| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 98 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 22-03-2550    อ่าน 11548
 ภารกิจเร่งด่วนรองผู้ว่าฯ กทม. พนิช วิกิตเศรษฐ์ เข้มรีดภาษี-เปิดบีทีเอสส่วนต่อขยาย

สัมภาษณ์

แม้เหลือเวลาอีกเพียงปีเศษ ทีมผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชุดปัจจุบัน ซึ่งนำทีมโดย "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" จะครบกำหนดวาระ แต่ยังมีภารกิจอีกหลายอย่างที่ต้องเร่งดำเนินการ อย่างเรื่องเร่งด่วนการบริหารจัดการเรื่องการจัดเก็บภาษี ที่ กทม.กำลังจะขยายฐานให้ครอบคลุมกว้างมากขึ้น พร้อมๆ กับเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บให้มีรายได้เข้ามากๆ ที่สุด การผลักดันแก้ปัญหาการจราจรด้วยระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า บีทีเอส การปรับปรุงแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการให้บริการด้านต่างๆ ฯลฯ เป้าหมายเพื่อให้ กทม.เป็นเมืองน่าอยู่ตามสโลแกน

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ "พนิช วิกิตเศรษฐ์" รองผู้ว่าราชการ กทม. หลากหลายประเด็น จึงขอนำสาระสำคัญบางส่วนมาถ่ายทอดต่อ

- การจัดเก็บรายได้ของ กทม.ปีนี้

รายได้ของ กทม.ปี 2550 คาดการณ์ไว้ว่าจะจัดเก็บได้ ทั้งหมด 39,000 ล้านบาท เทียบกับปีงบประมาณ 2549 เพิ่มขึ้น 11% ประมาณการว่าส่วนที่เราจัดเก็บเอง 8,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่จัดเก็บได้ 8,100 ล้านบาทราว 6-7% จากเป้าที่ตั้งไว้ปีที่แล้ว 7,800 ล้านบาท ส่วนปีนี้ผมปรับเป้าให้กองรายได้จัดเก็บภาษีทั้งหมดให้ได้ 8,800 ล้านบาท

ส่วนที่เพิ่มขึ้น หลักๆ คือ ภาษีโรงเรือน ประมาณการเพิ่มขึ้น 8,000 ล้านบาท จาก 7,400 ล้านบาท หรือ 80% ของรายได้ กทม. ส่วนที่หน่วยงานอื่นเก็บให้ 29,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 13%

ส่วนภาษีบำรุงท้องที่ประมาณการไว้ 150 ล้านบาท ภาษีโรงเรือน 7,500 ล้านบาท ผมคิดว่าได้ถึง 8,000 ล้านบาท ภาษีป้าย 700 ล้านบาท รวมเป็น 8,750 ล้านบาท สูงกว่าข้อบัญญัติงบประมาณที่ประมาณการไว้ 8,200 ล้านบาท แต่ผมคิดว่าภาษีโรงเรือนกับภาษีป้ายน่าจะเพิ่มขึ้นนิดหน่อย

นอกจากภาษีพื้นฐานแล้ว ยังมีภาษีอีก 2-3 ตัว ที่คิดว่า กทม.น่าจะจัดเก็บเข้าสู่ระบบ ตอนนี้อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 111 ให้ กทม.มีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีประเภทอื่นๆ ไ ด้เพิ่มขึ้น เช่น ภาษียาสูบ ซึ่ง กทม.จัดเก็บได้มวนละไม่เกิน 10 สตางค์ ภาษีน้ำมัน ไม่เกินลิตรละ 10 สตางค์ ค่าธรรมเนียมจากห้องพัก เป็นหน้าที่ที่ผู้ประกอบการโรงแรม จัดเก็บส่งให้ กทม.ในอัตราไม่เกิน 1-3% ของค่าห้องพัก

ทั้ง 3 ตัวนี้ กทม.คิดว่าภาษียาสูบเป็นเรื่องเร่งด่วนต้องรีบดำเนินการ เพราะจะทำให้ กทม.มี รายได้เพิ่มขึ้นอีกปีละ 400-500 ล้านบาท ส่วน ค่าธรรมเนียมจากห้องพักถ้าจัดเก็บได้คงมีรายได้เข้ามาหลายร้อยล้านบาท ส่วนภาษีน้ำมันยังไม่มีความจำเป็น เพราะน้ำมันราคายังแพงอยู่

