| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 59 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 15-03-2550    อ่าน 16318
 อรรณพ เตกะจรินทร์ นวัตกรรมคอนกรีตผสมเสร็จ สู่แฟรนไชส์ "เรดดี้มิกซ์" ซีแพค

สัมภาษณ์พิเศษ

หมายเลข 19083 เป็นทะเบียนสิทธิบัตรคอนกรีตผสมเสร็จในเครือปูนซิเมนต์ไทย (SCG) นวัตกรรมใหม่ล่าสุดในรูปลักษณ์ของคอนกรีตผสมเสร็จ "เรดดี้มิกซ์" ที่มีภาพยนตร์ชุดโฆษณาอาละวาดตามหน้าจอ โดยมีพระเอกเป็นรถโม่ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ใช้สีสัญลักษณ์ "สีฟ้า" เตะตา อาจจะไม่ดังเปรี้ยงปร้างแต่เชื่อว่าเข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้บริโภคเรียบร้อย

คีย์แมนผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแฟรนไชส์คอนกรีตผสมเสร็จ "เรดดี้มิกซ์" เป็นลูกหม้อของปูนใหญ่ "อรรณพ เตกะจรินทร์" ฝังตัวอยู่กับทุกส่วนงานของซีแพค ก่อนจะมารั้งเก้าอี้สำคัญในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด และจะเป็นผู้ที่บอกเล่าเรื่องราวของเรดดี้มิกซ์ได้ดีที่สุด

- ที่มาของโปรเจ็กต์รถโม่เล็ก

เป็นเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจ ภาพรวมตลาดหดตัวรุนแรง พวกเราทราบกันดี ซีแพคประสบปัญหาหนักมาก ก่อนวิกฤตเราจะจับเฉพาะโครง การขนาดใหญ่ เราชำนาญโครงการขนาดใหญ่มาก

ต่อเมื่อเกิดไครซิส เรากระทบรุนแรงที่สุด หลังจากวิกฤตงานขนาดใหญ่ไม่เห็นแวว ต้องเปลี่ยน business model มาสู่งานเล็กงานจิ๋วที่แต่ก่อนไม่เคยให้ความสำคัญ เราต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้าง วิถีชีวิตของเราทั้งหมด

ตัวอย่างคือไปเน้นต่างจังหวัด การบริโภคปูนซีเมนต์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะซื้อปูนถุง ผสมทราย ตลาดต่างจังหวัดเป็นพฤติกรรมแบบนี้ มองว่าจะเป็น room ที่ทำให้เราอยู่รอด ซึ่งเวลามิกเซอร์ต้องนึกภาพว่า ใส่ปูน ผสมทราย ภายในสองชั่วโมงต้องเทให้ลูกค้า ไม่เช่นนั้นของจะเสีย จึงต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือ มีรถ มีคน (เน้น) ที่จะต้องไปให้บริการ จึงต้องปรับโมเดลของเรา

ส่วนรถเล็กคือแนวคิด "เก็บเล็กผสมน้อย" ยามยาก เก็บอะไรกินได้ก็กิน อย่าหยิ่ง คงจะช่วยให้เรารอดชีวิตได้ในช่วงนั้น ตอนที่คิด เหตุผลคือ 1) พบว่าใจกลางกรุงเทพฯ หรือใจกลางเมืองใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่ ลักษณะเมือง ถ้าใจกลางเมืองเลย ถนนหนทางไม่เป็นสัดเป็นส่วน มีซอยเล็กซอยน้อย และแม้แต่ใจกลางกรุงเทพฯ รถเล็กเราเข้าไปไม่ได้ เพราะรถมิกซ์มันใหญ่

เราบอกว่า รถโม่ซีแพคต้องเล็กและสั้นด้วย เข้าซอยได้จริงๆ มีทั้งรถกะบะ 4 ล้อ 6 ล้อ ก็คุยได้ว่าคงไม่มีใครในโลกเขาทำ เพราะวิธีการแตกต่าง เทคโนโลยีเรื่องคอนกรีตสามารถที่จะทำได้โดยไม่ต้องเอียง เพราะปัญหาสมัยก่อน ผู้ผลิตรถคิดว่าจะต้องเอียง เวลาหมุนโม่ ต้องใช้คาวิตี้ (แรงเหวี่ยง) คลุกเคล้า เวลาคายต้องตีให้หมุนแล้วคายออกมา นั่นคือรถเล็กของเรา ธรรมดา แบนๆ ไม่มีอะไร มิกเซอร์ก็ใช้ใบกวน

