| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 250 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26-04-2550    อ่าน 11624
 วิศวกรซีอีโอ "ประเสริฐ ภัทรมัย" คีย์แมนบริษัทที่ปรึกษา "ทีม คอนซัลติ้ง"

สัมภาษณ์

ด้วยดีกรีปริญญาเอกด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) บวกกับการผ่านงานในแวดวงวิศวกรที่ปรึกษามาอย่างโชกโชน ทำให้ "ประเสริฐ ภัทรมัย" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด หนึ่งในบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาชั้นนำ มีมุมมองและวิธีคิดที่น่าสนใจหลายอย่าง

ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ชั่วโมงกับ "ประชาชาติธุรกิจ" เขาได้ฉายแง่มุมต่างๆ ทั้งการวางระบบจัดการน้ำ สนามบินสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้า ที่กลั่นจากประสบการณ์ทำงานในฐานะวิศวกรซีอีโอในวัย 60 ปีเต็ม เรื่องราวทั้งหมดน่าติดตามอย่างยิ่ง

- 16 ปีที่ผ่านมาของ "ทีม" ทำอะไรมาบ้าง

จริงๆ "ทีม คอนซัลติ้ง" เริ่มต้นจากงานที่ปรึกษาด้านน้ำและสิ่งแวดล้อม เป็นศาสตร์ที่ต้องผสมผสานเรื่องราวหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม ป่าไม้ ประมง ท่องเที่ยว คมนาคม ฯลฯ บริษัทจึงเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของบุคลากรจากสหวิชาชีพ เราไม่ใช่สเปเชียลิสต์ด้านใดด้านหนึ่ง แต่ชำนาญทั้งเรื่องน้ำ อินฟราสตรัคเจอร์ ลอจิสติก

อย่างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย ก็เป็นคนวางแผนให้หมด กทม. กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรม รวมถึงประเทศลาว กัมพูชา เป็นการรับงานของบริษัทคนไทยที่เข้าไปลงทุน ล่าสุดเรารับงานวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำประวัติศาสตร์ของกัมพูชาเพื่อใช้ในการชลประทาน มีธนาคารเอเชียเป็นคนว่าจ้าง

- ถือว่าธุรกิจนี้เป็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ

ไม่ได้... เพราะเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีอาชีพนี้ก็ยังมีงานทำ เพราะช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลก็พยายามผลักดันโครงการต่างๆ ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เราเตรียมลดคน แต่ปรากฏว่าไม่ได้ลด เพราะรัฐบาลกู้ไอเอ็มเอฟมาก็กระจายมาถึงภาคธุรกิจที่เราทำอยู่

- น้ำท่วมปีนี้อาจรุนแรงกว่าทุกปี

คิดว่าน้อยกว่า... เพราะปีที่ผ่านมาอ่างเก็บน้ำเต็มเกือบทุกภาครวมแล้วกว่า 90% ยกเว้นภาคใต้และอีสานเท่านั้น ที่น้ำไม่เต็มอ่าง ปัจจุบันแบ่งอ่างเก็บน้ำได้ 3 ขนาด คือ อ่างขนาดใหญ่ความจุ 100 ล้าน ลบ.ม.ขึ้นไป อ่างขนาดกลางความจุ 10-100 ล้าน ลบ.ม. และอ่างขนาดเล็กความจุต่ำกว่า 10 ล้าน ลบ.ม.

ปัจจุบันอ่างขนาดใหญ่มีน้ำเต็มหมด และอ่างขนาดกลางมีน้ำเกือบเต็ม น้ำที่มีอยู่ก็จะมาซัพพลายให้กับพื้นที่ประเทศไทยตอนล่าง เหตุผลที่ซัพพอร์ตว่าน้ำท่วมปีนี้ไม่น่าจะรุนแรงคือทางกรมชลประทานเริ่มเตรียมตัวคอนเฟอเรนซ์ (ประชุม) ว่ามีพื้นที่จุดไหนที่ต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือบ้าง