- ภาษีตัวใหม่จะทันสมัยนี้หรือเปล่า

เราพยายามอยู่ แต่ไม่ได้อยู่ที่เรา อยู่ที่รัฐบาลว่าจะผลักดันให้ กทม.จัดเก็บหรือเปล่า

- ทำอย่างไรจะจัดเก็บภาษีให้ได้ตามเป้า

วิธีการอันดับแรก ออกเกณฑ์เพื่อให้ฝ่ายรายได้ทุกเขตมีมาตรฐานในการจัดเก็บเหมือนๆ กัน 2.นำแผนที่ GIS มาใช้ การเพิ่มรายได้ของ กทม.สำคัญที่สุด คือ เพิ่มการจัดเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีรายใหม่ กำลังมองว่ามีอาคารอีกหลายประเภทที่การจัดเก็บภาษีครอบคลุมไม่ทั่วถึง เช่น สำนักงานขนาดกลาง ขนาดเล็กที่เพิ่งตั้งใหม่ บ้านที่ปรับไปเป็นการพาณิชย์ และไม่ใช้อยู่อาศัย เป็นหน้าที่ของเขตที่จะต้องดำเนินการให้รัดกุมและเข้มงวดมากขึ้น

ที่กำลังทำอยู่คือ จ้างคนมาเดินตรวจสอบบ้านแต่ละหลัง 50 อัตรา และล่าสุด กทม.เพิ่งลงนามกับกรมสรรพากร เพื่อแลกเปลี่ยนและบริหารข้อมูลงานภาษีร่วมกัน

- พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ตอนนี้ยังไม่ประกาศใช้ เรายังเตรียมการไม่ได้ เพราะยังไม่รู้ว่ารัฐจะออกมาแบบไหน ที่ผ่านมาเราผลักดันให้คลังเร่งออกกฎหมายฉบับนี้ เพราะจะช่วยให้การประเมินภาษี และการจัดเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น อาจทำให้ กทม.มีรายได้มากขึ้นด้วย

- ความคืบหน้าส่วนต่อขยายบีทีเอส

โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ กทม.ดำเนินการทั้งหมด 100% มี 2 เส้นทางหลัก แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ สายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า มี 2 ช่วง คือ ช่วงสะพานตากสิน-ถนนตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร งบประมาณ 2,400 ล้านบาท และช่วงถนนตากสิน-บางหว้า ระยะทาง 5.3 กิโลเมตร อีก 4 สถานี วงเงินก่อสร้าง 7,100 ล้านบาท

โดยช่วง 2.2 กิโลเมตรแรก งานโครงสร้างพื้นฐาน รางและสถานีเสร็จไปกว่า 90% จะเสร็จทั้งหมดเดือนพฤษภาคมนี้ จากนั้นจะวางระบบอาณัติสัญญาณ ใช้เวลาอีก 10 เดือน จะเริ่มวางระบบกลางปีนี้แล้วเสร็จและเปิดใช้ได้ต้นปี 2551 แต่จะมีรถไฟฟ้ามาทดสอบช่วงปลายปี ประชาชนจะใช้ได้จริงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมปี 2551

ส่วนช่วงต่อขยายจากถนนตากสิน-บางหว้า กำลังร่างทีโออาร์หาผู้รับจ้างก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งอีก 800 เมตร วางระบบราง สร้างสถานีอีก 4 สถานี คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้กลางปีนี้ ใช้งบฯก่อสร้างทั้งโครงการ 7,100 ล้านบาท

อีกสายหนึ่งคือ สายสุขุมวิท จากอ่อนนุช-แบริ่ง ที่กำลังสร้างอยู่ มูลค่าโครงการ 8,800 ล้านบาท ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร มี 5 สถานี เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว รื้อย้ายสาธารณูปโภคเสร็จแล้วกว่า 50% ก่อสร้างทางวิ่งเสร็จ 10% สัญญาทั้งหมดจะเสร็จสิ้นและเปิดใช้ได้ไตรมาส 3 ปี 2552 โครงการนี้งานโครงสร้างราง สถานี ทางวิ่ง จะเสร็จเรียบร้อยปลายปี 2551

