| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 82 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26-03-2550    อ่าน 11398
 ตลาดสินเชื่อบ้านปี"50 แผ่ว ลุ้นดอกเบี้ยลดกระตุ้นตลาดอสังหาฯ

รายงาน

ภาวะกำลังซื้อบ้านที่ชะลอตัวทำให้คาดการณ์กันว่าแนวโน้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ในปี 2550 ทั้งลูกค้าโครงการและรายย่อยน่าจะปรับตัวลดลงด้วย ล่าสุด "สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย" และ "โฮมบายเออร์ไกด์" ร่วมจัดสัมมนา "เจาะกลยุทธ์ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2007" เนื้อหาน่าสนใจ

ด้วยการเปิดประเด็นของ "กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล" ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่คาดการณ์ว่าปีนี้การปล่อยสินเชื่อน่าจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อยและสอดคล้องกับราคาบ้านที่ลดลง ทั้งนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR กว่า 30% จาก 5.75 เป็น 7.75 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตลาดอสังหาฯชะลอตัว เพราะเฉลี่ยแล้วดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น 1% จะส่งผลให้ภาระการจ่ายเงินผ่อนต่อเดือนเพิ่มขึ้น 8.5% เท่ากับปีที่ผ่านมาคนที่กู้ซื้อบ้านต้องมีภาระผ่อนค่างวดต่อเดือนเพิ่มขึ้นถึง 17% ปีนี้จึงต้องเหนื่อยต่อไป

"สัมมา คีตสิน" ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) วิเคราะห์แนวโน้มดอกเบี้ยเงินกู้ว่า ที่ผ่านมาแบงก์ชาติเคยปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 50 สตางค์มาแล้ว ดังนั้นในปีนี้ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยแรงๆ เกินกว่าครั้งละ 25 สตางค์เพื่อกระชากความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับคืนมา


ส่วนมุมมองคนการเงิน "รัชนี นพเมือง" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่แบงก์กรุงเทพ "ชาลอต โทณวณิก" ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ แบงก์กรุงศรีอยุธยา "ธีรินทร์ เต่าทอง" ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยแบงก์กรุงไทย และ "เพ็ญศรี โปร่งเมฆ" ผู้อำนวยการสำนักงานพระราม 9 ธอส. ต่างสรุปว่า ทุกแบงก์ต่างมีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหลากหลายรูปแบบและก็ต่างช่วงชิงลูกค้า เช่น "แบงก์กรุงเทพ" ให้ดอกเบี้ยคงที่พิเศษกับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม

"กรุงไทย" ใช้กลยุทธ์บุกแหลกขยายลูกค้ารายย่อยและชูสินเชื่อ "เคหะทรัพย์ทวี" ให้สิทธิกู้ได้เต็ม 100% และมีระยะผ่อนถึง 30 ปี ภายใต้เงื่อนไขดอกเบี้ยพิเศษ มีเพียง "แบงก์ ธอส." ที่ปีนี้ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อลดลงจาก 1.13 แสนล้านบาท เหลือ 9 หมื่นล้านบาท

ส่วน "กรุงศรีฯ" ที่มีจีอีฯเข้ามาผู้ถือหุ้นรายใหญ่ วิเคราะห์ว่า ตลาดจะแข่งขันกันรุนแรงขึ้นกว่าเดิม และแนะว่าทั้งแบงก์กับบริษัทพัฒนาที่ดินน่าจะร่วมทำแคมเปญดอกเบี้ย 0% อีกครั้ง

สุดท้าย "นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์" ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตฯบอกว่า มีหน้าที่เก็บข้อมูลผู้กู้ทั้งหมดเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบพิจารณาการปล่อยสินเชื่อของแบงก์ต่างๆ ข้อดีของข้อมูลเครดิตก็คือ ช่วยให้การปล่อยสินเชื่อรวดเร็วขึ้น แต่หากผิดชำระหนี้ก็จะติด "เครดิตบูโร" ทำให้แบงก์พิจารณาไม่ปล่อยเงินกู้

ทางแก้ปัญหาก็คือต้องเคลียร์หนี้สินทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อนขอกู้เงิน หรือถ้ามีปัญหาเงินขาดมือก็ควรเข้าไปปรึกษาธนาคารขอยืดระยะเวลาชำระหนี้เพื่อจะได้ไม่ติดแบล็กลิสต์

อย่างไรก็ตาม แบงก์น้องใหม่ "ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย" กลับมองลูกค้ากลุ่มสีเทา (เครดิตไม่ค่อยดี) เป็นอีกตลาดที่น่าสนใจ

"มงคล ลีลาธรรม" กรรมการผู้จัดการใหญ่ แบงก์ไทยเครดิตฯ ธนาคารน้องใหม่ ยืนยันว่า ผู้ที่ติดแบล็กลิสต์ก็มีสิทธิกู้เงินจากแบงก์ได้ แต่ขึ้นกับเหตุผลที่เคยผิดชำระเงินในช่วงนั้นเป็นสำคัญว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ เช่น ถูกให้ออกจากงาน เป็นต้น นอกจาก กลุ่มที่ไม่ได้มีอาชีพประจำ เช่น ประกอบอาชีพขายอาหาร หากมีแผงหรือสถานที่ทำกินเป็นหลักแหล่งมานานหลายปี ก็มีสิทธิได้รับพิจารณาปล่อยกู้ได้

ส่วน "มีชัย คงแสงไชย" ผู้จัดการบริหารสินเชื่อลูกค้าบุคคล แบงก์ไทยพาณิชย์ ที่มองว่าการนำระบบ "บาเซิล ทู" หรือการจัดเครดิตเรตติ้งลูกค้ามาใช้ ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 3 ปีเพื่อจัดเก็บข้อมูล น่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีความหลากหลายมากขึ้น ลูกค้าที่มีอาชีพมั่นคงและมีเครดิตจะได้สิทธิกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าลูกค้าที่เครดิตไม่ดี

ขณะที่ "วสันต์ เคียงศิริ" กรรมการผู้จัดการ บมจ.ธารารมณ์ เอ็นเตอร์ไพร์ส ในฐานะดีเวลอปเปอร์มองว่า สถาบันการเงินควรเป็นมากกว่าผู้ปล่อยสินเชื่อ คือเมื่อมีปัญหาก็ต้องทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำให้กับผู้กู้เพื่อให้มีโอกาสขอสินเชื่อผ่าน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ตลาดอสังหาฯและสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวได้อีกในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 26-03-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.