| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 147 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 19-04-2550    อ่าน 11356
 สนข.อัพเดตลงทุนรถไฟฟ้า ย้ำรัฐทำตามสัญญาโครงการเกิดแน่

สัมภาษณ์

อีกไม่กี่เดือนรัฐบาลชุด "พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์" ก็จะหมดวาระตามที่ได้ให้สัญญาประชาคมไว้ แต่การผลักดันโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง ที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดนี้จะเร่งเดินหน้าเพื่อให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ก็ยังมองไม่เห็นเค้าลางว่าจะเป็นจริงขึ้นมา แถมข่าวคราวความเคลื่อนไหวก็ยังเงียบผิดปกติ เพราะกระแสการเมืองกลบสนิท ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ "ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาตีปี๊บว่าภายในปี 2550 นี้ จะเปิดประมูลรถไฟฟ้าได้แน่นอน 3 สาย คือ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ในเดือนมิถุนายน จากนั้นประมาณเดือนสิงหาคม จะเป็นช่วงบางซื่อ-รังสิต ตามมาด้วยสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่

"ไมตรี ศรีนราวัฒน์" ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สนข.) ได้ไขข้อข้องใจ และบอกเล่าถึงขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อผลักดันโครงการรถไฟฟ้าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่างๆ แต่ยังยืนยันว่ารัฐทำตามสัญญาที่ให้ไว้แน่

- ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย

ขณะนี้รอให้ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ส่งแผนรายละเอียดการจ้างบริษัทที่ปรึกษามา เพื่อ สนข.จะได้กำหนดกรอบเวลาการเปิดประกวดราคาใหม่ เพราะของเดิมเวลาไม่ได้แล้ว อย่างสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟฯ เดิมกำหนดจะส่งเรื่องปลายเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายน แต่ยังไม่เสร็จเรียบร้อย เพราะติดเรื่องการทำเอกสารประกวดราคา เรื่องแก้แบบ

โครงการนี้เดิมจะมีระบบทางด่วนรวมอยู่ด้วย แต่ต้องตัดออก และบอร์ดการรถไฟฯ เองก็ยังไม่อนุมัติ ส่วนของ รฟม.สายสีม่วงกับสีน้ำเงิน ต้อง รอให้บอร์ดอนุมัติการประกวดราคาว่าจ้างที่ปรึกษาเช่นเดียวกันว่าจะเป็นแบบทั่วไปหรือใช้วิธีพิเศษ

ส่วนสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สนข.อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดเพิ่ม ขณะที่สีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ รฟม.อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษามาทำรายละเอียดเอกสารประกวดราคาให้

- ประเมินดูแล้วกรอบเวลาล่าช้าไปมาก

ตอนนี้ถือว่าล่าช้าบ้าง แต่ยังไม่มากเท่าไหร่ กำลังประสานไปยังการรถไฟฯและ รฟม.อยู่ ซึ่งคงต้องรีบดำเนินการ จะมีการประชุมคณะกรรมการกำกับและพิจารณาวันที่ 20 เมษายนนี้

- การจ้างที่ปรึกษาจริงๆ แล้วต้องเป็นรายเดิม

ควรจะเป็นที่ปรึกษารายเดิม เพราะรู้งานเดิมอยู่แล้วว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ใช้เวลาเดือนเดียว ก็ทำเสร็จแล้ว แต่ถ้าได้บริษัทอื่นมาดำเนินการ ก็ต้องให้เวลาอย่างน้อยเดือนครึ่ง จึงจะได้ตัวบริษัทที่ปรึกษา ทำให้เสียเวลาเพิ่มไปอีก 3 เดือน เพราะกว่าจะทำอะไรได้ แต่เมื่อเป็นนโยบายของกระทรวงคมนาคมต้องการความโปร่งใส ก็ต้องทำตามนโยบาย แต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย

- มีปัญหาเรื่องเงินลงทุนหรือเปล่า

ในส่วนของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะใช้เงินกู้ในประเทศ ไม่มีปัญหาแน่ เพราะใช้เงินลงทุนไม่มากประมาณ 10,000 กว่าล้านบาท สำหรับงานด้านโยธา แต่สายอื่นๆ สีม่วง และน้ำเงิน ต้องกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือเจบิก ยังต้องมีขั้นตอนอีก เป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังในการดำเนินการ กระทรวงดำเนินการเรื่องการประกวดราคาและก่อสร้างอย่างเดียว ขณะเดียวกันการดำเนินงานยังติดเรื่องของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ พ.ศ.2535 ตอนนี้ผมไม่คิดว่าเรื่องเงินจะมีปัญหานะ

- รถไฟฟ้าอีก 2 สายที่เหลือ

รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ขณะนี้ สนข.กำลังจ้างบริษัทที่ปรึกษามาออกแบบรายละเอียด ซึ่งได้เปิดประกาศทีโออาร์ไปแล้ว ภายในสิ้นเดือนนี้จะรู้ว่ามีใครเสนอตัวเข้ามาบ้าง คงจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการดำเนินการ อาจจะประกวดราคาไม่ทันปีนี้ ส่วนสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค รฟม.กำลังจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดและศึกษาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง

- รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ชมพู เหลือง ยังมีอยู่มั้ย

