| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 180 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-03-2550    อ่าน 11379
 เรตติ้ง "ปูนใหญ่" สะท้อนความแข็งแกร่ง ฟิทช์ฯคงอันดับ "A+(tha)"

แม้เศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในภาวะชะลอตัวจากปัจจัยลบหลายด้าน โดยเฉพาะต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น แต่ปี 2549 ที่ผ่านมา ถือว่า บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ "SCC" ยังโชว์ตัวเลขผลประกอบการค่อนข้างดี แม้มีกำไรสุทธิ 29,451 ล้านบาท ลดลง 9% จากช่วงเดียวกันของปี 2548 ขณะที่ยอดขายรวม 258,175 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการทำตลาดของยักษ์ใหญ่ค้าวัสดุก่อสร้างเป็นอย่างดี

ล่าสุด บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศ (national ratings) ระยะยาว และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของ SCC ที่ "A+(tha)" และ "F1(tha)" แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ ซึ่งครอบคลุมถึงอันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่มีหลักประกัน และไม่ด้อยสิทธิของ SCC ที่ยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอน

ขณะเดียวกัน ฟิทช์ฯจัดอันดับเครดิตแก่หุ้นกู้ไม่มีหลักประกันไม่ด้อยสิทธิชุดใหม่ของ SCC (ครั้งที่ 1/2550) มูลค่าไม่เกิน 1.5 หมื่นล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2554 ที่ระดับ "A+(tha)" ซึ่งเงินที่ได้รับจากหุ้นกู้ชุดใหม่จะนำมาใช้ชำระคืนหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระและนำไปลงทุนในโครงการต่างๆ

สะท้อนให้เห็นว่า SCC มีการกระจายตัวของรายได้ที่ดี และเป็นผู้นำที่ยังครองส่วนแบ่ง ตลาดในธุรกิจหลัก มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าในประเทศ และมีความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะคงอัตราส่วนหนี้สินไว้ในระดับค่อนข้างต่ำใน ระยะยาว

การที่ SCC มีความสามารถระดมทุนจากตลาดตราสารหนี้ในประเทศสูง ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนความสามารถในการชำระหนี้และความคล่องตัวทางการเงินอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเผชิญกับส่วนต่างกำไรที่ลดลงอันเป็นผลมาจากต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น และได้รับผลกระทบจากบริษัทประกอบกิจการในอุตสาหกรรมมีอุปทาน (กำลังผลิต) ส่วนเกินจำนวนมากและแข่งขันรุนแรง

ประกอบกับ SCC ประกาศปรับแผนการลงทุนระหว่างปี 2550-2553 มาอยู่ที่ 9.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%

ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มเงินลงทุนในโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2 และโครงการปิโตรเคมีปลายน้ำ โครงการสร้างโรงงานผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์แห่งใหม่ในเวียดนาม และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตธุรกิจปูนซีเมนต์

การมีแผนลงทุนขนาดใหญ่ส่งผลให้สถานะทางการเงินมีแนวโน้มลดความแข็งแกร่งลงในช่วง 2 ปีข้างหน้า แต่น่าจะสามารถรักษาอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกำไร จากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย และค่าเช่า (Net Debt-to-EBITDAR) ให้อยู่ในเป้าหมายระยะยาวที่ระดับ 2.5 เท่าได้

ส่วนปัจจัยความเสี่ยงอื่น มีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน (execution risk) จากการลงทุนใหม่ และการค้ำประกันหนี้ให้แก่บริษัทร่วม แม้ภาระค้ำประกันหนี้ดังกล่าวได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะลดระดับหนี้สินลง โดยขายเงินลงทุนในธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป

ทั้งนี้ ในปี 2549 SCC มียอดขายสุทธิ 2.58 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18% และมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย และค่าเช่า (EBITDAR) (ก่อนเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม) 4.59 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.7% เทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมี และการรวมผลประกอบการของบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ "TPC" เข้าไว้ในงบการเงินรวมของบริษัท รวมถึงยอดขายที่เติบโตขึ้นของธุรกิจซีเมนต์และธุรกิจกระดาษ เมื่อรวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม ในปี 2549 บริษัทมี EBITDAR 5.32 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.4%

อย่างไรก็ตาม SCC มีอัตราส่วนการทำกำไร ในปี 2549 ลดลง เนื่องจากมีต้นทุนพลังงานในกลุ่มธุรกิจซีเมนต์เพิ่มขึ้น และการรวมผลประกอบการของ TPC ซึ่งมีอัตราส่วนการทำกำไรต่ำกว่าของ SCC

โดยสรุปมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่าย และค่าเช่าต่อยอดขาย (EBITDAR Margins) ในปี 2549 18% ลดลงจากปี 2548 ซึ่งอยู่ที่ 20%

อย่างไรก็ตาม แม้ปริมาณหนี้สินสุทธิใน ปี 2549 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.03 แสนล้านบาท จากปี 2548 อยู่ที่ 1.01 แสนล้านบาท

แต่อัตราส่วน Net Debt-to-EBITDAR ของ SCC ในปี 2549 กลับลดลงเล็กน้อยจาก 2.3 เท่า เหลือ 2.2 เท่า อันเป็นผลจาก EBITDAR ที่แข็งแกร่ง เมื่อรวมเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทร่วม ส่งผลให้อัตราส่วน Net Debt-to-EBITDAR ของในปี 2549 ปรับลดลงเหลือ 1.9 เท่า จากปีก่อนอยู่ที่ 2.0 เท่า

แม้การประกาศเพิ่มแผนลงทุนอาจส่งผลให้สถานะทางการเงิน SCC มีแนวโน้มลดความ แข็ง แกร่งลง และอาจทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลง แต่ฐานของ EBITDAR ที่คาดว่าจะแข็ง แกร่งขึ้นจากการเพิ่มกำลังการผลิต น่าจะช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทลงได้ในระยะยาว

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 01-03-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.