| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 75 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 22-02-2550    อ่าน 11382
 เปิดยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัย รัฐเร่งบูรณาการบ้านผู้มีรายได้น้อย

เกาะขอบเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "ยุทธศาสต์ชาติเพื่อที่อยู่อาศัย" (NATIONAL HOUSING STRATEGY) เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่ง ชาติสิริกิติ์ จัดโดยการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ถือเป็นจุดเริ่มต้นวางกรอบเรื่องที่อยู่อาศัยแบบบูรณาการมากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้แนวทางการพัฒนาขาดความต่อเนื่องและความชัดเจน เนื่องจากการดำเนินการส่วนใหญ่มักเป็นไปตามนโยบายทางการเมือง

ครั้งนี้ วางเป้าหมายเพื่อใช้เป็น "เข็มทิศ" ของการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งระบบในระยะ 5-10 ปี เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหากเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม โดยการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลากหลายองค์กรและวิชาชีพ

"หม่อมอุ๋ย" ชูปรัชญาพอเพียง

"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แสดงความเห็นว่า ยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยมีประเด็นพิจารณาในหลายแง่มุม ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดในยุคนี้คือเรื่องของ "ความพอดี" หมายถึงความพอดีในทุกๆ ด้าน โดยไม่ทำให้ผู้ซื้อเป็นหนี้สินเกินกำลังความสามารถที่จะต้องผ่อนชำระ และต้องเน้นสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนโดยที่ไม่กระตุ้นให้ผู้ซื้อเกิดความอยากได้เกินกำลังที่มี เหมือนกับที่ผู้ประกอบการเอกชนทำอยู่ในขณะนี้

"สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กระบวนการบริหารจัดการที่ดี มีคุณธรรม ไม่โกงกิน และใช้เครื่องมือที่มีอยู่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ฝืนและบิดเบือนกลไกตลาด"

"ปรีดิ์ บูรณศิริ" อดีตผู้ว่า กคช. ในฐานะประธานคณะกรรมการประเมินผล กคช. มองว่า ในระบบการจัดการที่อยู่อาศัยโดยเอา อุปสงค์และอุปทานเป็นพื้นฐานจะพบว่ายังไม่สามารถที่จะเขียนนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติออกมาในระยะยาวได้ จนกว่าอุปสงค์และอุปทานจะถูกบริหารจัดการให้มีทิศทางที่ชัดเจน นอกจากนี้ สิทธิครอบครองจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดดีมานด์ โดยรัฐต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อส่งเสริม เช่น สนับสนุนเรื่องของภาษี และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น

ยกระดับบทบาท กคช.ต้องเปิดกว้าง

ขณะที่ "ขวัญสรวง อติโพธิ" กรรมการ กคช. มองว่า ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อที่อยู่อาศัยถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน มีความหลากหลายและมีความเชื่อมโยงกับหลายกลุ่ม หลายระดับ หลากหลายอาชีพ ตั้งแต่การวางผัง ทำเลที่ตั้ง ดังนั้นงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนบันไดขั้นแรกของความร่วมมือในทุกภาคส่วน โดยในแต่ละส่วนต้องมีบทบาทที่ชัดเจนให้มากที่สุด พร้อมเปิดรับฟังความเห็นได้แง่มุมที่หลากหลายและเกิดการประสานของมติในการพัฒนาให้เกิดผลสำเร็จแบบไล่เลี่ยกันไป

"บทบาทของ กคช.ต่อไปจะต้องเป็นเหมือนสภากาแฟที่เปิดรับฟังทุกความคิดเห็นเพื่อนำไปวางแผนพัฒนา"

สำหรับแนวคิดที่จะนำไปกำหนดยุทธศาสตร์จากการทำเวิร์กช็อปในครั้งแรกนี้ สามารถสรุปได้หลากหลายมิติ ได้แก่ ภาครัฐต้องมีการขับเคลื่อนในการแก้ไขกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาที่มีชุมชนเป็นหลัก และปรับบทบาทหน้าที่ของ กคช.ให้สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงได้

ผลเวิร์กช็อปแก้ กม.เพิ่มความยืดหยุ่น

ทั้งนี้ การพัฒนาที่อยู่อาศัยจะต้องสะท้อนความต้องการที่หลากหลาย และให้ชุมชนร่วมออกแบบโดยภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วม อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ต้องมีความยืดหยุ่น และใช้วิธีการที่แตกต่างกัน ไม่ใช้สูตรเดียว ซึ่งจะสนองตอบสังคมในส่วนรวมเนื่องจากปัญหามีหลากหลายมิติ

"การพัฒนาที่อยู่อาศัย ความสำคัญที่จะทำให้ดีไม่ดีได้อยู่ที่วางผังเมือง ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากแล้ว แต่ควรให้มีความชัดเจนของเมืองให้มากขึ้น เช่น สนับสนุนไปตามแคแร็กเตอร์ของเมืองนั้นๆ ขณะเดียวกันระบบสาธารณูปโภคก็ต้องมีความพร้อม"

"อย่างไรก็ตาม การวางผังเมืองที่ผ่านมาไม่ได้มองเรื่องธรณีวิทยาเป็นหลัก มองเพียงกายภาพเท่านั้น ต่อไปหากจะพัฒนาตรงนี้น่าจะให้ความสำคัญ นอกจากนี้การถ่ายโอนอำนาจไปยังท้องถิ่นยังขาดองค์ความรู้ทางด้าน city plan และควรใช้กลไกผังเมืองที่มีอยู่ให้ครบถ้วน ส่งเสริมให้ท้องถิ่นสามารถใช้อำนาจที่มีอยู่หรือกฎหมายที่จำเป็นได้มากขึ้น" พวงเพ็ญ วิบูลย์สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญ คณะสถาปัตยกรรมผังเมืองและนฤมิตรศิลป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวแสดงความเห็น

ตบท้ายด้วย "กิตติ พัฒนพงศ์พิบูลย์" ผู้นำกลุ่มการเงิน มองว่า ระบบการเงินที่เป็นอยู่ในปัจจัจุบันต้องถามตัวเองก่อนว่าพร้อมที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของที่อยู่อาศัยแล้วหรือไม่ ? โดยเฉพาะการจัดหาแหล่งเงินกู้ต้นทุนต่ำและอัตราดอกเบี้ยระยะยาว สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากระบบการเงินไทยยังไร้ประสิทธิภาพและขาดความเข้มแข็ง

"วันนี้เราพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง เพราะการให้กู้ของระบบปัจจุบันมีปัญหา ดังนั้นต้องเอาปัญหาขึ้นมาแล้วหาทางแก้ไข เพื่อหาโซลูชั่นหรือวิธีแก้ให้ได้"

จากนี้ไปคงต้องมีการระดมความคิดกันอีกหลายยก กว่าจะออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม...!

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 22-02-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.