นั่นคือสมัยก่อนมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของคอนกรีต แต่ปัจจุบันมีน้ำยามาช่วยให้แข็งตัวช้าลง ทำให้ลดข้อจำกัดนี้ไปได้ หลังจากทำมาเสร็จ มีการทดลองตลาด พบว่าค่าใช้จ่ายเยอะ เพราะเดิมขนทีละ 5 คิว (ลูกบาศก์เมตร) เปลี่ยนมาขนทีละ 1 คิว โสหุ้ยค่าขนส่ง ต้องถามตลาดว่า ขายแพงกว่าตลาดจะซื้อไหม ทดแทนกับมาช่วยแก้ปัญหาคือรถใหญ่เข้ามาไม่ได้ ต้องซื้อปูนมาผสม วางฟุตบาทก็ไม่ได้ ดังนั้นราคาต้อง compensate ทดลองตลาด 1 ปี ตลาดเริ่มยอมรับ เพราะได้ความสะดวก โดยเราเริ่มทำตลาดเมื่อปี 2545

- ในแง่พัฒนาการ

รุ่นที่ใช้ทุกวันนี้เป็นเวอร์ชั่นสาม เวอร์ชั่นแรกเป็นเรื่องความคล่องตัว เพราะตำแหน่งงานก่อสร้างของลูกค้าเล็กๆ สมัยก่อนใช้วิธีเอารถกระบะมา เอาตัวมิกเซอร์ แล้วใช้ลากพ่วง แต่เวลาถอยไม่เป็นอันเดียวกัน ทำให้ค่อนข้างติดขัด

เราทดลองหลายครั้งจนเมื่อเราแน่ใจว่าตัวนี้ใช่แล้ว หลังจากนั้นก็เริ่มผลิต ปัจจุบันมี 400 เกือบ 500 คัน หลังจากมั่นใจว่ารถเล็กเริ่มเวิร์กแล้ว ก็คือกระจายออกไปตามหัวเมืองใหญ่

ยิ่งตอนหลังมาทำเรื่อง product customize ยิ่งหลากหลาย คอนกรีตซีแพคทำทั้งลานตากผลไม้ คอนกรีตชายฝั่งทะเล บ้านรังนก โปรดักต์กระจายไปอีกเยอะ

- ขั้นต่ำสุดที่จะให้บริการ

ออร์เดอร์ 1 คิว 2 คิวก็ไปส่งแล้ว ถ้าเทหนา 10 เซนติเมตรสำหรับปูน 1 คิวก็จะได้พื้นที่ประมาณ 10 ตารางเมตร รถโม่ของเราความจุจะเริ่มต้น 1-2 คิว ถ้าเป็นรถใหญ่ก็จะจุได้ 5-7 คิว - มีคู่แข่งหรือยัง

ตอนนี้ยังไม่มี ไม่ช้าเร็วก็คงจะมี แต่เราจดลิขสิทธิ์แล้ว อย่าทำแบบผมก็แล้วกัน

- รูปแบบแฟรนไชส์ซีแพค

คุณอยากลงทุนทำโรงงานเหมือนกับผม ก็มาซื้อเครื่องจักร โคกับเรา ใช้แบรนด์เรา สอนวิธีผลิต คุณขายสินค้าซีแพค คุณเป็นเจ้าของ ค่าใช้จ่ายสำหรับแฟรนไชซีก็มีตัวหลักๆ คือค่าเอ็นทรานซ์ฟี 3 แสนบาท ค่าลอยัลตี้ฟีอีก 2% ของเน็ตเซล อายุสัญญา 3 ปีต่อครั้ง

- คนนอกวงการเข้ามาได้ไหม

เดิมมีข้อแม้ว่าต้องเป็นผู้แทนจำหน่ายของเครือซิเมนต์ไทยเท่านั้น แต่ตอนหลังเริ่มเปิด เพราะมีบางโลเกชั่นที่มีวอยอยู่ แต่จะต้องไม่ให้ข้ามเขต รัศมีการตลาดอาจจะ 1 แพลนต์ต่อ 20-30 กิโลเมตร แต่ส่วนใหญ่เซตไว้ที่ 50 กิโลเมตร บางทีก็ขึ้นกับโลเกชั่น

