| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 135 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 16-04-2550    อ่าน 12044
 "ธิติ โตวิวัฒน์" เจ้าพ่อถังบำบัด DOS สร้างธุรกิจด้วยแรงบันดาลใจ

สัมภาษณ์พิเศษ

น่าชื่นใจไม่น้อย เมื่อนักธุรกิจรุ่นใหม่ใส่ใจ "สิ่งแวดล้อม" ธิติ โตวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทธรรมสรณ์บอกกับตัวเองมาตลอดว่า ก่อนที่บริษัทจะผลิตสินค้าขาย พนักงานทุกชีวิตในองค์กรต้องรู้คิดและรู้จักผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่างเข้าใจ

ภายใต้เป้าหมายว่า "ต้องยกระดับคุณภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของเมืองไทยให้ดีขึ้น เทียบเท่ามาตรฐานสากลของโลก"

"ธรรมสรณ์กรุ๊ป" จึงพัฒนาสู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สังคมยอมรับ อีกทั้งเป็นผู้ผลิตวัสดุถังบำบัดน้ำเสีย DOS (domestic on size system) ที่โด่งดัง รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวกับ "น้ำ" อย่างมากมาย โดยมี "คุณธรรม" หนุนนำทิศทางธุรกิจ

วันนี้เขามาพร้อมกับใจที่เปิดกว้าง เพื่อให้ "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ ว่าด้วย "วิวัฒนาการกับตลาดวัสดุที่เป็นอยู่"

- อยากให้แนะนำตัวเอง

(หัวเราะ) ผมจบด้านวิศวะสิ่งแวดล้อม ถือว่าผมโชคดีนะ ที่เรียนทางด้านนี้มา เพราะได้มองอะไรเป็นมุมกว้าง มองจากธรรมชาติเป็นหลัก สุดท‰ายเมื่อเราเรียนจบก็เกิดคำถามต่อว่า เราจะหาทางพัฒนาอย่างไรต่อไป ทั้งตัวเองและ สังคม

เมื่อคิดทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ก็คุยกับเพื่อนๆ ประมาณ 4-5 คน ลงขันกันเป็นหุ้นส่วนวิศวะ บางคนจบมหิดล ผมจบจุฬาฯ มีรุ่นน้องจบจากเทคโนฯ พวกเราไม่ใช่คนที่มี ชื่อเสียง แต่มีความตั้งใจ อายุก็ประมาณ 40 กว่าไล่ๆ กัน พื้นเพผมเป็นคนอุทัยธานี ปีหนึ่งจะกลับบ้านเกิดสักครั้งก็ตอนเช็งเม้ง (ไหว้บรรพบุรุษ) ปกติผมไม่ค่อยเจอกับนักข่าวและไม่ค่อยเป็นข่าว แต่เห็นว่าคุณสนใจก็ยอมคุยด้วย

- คนในวงการบอกว่า สินค้าคุณมีนวัตกรรม

(หัวเราะ) คงเป็นถังบำบัดน้ำเสียรุ่นใหม่ที่เด้งดึ๋งมั๊ง ยี่ห้อ DOS แพงหน่อยแต่ใช้ได้ดีและเป็นประโยชน์ต่อระบบสุขาภิบาล แม้แต่ลูกน้องยังชอบใจเลย แต่กว่าจะถึงวันนี้ผมต้องลองผิดลองถูกมาเยอะ

จริงๆ คนไทยเราให้ความสำคัญกับวัสดุที่อยู่ใต้ดินน้อยมาก น้อยจนน่าตกใจ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ วัสดุไหนที่มองไม่เห็น เรายิ่งต้องใส่ใจ อย่างถังบำบัดฝังอยู่ใต้ดิน คนสˆวนใหญˆเลยคิดว่า ซื้อของถูกๆ ใช้ดีกว่า เพราะฝังไปก็มองไม่เห็น จริงๆ ไม่ใช่ เป็นความคิดที่ผิด สินค้าพวกนี้เหมือนซื้ออนาคตเพราะซื้อคุณภาพชีวิตในระยะยาว

- ตลาดภาคไหนที่ขายดี ?

