนี้คือการพัฒนาแบรนด์ที่เป็นพรีเมี่ยมมาโดยตลอด การทำตลาดในช่วงที่ผ่านจึงมีการนำสินค้าไป โรดโชว์ในต่างประเทศ เพื่อเสนอสินค้าให้ลูกค้าต่างชาติที่ต้องการซื้อไว้เป็นที่อยู่อาศัยทั้งอยู่เองหรือเพื่อลงทุน

ตระกูล "กาญจนพาสน์" ค่ายบางกอกแลนด์ หรือบีแลนด์ หลังจาก "อนันต์ กาญจนพาสน์" พับโปรเจ็กต์โครงการที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบและแนวสูงเก็บไว้ชั่วคราว รอจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมของตลาดอีกครั้ง หันไปทุ่มเทให้กับศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า "อิมแพ็ค เมืองทองธานี" ซึ่งกำลังเป็นโปรเจ็กต์ที่สร้างรายได้ปีละหลายพันล้านบาท ได้มอบหมายให้ "พอล กาญจนพาสน์" นั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบีแลนด์


"อิมแพ็ค" วันนี้กำลังเดินไปด้วยดี มีคิวงานยาวเหยียดข้ามปี นอกจากนี้หลังอาคารชาเลนเจอร์เปิดให้บริการ ทำให้ "อิมแพ็ค" กลายเป็นศูนย์การแสดงสินค้าที่มีพื้นที่ติดอันดับ 11 ของโลกไปแล้ว

ตระกูล "เรืองกฤตยา" มีหนุ่มหน้าใส "ชานนท์ เรืองกฤตยา" เป็นซีอีโอ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ถือเป็นอีกกลุ่มที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เห็นได้จากที่ผ่านมามีการปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่ ทั้งรีแบรนดิ้งและดึงกลุ่มทุนต่างชาติ คือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ทีเอ็มดับบลิว เอเชีย พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์ 1 ภายใต้การบริหารงานของไพรมอเมริกา เรียลเอสเตท อินเวสเตอร์ จากสหรัฐอเมริกา และเป็นส่วนหนึ่งในพรูเดนเชียล ไฟแนนเชียล อิงก์ ซึ่งถือเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของสหรัฐอเมริกา เข้ามาร่วมทุน

ล่าสุดต้นปี 2550 กองทุนดังกล่าวนำเงินเข้ามาลงทุนเพิ่มอีก 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงการอสังหาฯแบบครบวงจร ทั้งแนวราบ คอนโดฯใจกลางเมือง, อาคารสำนักงาน, ศูนย์สรรพสินค้า, และโรงแรม รวมทั้งลงทุนในสนามแข่งขันรถยนต์พีระ อินเตอร์เนชั่นแนล พัทยา เซอร์กิต

เบื้องต้นจะจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาดูแลในแต่ละเซ็กเตอร์โดยเฉพาะ ภายใต้ชื่อ AD (Ananda Development) เช่น การลงทุนโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ จะใช้ชื่อบริษัท AD1 (Ananda Development 1) การลงทุนพัฒนาโครงการประเภทคอนโดฯ จะใช้ AD 2, 3, 4 เป็นต้น

นอกจากการลงทุนพัฒนาโครงการแล้ว ยุทธศาสตร์ของอนันดาฯ ในปีนี้คือการ รีแบรนด์อนันดาฯให้เป็นเพียงชื่อบริษัทเท่านั้น ส่วนตัวโครงการที่จะพัฒนาขึ้นในอนาคตจะใช้ชื่อ AD by Ananda แทน โดยแต่ละบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาจะดูแลโครงการแต่ละโซน แต่ละประเภทไป

กลุ่ม "ปราณีภัณฑ์" ที่มี "พีระศักดิ์ กลิ่นสุนทร" นั่งเอ็มดี บริษัท อินสไตล์เอสเตท กรุ๊ป จำกัด เป็นอีกกลุ่มที่มีโครงการใหม่เกิดขึ้นต่อเนื่อง บางโครงการปิดการขายเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างก่อสร้างเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้า ขณะที่บางโครงการอยู่ระหว่างการเปิดขาย อาทิ โครงการเดอะโคลีนี พาร์ค ลุมพินี, เดอะ คาริสมา เอกมัย, เดอะโคลีนี สุขุมวิท 11

แผนในปีนี้จะลงทุนพัฒนาคอนโดฯ ย่านถนนพระรามที่ 4 เนื้อที่ประมาณ 900 ตร.ว. โดยได้ปรับแบบให้มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 30 ตร.ม. เป็นอาคารโลว์ไรส์ 170 ยูนิต มีราคาขายเฉลี่ย 6 หมื่นบาทต่อ ตร.ม.หรือประมาณ 2 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 300 ล้านบาท อีกโครงการเป็นการลงทุนในธุรกิจโรงแรมระดับ 5 ดาว ในซอยร่วมฤดี ซึ่งเป็นที่ดินที่เช่ามาจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ระยะเวลาเช่า 50 ปี เนื้อที่ 900 ตร.ว. มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท

นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเลือดใหม่ที่ยังไม่เปิดฉากรุกในตลาดอสังหาฯแบบเต็มสูบ เห็นได้จากบางรายเพิ่งจะลงมือพัฒนาโครงการเพียงโครงการเดียว บางรายกำลังรอดูจังหวะขึ้นโครงการใหม่ในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากปัจจัยภาวะตลาดที่ไม่เปิด และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงจากผลพวงปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองยังไม่ฟื้นกลับมา แม้อัตราดอกเบี้ยจะเริ่มเข้าสู่ช่วงขาลงแล้ว

คงต้องติดตามต่อไปอีกหลาย "ชอต" ว่าจาก "เลือดใหม่" และหน้าใหม่ที่อาจถูกมองว่าเป็น "มือสมัครเล่น" ใครจะโดดเด่นเทียบชั้นมือ "อาชีพ" บนถนนสายนี้บ้าง

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 10-05-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.