- ภาคตะวันออกใช้น้ำเพิ่มขึ้นจะมีผลอย่างไร

ถ้ามองเฉพาะปี" 50 น่าจะเพียงพอ แต่อนาคตไม่แน่ เพราะภาคอุตสาหกรรมยังขยายตัวต่อเนื่องและวอลุ่มการใช้น้ำก็สูงมาก สำหรับภาคตะวันออกถ้ามองดูปริมาณน้ำเฉพาะในพื้นที่คงไม่เพียงพอ สิ่งที่เรามองคือการผันน้ำจากประเทศกัมพูชาเข้ามา ตั้งโรงงานในฝั่งประเทศไทยและผันน้ำจากเขื่อนฝั่งโน้นเข้ามา คาดว่าได้ประมาณ 500 ล้านลบ.ม. จริงๆ เป็นโครงการเก่าตั้งแต่สมัยอดีตนายกฯบรรหาร (ศิลปอาชา) แต่ไม่ได้ถูกผลักดัน ถ้าหากมีการดำเนินการจริงคาดว่าใช้เวลาอีกประมาณ 4 ปี สูสีกับระยะเวลาในวางแผนขยายแหล่งนิคมอุตสาหกรรม

สิ่งที่อยากเสนอแนะสภาพัฒน์ คือการพิจารณาว่าจะพัฒนาพื้นที่จุดไหนควรดูความพร้อมแหล่งน้ำเป็นหลักก่อน ยกตัวอย่างหากผันน้ำมาจากประเทศกัมพูชาเข้ามาทางจังหวัดตราด กว่าน้ำจะมาถึงนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรีต้องเสียค่าใช้จ่ายดำเนินการเป็นหมื่นล้านบาท ดังนั้นถ้าคิดจะขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเสนอว่าควรเป็นภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ตราด หากมีการพัฒนาแหล่งน้ำไว้รองรับ

- วิธีการอื่นในการจัดการน้ำ

เป็นธรรมดาพอมีฝนตกลงมากเกินไปไม่มีแหล่งกักเก็บก็เกิดน้ำท่วม สุดท้ายก็ไหลลงทะเลหมด สมัยปี 2528 ช่วงนั้นผมทำงานกับเวิรลด์แบงก์ ตอนนั้นเขาวิเคราะห์วˆาอีก 5-10 ปี ข้างหน้าจะเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ เรื่องนี้ทราบกันมานานแต่ปัจจุบันประเทศไทยยังกักเก็บน้ำไว้ได้แค่ 30% จากปริมาณฝนที่ตกลงมาเท่านั้น ซึ่งตามมาตรฐานสำหรับประเทศไทยควรจะมากกว่า 50% ขึ้นไป บางพื้นที่เราก็จัดการน้ำได้ดี แต่บางพื้นที่ก็ไม่ดี

- ภาพใหญ่เกี่ยวกับน้ำจะเป็นอย่างไรต่อไป

ปัจจุบันมีการจัดตั้ง "คณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ" มีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ในช่วงที่ผ่านมายังไม่เวิร์ก การป้องกันเหตุการณ์น้ำท่วมปลายปี 2549 ที่ผ่านมายังทำงานในลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่ประสานงานกัน นี่คือปัญหา

อย่างไรก็ตาม เริ่มมีแอ็กชั่นออกมา คือการจัดทำแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยแบ่งคณะกรรมการเป็น 3 ชุดคือ คณะกรรมการย่อยที่ดินและบำบัดน้ำท่วม คณะกรรมการย่อยการเกษตรและชลประทาน คณะกรรมการย่อยการจัดการลุ่มน้ำ เท่าที่ทราบตอนนี้ตั้งงบประมาณจัดการน้ำท่วมแล้ว 2 แสนล้านบาท

- ปัญหาขาดแคลนน้ำปีหน้า

ตอบยาก เพราะปีที่แล้วเรากักเก็บน้ำไว้มากเพราะฝนตก ขึ้นอยู่กับปีนี้ด้วยว่าจะมีฝนตกลงมามากแค่ไหน