กรุงเทพฯ แน่นอนอยู่แล้ว แต่ตลาดต่างจังหวัดเริ่มแรกภาคใต้ขายดีที่สุด ตอนนี้เริ่มขยับมาทางภาคเหนือกับภาคอีสาน ครั้งแรกผมก็สงสัยสินค้าเราแพง ทำไมขายดี เมื่อลงพื้นที่ไปดูกลุ่มลูกค้า กลายเป็น "เขยฝรั่ง" แท้ๆ และเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ด้วย เป็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน ซึ่งลูกค้าพวกนี้เขากล้าสู้ราคาจริงๆ แถวอุดรธานี อุบลฯ ขอนแก่น ฯลฯ ยอดดีหมด ส่วนใหญ่เป็นบ้านสร้างเอง ผู้จัดการภาคเลยดูโก้หน่อย

ตลาดอีสานโตเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ อาจเป็นเพราะเราไม่ได้ทำตลาดมาก่อน แต่พอเข้าไปทำสินค้าพรีเมี่ยม ฝรั่งซื้อเลย อย่างถังน้ำแกรนิตโต้ที่เราทำก็ขายดี เขยฝรั่งชอบแพงๆ แต่ต้องคุณภาพดีและสวยด้วย ฝรั่งจะรู้ว่า สินค้าเรามี ISO ซึ่งเขาจะเข้าใจดีกว่าชาวบ้านว่า ถ้ามีมาตรฐานแบบนี้การันตีจะเป็นประโยชน์ยังไง กับเขา

ส่วนเกาะสมุย ภูเก็ต เป“นตลาดดีอยู่แล้ว ทั้งรีสอร์ต วิลล่า ระดับหรู ถ้าถามว่าเศรษฐกิจตอนนี้มีผลกระทบมั้ย ก็มีบ้างเพราะทั้งตลาดเป็นเหมือนกันหมด และเคยมีประสบการณ์กับการรับมือสมัยฟองสบู่แตกมาแล้ว ถ้าอะไรจะเกิดขึ้นอีก ผมรับมือได้หมด !

- ประเมินสภาพตลาดกับการปรับตัว

แนวโน้มเราคงขยายตลาด แต่ต้องระมัดระวังมากขึ้น คิดว่าจะไปตามหัวเมืองหลักๆ เพื่อลดค่าขนส่ง ที่คิดไว้ก็ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น กำลังการผลิตของเราประมาณ 500-600 ใบต่อวัน การลงทุนน่าจะร่วมๆ 100 ล้านบาท

เรื่องกำลังการผลิตถ้าต่างจังหวัดเยอะ ในกรุงเทพฯ ก็จะลดลง ภาพรวมยอดขายอาจจะขึ้น 10% จากยอดขายที่หวังว่าจะโต 20% ต้องให้ลูกค้าสเต็ปบายสเต็ปไป ส่วนถัง DOS โพลีคอมโพสิต ยอดตอนนี้ 400 ใบ/วัน

ยอดขายต่อปีประมาณ 600-700 ล้าน คิดว่าเรายังไปได้อีกเพราะจะมีตัวเจเนอเรชั่นที่ 3 ยอดน่าจะทะลุพันล้าน แล‰วยังมีตลาดใหญˆในตˆางจังหวัดอีก

- คิดจะอินโนเวชั่นสินค้าตัวไหนอีก

ที่เตรียมไว้ 2-3 ตัว เป็นถังน้ำแปลกๆ แพงๆ เน้นการตกแต่งหรือเดคคอร์เรตมากขึ้น เมื่อก่อนคนไทยจะวาง "ถังน้ำ" ไว้หลังบ้านเพราะดูไม่สวย ถังสเตนเลสก็เอาต้นไม้ปิด แต่ตอนนี้เราคิดออกแบบถังเป็นแบบสปาให้ดูเด่น หรูและ โชว์ได้

เมื่อก่อนถังน้ำคนจะเกลียดมาก แต่ต่อไปในอนาคตจะเปลี่ยนแน่นอน คนจะเอาถังน้ำไว้หน้าบ้านเป็นเฟอร์นิเจอร์ อย่างธรรมสรณ์ดีไซน์ใหม่เป็นลายหินขนาด 900 ลิตร ปรากฏว่าขายดีมาก ผมเลยบุกอีก 3 รุ่นคือ 700- 1,300 -1,500 ลิตร จะมีเท็กซ์เจอร์ (texture) ที่ดึงดูดตลาด ซึ่ง DOS ร่วมมือกับ Cotto ทำตลาดร่วมกัน

