| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 91 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 05-03-2550    อ่าน 11641
 มอเตอร์เวย์ 2 แสนล้าน กรมทางชูโมเดลใหม่ระดมทุน ปูพรม 4 ภาค 7 สายรวด

แม้ช่วงหลังกรมทางหลวงได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐลดน้อยลงทุกปี แต่ยังไม่ละความพยายามในการผลักดันก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ ที่มีเป้าหมายดำเนินการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

ล่าสุดได้มีการจัดทำแผนพัฒนาระบบโครงการมอเตอร์เวย์ระยะเร่งด่วน 5 ปี ระหว่างปี 2550-2554 ขึ้น 7 สาย ระยะทาง 1,116 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 213,238 ล้านบาท (ดูตารางประกอบ)

นายทรงศักดิ์ แพเจริญ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมทางหลวง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ในการพัฒนาระบบ มอเตอร์เวย์ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 ภาค ในรัศมีห่างจากกรุงเทพฯออกไป 250 กิโลเมตร

สำหรับวิธีการก่อสร้าง อธิบดีกรมทางหลวงชี้แจงว่า จะไม่ใช้เงินงบประมาณมาก่อสร้างมากเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากงบประมาณมีไม่เพียงพอ จะเปลี่ยนมาใช้เงินลงทุนจากที่อื่นแทน โดยจะใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ของสาย 7 และ 9 ที่ได้มาจากการจัดเก็บค่าผ่านทาง ปัจจุบันเงินก้อนนี้มีอยู่ประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท ที่เหลือจะระดมทุนด้วยการออกพันธบัตร ซึ่งจะทำให้โครงการเกิดได้เร็วขึ้น

"เราจะมาใช้วิธีการแบบเก่าๆ เช่น ให้สัมปทานกับเอกชน คงจะไม่ประสบความสำเร็จแน่ เพราะเม็ดเงินการลงทุนแต่ละสายค่อนข้างสูง ดูจากโครงการบางใหญ่-บ้านโป่ง เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอมา 2-3 ครั้งแล้ว แต่ยังไม่มีเอกชนรายไหนสนใจลงทุน ผมคิดว่าวิธีการแบบใหม่นี้น่าจะไปได้สวย เพราะเมื่อก่อสร้างเสร็จ ก็สามารถนำเงินจากค่าผ่านทางที่จัดเก็บได้มาชำระหนี้"

นายทรงศักดิ์กล่าวต่อว่า โครงการมอเตอร์เวย์ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรแล้ว ยังทำให้การเดินทางรวดเร็วขึ้น และเป็นการเชื่อมโยงการพัฒนาพื้นที่ในภาคต่างๆ ที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ให้มีการขนส่งที่สะดวกมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนนโยบายเรื่อง ลอจิสติกอีกทางหนึ่ง

อย่างเช่น สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา- มาบตาพุด เป็นเส้นทางรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก สนับสนุนความเป็นศูนย์กลาง ลอจิสติก เชื่อมโยงสนามบินสุวรรณภูมิ ท่าเรือแหลมฉบัง มาบตาพุด นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งสินค้า เป็นประตูสู่สากล รวมทั้งช่วยสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวอย่างเมืองพัทยา ชลบุรี และระยอง เป็นต้น

สายวงแหวนรอบนอกตะวันออก หรือทางหลวงหมายเลข 9 ซึ่งกรมกำลังปรับปรุงช่วงบางพลี-รามอินทรา และช่วงรามอินทรา-บางปะอินให้เป็นทางพิเศษ รองรับการพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในการแก้ไขปัญหาการจราจร รวมทั้งสนับสนุนความเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติก

สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา เป็น เส้นทางสู่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุนการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันศึกษาความเหมาะสมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว และอยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบรายละเอียด ขั้นตอนต่อไปจะเตรียมขอออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้าง

สายนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ เส้นทางสู่ภาคใต้และภาคตะวันตก เพื่อให้มีทางเลือกในการเดินทางสู่ภาคใต้ นอกเหนือจากถนนเพชรเกษม และสนับสนุนการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภาคใต้ ที่สำคัญเป็นการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่หัวหินและชะอำ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2550

สายบางใหญ่-บ้านโป่ง และบ้านโป่ง-กาญจน บุรี จะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงสู่ภาคตะวันตกและภาคใต้ สนับสนุนการพัฒนา western-seaboard สนับสนุนการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ปัจจุบันได้ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้วเช่นเดียวกัน

สายบางปะอิน-นครสวรรค์ เป็นเส้นทางสู่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นหัวเมืองหลักของภาคกลางและภาคเหนือ อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยจะปรับปรุงเป็นมอเตอร์เวย์ ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ขยายเป็น 8 ช่องจราจรแล้ว เส้นนี้จะเชื่อมโยงจากกรุงเทพฯสู่ภาคเหนือ สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ

โครงการถนนวงแหวนรอบนอก ชั้นที่ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางรอบกรุงเทพฯ เป็นการรองรับการพัฒนาบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นโครงการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร อำนวยความสะดวกด้านการเดินทางขนส่งสินค้า อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม

แม้จะเป็นแผนระยะเร่งด่วน แต่หลายคนยัง คาใจว่า กรมทางหลวงจะผลักดันได้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่

แต่อธิบดีกรมทางหลวงย้ำอย่างหนักแน่นว่า ทั้ง 7 สายนี้ สายไหนที่ก่อสร้างได้ จะก่อสร้างไปเลย ดูแล้วที่น่าจะเสร็จก่อนคือ สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด และสายวงแหวนรอบนอกตะวันออก เพราะแค่ปรับปรุงขยายช่องทางให้เป็น 8 ช่องจราจร ทำผนังกั้น ติดตั้งระบบเก็บเงิน และทำทางคู่ขนานไว้สำหรับคนที่ใช้ทางธรรมดาก็เสร็จเปิดให้บริการได้

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 05-03-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.