กำลังดูควบคู่ไปกับแผนโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที ที่ สนข.ได้ศึกษาไว้ เพราะมีบางเส้นทางที่ซ้อนทับกัน จะต้องดูว่าในอีก 4-5 ปี จะมีระบบใดเข้ามาก่อน ดูความเหมาะสมเป็นสำคัญ จากนั้นจะกำหนดเป็นนโยบายได้ เพื่อไม่ให้ลงทุนซ้ำซ้อน แต่ทั้ง 2 ระบบทั้งรถบีอาร์ที และรถไฟฟ้า ต่อไปจะเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงกันได้ แผนเดิมรถบีอาร์ทีจะมี 9 เส้นทาง เราวางระบบเส้นทางให้รองรับกับรถไฟฟ้าทั้ง 7 สายทางเดิมอยู่แล้ว

นอกจากนี้ การลงทุนเป็น 10,000 ล้านบาท ถ้าปัจจัยมันเปลี่ยนต้องมาทบทวนใหม่ ว่าจะลงทุนทำเป็นบีอาร์ทีหรือรถไฟฟ้าดี ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจด้วย ในส่วนนี้ สนข.กำลังปรับแผนอยู่ เรายังไม่อยากกำหนดว่าแผนรถบีอาร์ทีทั้ง 9 เส้นทางที่ศึกษาไว้ จะกำหนดเลยว่าเส้นไหนก่อน จะดูความพร้อมและความเป็นไปได้ของโครงการด้วย

- มีการปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้าง

อย่างเช่น สายสีชมพู จากปากเกร็ด-มีนบุรี ปัจจุบันถนนแจ้งวัฒนะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีอิมแพคเมืองทองธานี มีห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว มีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เรากำลังดูว่าจะทำเป็นบีอาร์ทีหรือรถไฟฟ้าดี และอาจจะต่อเส้นทางยาวไปเชื่อมโยงถึงสนามบินสุวรรณภูมิเลย นอกจากนี้มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล สีม่วง และสีเหลือง ที่เส้นทางยังทับซ้อนกับรถบีอาร์ที ก็กำลังดูอยู่เหมือนกัน

ถ้าทำเป็นรถเมล์ด่วนบีอาร์ที จะทำให้ค่าก่อสร้างถูกลงและใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 1 ปี ก็เปิดให้บริการได้แล้ว เหมือนกับโครงการของ กทม.เส้นแรกตอนนี้เริ่มลงมือก่อสร้างแล้ว ปีหน้าก็จะเปิดให้บริการได้แล้ว เพราะไม่มีปัญหาอะไร ถ้าทำเป็นรถไฟฟ้าการลงทุนจะสูงขึ้น แต่การทำรถบีอาร์ทีจะมีข้อจำกัดในการก่อสร้างโครงการ เพราะต้องเป็นถนนที่มีผิวการจราจรอย่างน้อย 6 ช่องจราจรขึ้นไป และการจราจรต้องไม่ หนาแน่นเหมือนเส้นถนนพหลโยธิน เป็นต้น

- ต้องรอดูผลตอบรับจากสายแรกของ กทม.ด้วย

ใช่ จะได้รู้ว่าเส้นแรกทำแล้วเป็นยังไง ประชาชนพอใจมั้ย ความพอใจของประชาชนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเลย เพราะการเดินรถบีอาร์ทีช่องการจราจรจะหายไป 1 ช่อง จะกระทบกับผู้ใช้ถนนส่วนอื่นด้วย ถ้าพอใจจะได้ทำต่อไป และจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเส้นทาง

- ดูแล้วของ กทม.จะประสบความสำเร็จมั้ย

เราตอบไม่ได้ เลยยอมให้ กทม.ทำแค่เส้นแรกก่อน จากช่องนนทรี-ถนนราชพฤกษ์ ไม่ให้ทำเยอะ ต้องการให้ทดลองไปก่อน แต่การพัฒนายังไงก็ต้องมี ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าหรือบีอาร์ที ตามแนวเส้นทางถนนสายสำคัญ เช่น ถนนราชประสงค์ มีเซ็นทรัลเวิลด์ สยามพารากอน ต้องผลักดันหลายๆ ฝ่ายให้โครงการเกิดให้ได้

- ถ้า กทม.จะทำทั้งหมด

ก็ต้องมาพิจารณาร่วมกันว่า เพราะการที่จะนำไปสู่การปฎิบัติหรือแผนแม่บทการพัฒนาระบบรถเมล์บีอาร์ที เพื่อให้ได้แผนแม่บทที่เหมาะสม สอดคล้อง และเป็นที่ยอมรับในหน่วยงานปฎิบัติ ทั้ง กทม.และ สนข.จะต้องพิจารณาร่วมกัน จากนั้นจะทำเป็นแผนแม่บท ซึ่งต้องประสานและสอดคล้องกับการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าด้วย

- ที่ สนข.ศึกษาไว้มีเส้นทางไหนบ้าง

บีอาร์ทีมีทั้งหมด 9 เส้นทาง แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก 4 เส้นทาง ระยะที่ 2 มี 5 เส‰นทาง รวมระยะทางทั้งหมด 379.72 กิโลเมตร แต่ทั้งหมดนี้จะนำไปปรับจัดทำเป็นแผนรวมเพื่อให้สอดคล่องกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ด้วย

- การลงทุนโครงการต่างๆ ควรจะเน้นอะไรก่อน

อย่างแรกต้องเป็นเรื่องของระบบขนส่งสาธารณะเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟฟ้า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ทำให้กรุงเทพฯ เติบโตแบบยั่งยืน ต่อมาเป็นเรื่องของระบบลอจิสติก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ช่วยลดพลังงานและค่าขนส่งด้วย แต่ต้องลงทุนเรื่องระบบรางของการรถไฟฯ โดยการรถไฟฯ จะต้องปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ เพื่อแก้ปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพ สุดท้ายเป็นเรื่องของถนน จะต้องมีการบำรุงรักษา และให้เชื่อมโยงกับระบบลอจิสติก เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 19-04-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.