- อยากให้เล่าถึงรากที่มา ก่อนจะถึงวันนี้

จริงๆ ธุรกิจระบบบำบัดน้ำเสียในบ้านเรา เริ่มมา 15 ปีกว่าแล้ว แต่ธุรกิจถังน้ำเสีย พัฒนามา 3 เจเนอเรชั่น ครั้งแรกเป็นถังไฟเบอร์กลาส 25 ปีที่แล้ว มีบริษัท พรีเมียร์เป็นผู้บุกเบิก ยุคที่สอง ถังทำจากโพลีเอทิลีน (พีอี) ที่ทำกันมามี อควาฯ ดอส ราคาก็ถูกกว่าไฟเบอร์กลาส จากตอนแรกราคาไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่พีอี ทางปูนซิเมนต์ไทย เป็นผู้ผลิตวัสดุตัวนี้ให้เรา จึงส่งเสริมมาตลอด ในชื่อบริษัท ทีพีอี (ไทยโพลีเอทิลีน) ตอนนี้เปลี่ยนเป็นทีพีซีฯ เราร่วมมือกันมาตลอด 15 ปี ทำถังบำบัดน้ำเสีย ถังใต้ดิน

การพัฒนาโปรดักต์แต่ละยุคจะมีเรื่องเล่า เริ่มจากไฟเบอร์กลาส เป็นวัสดุแข็งแรงทนทาน แต่การผลิตต้องใช้แรงงานคนสูง แต่ละชอตๆ ไม่สามารถใช้วัสดุรีไซเคิลได้ต้องทิ้ง และถ้า ไม่สามารถผลิตอย่างคุณภาพเพียงพอจะมีสาร ใยแก้วหลุดรอดมาสู่น้ำดื่มได้ เป็นสารก่อ มะเร็ง

ย้อนหลังไปหลายปีก่อน ผมเดินทางไปยุโรป เห็นผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีการวางขาย จากผลิตภัณฑ์ พีอี เรามาปรึกษาไทยโพลีเอทิลีน ให้เขาผลิต วัสดุตัวนี้ขึ้นมา ใช้เวลานานพอสมควรกว่า เขาจะผลิตได้ ใช้เวลาวิจัยเกือบปี เราปรึกษาเขาตลอด ประมาณปี 2532-2534 กว่าจะผลิตขึ้นมาได้ เป็นเกรดฉีด พวกฉีดโต๊ะ ฉีดเก้าอี้

จากระบบฉีดเป็นระบบเหวี่ยงขึ้นรูป พัฒนาร่วมกับเราจนสำเร็จ ถือว่าเป็นรายแรกของเมืองไทยที่นำวัสดุพีอีมาทำถังได้ แล้วเซตเครื่องจักรขึ้นมา เราเป็นคนแรก แต่ตลาดขณะนั้นไม่เป็นที่รู้จักเลย ยังติดกับไฟเบอร์กลาส เราต้องให้ความรู้กับผู้บริโภค

ทำมาเรื่อยๆ จนลูกค้าให้ความไว้วางใจมากขึ้นๆ บริษัทจัดสรรชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์ฯก็เป็นลูกค้าเราทั้งนั้น

รุ่นแรกๆ เราขายตกประมาณลูกละ 7,000-8,000 บาทเพราะทำจำนวนน้อย ปัจจุบันขายราคา 5,000-6,000 บาท เพราะการผลิตเป็นแมสมากขึ้น

- ความสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อครั้งเศรษฐกิจเฟื่องฟู

ธุรกิจเราไปได้ดี มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอด จนใกล้ปี 2540 เศรษฐกิจเริ่มดาวน์ บริษัทมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบ ต้นทุนสูงขึ้น แต่เราก็รอดพ้นมาได้ ต้องถือว่าเราได้ทีมงานและพนักงานที่ร่วมแรงร่วมใจกันในขณะนั้น

ทุกคนยอมอด เพื่อให้บริษัทอยู่รอด เราไม่มีการปลดคน ตอนนั้นพนักงาน 100 กว่าคน นโยบายที่ประชุมเราประกาศเลยว่า "ไม่ปลดคน แต่ขอลดเงินเดือนผู้บริหารลงครึ่งหนึ่ง พนักงานก็ลดไปตามส่วน" ทุกคนโอเค