แฟรนไชส์ซีแพคตอนนี้มีประมาณ 130 ราย สัดส่วนของคนนอกจะน้อยมาก เพราะเริ่มครั้งแรกจะเริ่มจากผู้แทนจำหน่าย มีจำนวน 100 กว่าราย ค่อยเปิดรับคนอื่น ต้องเรียนเหมือนกันว่าไม่ใช่อยากมาเป็นก็จะได้เป็น หลังจากเข้ามาต้องเทรนเยอะ ช่วงแรกหลักสูตร 6 เดือน ต้องสอนเขาทุกอย่าง ที่สำคัญต้องมีเงินลงทุนต่างหากอีกประมาณรายละ 10 ล้านบาท บวกลบ ส่วนขนาดพื้นที่ทำแพลนต์อย่างน้อยๆ ต้อง 6-7 ไร่

- จุดคุ้มทุน

การลงทุนต่อ 1 โรงงาน เคยประมาณการขายเดือนละ 600 คิว ภายใน 2 ปีมั้งก็น่าจะคุ้มทุน ขณะที่คาพาซิตี้มีตั้งแต่ 30 คิว-60-80-100-120 คิวต่อชั่วโมง แล้วแต่จะเอาขนาดไหน ส่วนใหญ่ต่างจังหวัดจะใช้ 60 คิวต่อชั่วโมง ในกรุงเทพฯส่วนใหญ่ 100 คิวอัพ หรือมากกว่า 50 คิว

- ความสำเร็จของนวัตกรรม

ที่เห็นชัดๆ คือเพิ่มยอดขาย ตอนวิกฤตยอดขาย 4,000 ล้านบาท ปีนี้คิดว่าจะขาย 18,000 ล้านบาท เบ่งตัวขึ้นมา ส่วนหนึ่งมาจากทำตัวเล็ก

- นวัตกรรมเชิงบริการ

ผมปรับโครงสร้างคน สร้าง sale force คนในโรงงาน เอาไปวิ่งในตลาด 200-300 คน จะมีปัญหาอีกก็คือเรื่องราคา ต้องกำหนด "ราคาเดียว" ทำแบบห้างสรรพสินค้า ไม่ให้ต่อ บอกราคาครั้งเดียวแล้วจบ แต่ต้องเซตราคามาตรฐาน จึงเป็นรีเทลไพรซ์ เว้นแต่งานขนาดใหญ่ จะมีมาร์เก็ตติ้งแมนเข้ามาดูแลเฉพาะ

ก็ยังมีปัญหาตามมาอีก ตกลงซื้อขายได้ บางทีซื้อสด จะเก็บเงินยังไง ใช้ผ่านแบงก์ก็ไม่สะดวกอีก จนตอนหลังมาใช้ผ่านเคาน์เตอร์เซเว่นอีเลฟเว่น ที่ตอนนั้นเขามีอยู่ 2,000 กว่าสาขา ต้องการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าด้วย คนของเราด้วย เพราะถือเงินแล้วเงินหายเขาต้องรับผิดชอบ เราโชคดี เพราะเมื่อมีเคาน์เตอร์เซอร์วิส เขาก็สนใจ พัฒนาคอมพิวเตอร์ให้ จ่ายเงินปุ๊บ ออนไลน์มาเข้าสำนักงาน

ไอทีออนไลน์ทำให้เริ่มกระจายการขาย และใช้วิธี "เทก่อน จ่ายทีหลัง 1 วัน" วอลุ่มจ่ายต่อครั้ง สำหรับซีแพคให้ถึงเก้าหมื่นบาทต่อบิล ผมมองว่าธุรกิจรูปแบบนี้ วิน-วิน-วิน ทั้งสามฝ่ายคือ ผู้รับเหมา-ผู้บริโภค-ซีแพค

- ตลาดขยายตัวได้แค่ไหน

ธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จเป็นเทรนด์ของตลาด มีตัวเลขสถิติว่า ประเทศที่เจริญแล้ว ซีเมนต์ทุก 100 ตัน จะมาใช้ในรูปของรีดดีมิกซ์มากกว่าร้อยละ 50 ส่วนประเทศเกาะ เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ใช้ร้อยละ 80 เปรียบเทียบกับบ้านเราเพิ่งจะใช้ร้อยละ 20 ยังมีโอกาสใช้มิกซ์ได้อีกเยอะ จากเดิมที่ไม่ได้ใช้เพราะโรงงานยังไม่มี คนก็เลยจำเป็นต้องซื้อซีเมนต์ถุง

ผมฝันถึงตลาดขนาดร้อยละ 50 (ส่วนแบ่งตลาด) เพราะผู้บริโภคมาถึงจุดหนึ่งจะรู้แล้วว่าควรจะใช้อะไรมาสร้างบ้านตัวเอง สร้างของคุณภาพเพื่อลูกเมียตัวเอง เชื่อว่าสักวันหนึ่งประเทศไทยน่าจะถึงวันนั้น

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 15-03-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.