- จะมีโอกาสเกิดภัยธรรมชาติหนักหรือไม่

มี... ถ้าเกิดฝนตกซ้อนกันหนักๆ อีก เพราะฝนเกิดจากดีเปรสชัน บางเดือนเป็นดีเปรสชันลูกใหญ่ บางเดือนลูกเล็ก และไม่เคยมีใครศึกษาว่าผลจากการพัฒนา (เมือง) ทำให้ปริมาณฝนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่ถ้าให้ประเมินคิดว่าฝนไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือตกแบบรุนแรงขึ้น แต่ที่ลดลงคือจำนวนป่าไม้ เมื่อไม่มีดินอุ้มน้ำไว้ก็เกิดน้ำท่วมตามมา อย่างน้ำท่วมปีที่ผ่านมาประเมินความเสียหาย 2-2.5 หมื่นล้านบาท แต่ไม่ใช่ทั้งหมดยังมีความเสียหายที่ประเมินไม่ได้อีกจำนวนหนึ่ง

- กับโครงการรถไฟฟ้ามีความเห็นอย่างไร

เราเป็นคนไปวางแผนให้ สนข. (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร) ตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนแต่เป็นบางสาย คือ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เราเป็นคนออกแบบ ปัจจุบันเราได้รับการว่าจ้างจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อประกวดราคาหาผู้รับเหมา ส่วนสายสีเขียวก็ศึกษาความเหมาะสม สายสีเหลืองอยู่ในขั้นศึกษา

- ต่อปีบริษัทมียอดขายเท่าไหร่

เป็นยอดขายทั้งกลุ่มประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนการขยายงานไปต่างประเทศในอนาคตที่ไปแล้วมีประเทศลาว กัมพูชา ส่วนแถบยุโรปยังไม่มีแพลนแต่ระวังอย่าให้เขามาบุกเรา

- ปัญหารันเวย์ (สนามบินสุวรรณภูมิ) เกิดจากระดับน้ำ

ไม่ใช่ปัญหาหลัก ปัญหาอยู่ที่พื้นผิวมากกว่ามาจากการก่อสร้าง ว่าไปแล้วมันเปิดเร็วเกินไปยังไม่ได้รับมอบงานกันเลย แต่ไม่มีใครกล้าพูด ไปเร่งเกินไป ถามพรรคพวกกันก็บอกว่ายังเปิดไม่ได้ เหมือนสนามบินยังไม่เสร็จแต่มาใช้งานกันก่อน เพราะตามหลักต้องมีการเทสต์เป็นขั้นตอน ตอนนี้ก็ต้องใช้ไปแก้ไป แต่ไม่น่าจะเสียหายอะไรมาก อีกด้านมีการศึกษามาเยอะว่าควรใช้สนามบินเดียว ถ้าใช้สองสนามบินพร้อมกันค่าใช้จ่ายสูงกว่ากันมาก

- สนามบินสุวรรณภูมิใครคุมงาน

แยกเป็นหลายคอนแท็กต์ อย่างงานรันเวย์มีบริษัทอังกฤษเป็นหัวหน้าคุมทั้งงานออกแบบและทำงาน ส่วนงานออกแบบอาคารเป็นอเมริกัน ปัญหาคือเจ้าของเข้าไปทำเกี่ยวกับร้านค้าในสนามบิน ดันไปดึงเอาระบบน้ำหล่อเย็นมาใช้จากเดิมที่ออกแบบไว้อย่างดี ส่วนที่จะกลับมาใช้แบบเดิมก็คงเป็นไปได้ เท่าที่ทราบตอนนี้ก็กำลังแก้อยู่

- สภาวิศวกรจะมีบทบาทเยอะขึ้นมั้ย

ควรเป็นอย่างนั้น ที่ผ่านมายังแอ็กชั่นน้อยไป สภาวิศวกรมาในลักษณะหน่วยงานควบคุมมากกว่าประชาสัมพันธ์หรือเข้าไปตรวจสอบ จริงๆ ควรแอ็กทีฟกว่านี้และควรจะรู้ก่อน ถ้าเทียบกับสภาทนายความถือว่ายังมีบทบาทน้อยกว่า อาจเป็นเพราะไม่อยากถูกโยงไปเกี่ยวกับการเมือง

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 26-04-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.