- ตัวระบบรถไฟฟ้า

ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่โครงสร้าง รางและระบบเป็นเรื่องใหญ่ เรากำลังพิจารณาว่าจะให้ใครมาเดินรถไฟฟ้า เหมือนกับสาย 2.2 กิโลเมตร ยังไม่ได้บอกว่าจะให้บีทีเอสเดินรถหรือไม่ แต่โอกาสมีสูง เพราะ 2.2 กิโลเมตร ง่ายในการตัดสินใจ อาจใช้วิธีว่าจ้างเดินรถ ส่วนช่วงอื่นๆ ยังไม่ได้พิจารณา

- คงเปิดไม่ทันสมัยผู้บริหารชุดนี้

ใช่ครับ ต้องมีคนมาสานต่อ เพราะผู้บริหาร ชุดปัจจุบันจะหมดวาระสิงหาคม ปี 2551

- สายอื่นๆ ที่เหลือ

สายที่ ครม.มีมติอนุมัติมื่อ 7 พฤศจิกายน 2549 ให้ กทม.ดำเนินการคือ สายเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่ วงเงิน 25,000 ล้านบาท ระยะทาง 12 กิโลเมตร จะคล้ายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ยังอยู่ในขั้นสรุปแผนการเงิน ส่วนนี้อยู่ในกรอบ 5 สายที่รัฐบาลวางกรอบไว้ กทม.กำลังรอดูว่ากระทรวงการคลังจะให้ กทม.ใช้เงินลงทุนจากที่ไหน ยังไม่ชัดเจน

- สนข.อยู่ระหว่างจ้างออกแบบรายละเอียด

ใช่ครับ สนข.รับเรื่องออกแบบรายละเอียดไป เราก็ดูในแผนการเงินของเราอยู่ ฉะนั้นมีอยู่ 2 ด้านที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ ด้านที่ กทม.ดำเนินการเอง 100% 2 สาย 3 ช่วง งบประมาณมีหมดแล้ว สภา กทม.อนุมัติตั้งแต่กลางปี 2549 คือ สายอ่อนนุช-แบริ่ง ช่วงถนนตากสิน-บางหว้า และช่วงพหลโยธิน-สี่แยกเกษตร ซึ่งสายเหนือนี้ซ้ำซ้อนกับโครงการของรัฐบาล เลยต้องดำเนินการภายใต้นโยบายของรัฐบาล และปลายปี 2548 ที่ผ่านมา สภา กทม.อนุมัติให้ กทม.ดำเนินการ 100% ในส่วนของส่วนต่อขยายบีทีเอสฝั่งธนฯระยะทาง 2.2 กิโลเมตร

- งบประมาณจัดสรรยังไง

แล้วแต่สายทาง อย่างช่วง 2.2 กิโลเมตร แผนงบประมาณเริ่มปี 2548-2551 ช่วงถนนตากสิน-บางหว้า อีก 5.3 กิโลเมตร เริ่มปี 2549-2553 ช่วงแบริ่ง-อ่อนนุช ปี 2549-2552 เราจัดสรรไว้หมดแล้ว คนต่อไปก็ทำตามแผนต่อได้เลย

- โครงการบีอาร์ที

สายแรก คือ สายเขียวเหลือง จากช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ จะให้เสร็จในปีนี้ ใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท กำลังเริ่มรื้อย้ายสาธารณูปโภค จะเสร็จปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคมนี้ จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างสถานี ใช้เวลา 6 เดือน ขณะนี้กำลังจัดเตรียมเรื่องของรถที่จะนำมาวิ่ง จะนำเข้ามาประมาณปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า เป็นรถเอ็นจีวี ยาว 18 เมตร จุผู้โดยสารได้ 150 คน มีระบบความปลอดภัยสูง โดยจะนำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบในประเทศ ถึงตอนนี้จะมีการเปิดประมูล

- เวลาที่เหลือโครงการไหนจะชัดเจนบ้าง

มีโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส 2.2 กิโลเมตร รถบีอาร์ที สายแรก สายสีเขียวเหลือง ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ และกำลังพิจารณาความเป็นไปได้โครงการรถบีอาร์ที สายดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 30 กิโลเมตร ถ้ามีความพร้อมก็ทำได้เลย เพราะมีความจำเป็นต้องหาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมทั้ง 2 สนามบิน โครงการนี้ก็จะใช้งบฯของ กทม. ส่วนโครงการอื่นๆ ไม่มีแล้ว มีบ้างที่อยู่ระหว่างศึกษาแต่ต้องใช้เวลา และไม่ใช่เรื่องง่าย

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 22-03-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.