ตอนนั้นคนงานก็ว่าง ผมก็หางานให้ทำ ทั้งขุดดิน ขุดบ่อปลา ทำคันดิน ทำทุกอย่าง (หัวเราะ)

แต่คุณเชื่อมั้ย ผลตอนนั้นกลับได้ผลตอนนี้ เพราะคนงานที่อยู่เก่า เขาจะอยู่กับเราตรงนี้ตลอดไป ร่วมทุกข์ร่วมสุข

งานจะยากจะหนักแค่ไหน เขาทำได้หมด ไม่มีเกี่ยง มองตาก็รู้ใจ ผมให้เขาทำหมด ทั้งรางระบายน้ำก็ทำ

ถึงวันนี้เรามีโรงงานถึง 2 โรง ที่สระบุรี 50 ไร่ ที่สมุทรสาครอีก 40 กว่าไร่

ผมจำได้กำลังการผลิตตอนนั้น 100 กว่าใบ ซัพพลายขนาดนี้ถือว่าเราพอใจมากแล้ว แต่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีเอามากๆ จาก 100 กว่าใบเหลือแค่ 3 ใบต่อวัน เศรษฐกิจแย่มาก บางวันไม่มีออร์เดอร์เลย เจ็บปวดนะ

แต่ผมกับพนักงานก็กัดฟันผ่านมาได้ ถึงบอกเสมอว่า ถ้าวันนี้จะเกิดอะไรอีก ผมไม่กลัวแล้ว!

- สุดท้ายถังบำบัดก้าวผ่านถึงยุคสามหรือยัง

แหม! เล่าเรื่องอดีตเกือบลืมเรื่องปัจจุบันไป (หัวเราะ) ตอนนี้ยังเป็นยุคสองอยู่ ธรรมสรณ์มีแนวคิดว่า จะทำ R&D ไปเรื่อยๆ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า "โพลีคอมโพสิต" มาจากโพลีเอทิลีน เป็นเบสคอมโพสิตเป็นสารองค์ประกอบตัวหนึ่ง เราวิจัยกันมา 3-4 ปีที่แล้ว ไม่ได้ใช้ ราคาน้ำมันเทียบกับตอนนี้ยังสูงไม่มาก แต่ตอนนี้ผมถือว่าได้เวลาอันสมควรที่จะเปิดตัวโพลีคอมโพสิตได้แล้ว

ตัวเบสคือพีอี เมื่อใส่คอมโพสิตจะเปลี่ยนโมเลกุลโครงสร้างให้พีอีมีความแข็ง พลาสติกส่วนใหญ่จะมีความอ่อน ขึ้นรูปดี แต่ข้อเสีย ของถังขนาดใหญ่คือเมื่อขึ้นรูปแล้วมันจะหนามาก เพื่อให้ได้ strength หรือค่าความแข็งแรง ซึ่งทำให้การขึ้นรูปยาก ต้นทุนก็แพง ความแข็งแรงที่ได้รับกลับมาไม่เท่ากับตัวโพลีคอมโพสิตตัวนี้

เรื่องการผลิตเหมือนกัน แต่จะผลิตให้ได้ความแข็งแรงเท่ากันตัวโพลีคอมโพสิตจะดีกว่า เหมือนกับแต่ก่อนทำเหล็ก แต่เมื่อทำเหล็ก กล้าวงการจะตื่นเต้นมาก พลาสติกก็เหมือน กัน ผมได้ไปดูงานที่ยุโรป อเมริกา ตัวนี้ยังไม่มีปัญหา ผมจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว ยุโรป อเมริกาก็ไม่มีตัวนี้ เราสามารถทำให้ การขึ้นรูปมีความเบา หนาและแข็งแรง ได้หมด

เหมือนเราตีขนมไข่ จากแป้งเราตีให้หนาได้ หรือภาษาทับศัพท์ที่เรียกว่า stickness คือทำให้เหนียว ขึ้นรูปแล้วก็เบา

จากจุดนี้ ผมเลยตั้งเองว่าเป็นเจเนอเรชั่นที่ 3 ของการทำวัสดุตัวนี้ เป็นรุ่นที่ 3 ของวงการ ก็ว่าได้

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 16-04-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.