| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 156 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 08-02-2550    อ่าน 11469
 กูรูชี้ทิศธุรกิจรับเหมาปีหมู แนะทางออกในยุคต้องปรับตัว

เกาะติดเวทีสัมมนา "ก่อสร้างปีหมู...จะทำให้หมู...ได้อย่างไร" จัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่มี "พลพัฒ กรรณสูต" บิ๊กบอสจากกลุ่มเนาวรัตน์พัฒนาการเป็นหัวเรือใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้ ว่ากันว่าสาระสำคัญเพื่อช่วยกันเสนอทางออกให้กับผู้รับเหมาในยามวิกฤต (เศรษฐกิจ)

เปิดประเด็นด้วยมุมมองภาครัฐ "อร่าม ก้อนสมบัติ" รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มอนิเตอร์การใช้จ่ายงบประมาณของกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับภาคก่อสร้าง รวมถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทาง

รองอร่ามให้ข้อมูลเชิงตัวเลขว่า ในปี 2550 กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น 9.7 หมื่นล้านบาท แยกเป็นงบฯประจำกว่า 3.1 หมื่นล้านบาท งบฯผูกพันกว่า 3.2 หมื่นล้านบาท และงบฯลงทุนใหม่กว่า 3.3 หมื่นล้านบาท กระจายไปตามหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวง

แน่นอนว่าพอร์ตใหญ่สุดอยู่ที่ "กรมทางหลวง" ได้รับงบประมาณรวม 4.5 หมื่นล้านบาท หรือ 46% จากงบประมาณรวม ในจำนวนนี้เป็นงบฯที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยตรง เช่น โครงการตัดถนนสายหลักกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ "กรมทางหลวงชนบท" รับผิดชอบถนนสายรองในต่างจังหวัดได้รับงบประมาณกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท หรือ 18% จากงบประมาณรวม โดยกันเป็นงบฯสำหรับโครงการก่อสร้าง 8,700 ล้านบาท ที่เหลือเป็นงบฯผูกพันที่ใช้กับโครงการก่อสร้างต่อเนื่องจากปีก่อน

ประกวดราคารถไฟฟ้า 2 สาย พ.ค.นี้

ไฮไลต์ของกระทรวงคมนาคมหนีไม่พ้นเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้า 5 สายทาง รวมระยะทาง 118 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 1.65 แสนล้านบาท เป็น "เค้ก" ที่วงการรับเหมาร้องเพลงรอหลายตลบแล้ว ผลคืบหน้าที่เล่าสู่กันฟังบนเวทีสัมมนาแม้จะเป็นข้อมูลเดิมๆ แต่ก็ได้รับความสนใจสูง คาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะเริ่มดำเนินการประกวดราคาก่อน 2 สายทางคือ สายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะทาง 15 กิโลเมตร และสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ระยะทาง 23 กิโลเมตร รวมมูลค่าโครงการ 4 หมื่นล้านบาท

ฮอตอิสชูในภาวะเศรษฐกิจสาละวันเตี้ยลงแบบนี้ ก็คือประเด็นแหล่งเงินทุนที่จะใช้รันโครงการ มีความคืบหน้าล่าสุดอยู่ระหว่างรอข้อสรุปการจัดหาแหล่งเงินทุน มีด้วยกัน 2 วิธีคือ 1) ใช้เงินกู้ในประเทศด้วยการออกพันธบัตร กับ 2) กู้เงินจาก เจบิก โดย "หม่อมอุ๋ย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ และรัฐมนตรีคลัง เตรียมเดินทางไปเจรจาเงื่อนไขด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นภายในกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรักคาดว่าจะได้คำตอบชัดเจนในเรื่องนี้

ทั้งนี้กรณีใช้เงินกู้เจบิกจะต้องพ่วงออปชั่นในการประกวดราคาในรูปแบบ international competitive bidding (เงื่อนไขในการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติร่วมประมูลแข่งขันได้) ดังนั้นอาจจะไม่สามารถประกวดราคาได้ทันภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เนื่องจากออปชั่นในการประกวดราคาแบบนี้จะมีขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอีกพอสมควร นี่คือข้อมูลที่ส่งสัญญาณแก่ผู้รับเหมาโดยตรง

โครงการก่อสร้างอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่จากศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท ตามแผนงานถ้าไม่มีเหตุการณ์พลิกผันคาดว่าจะประกวดราคาได้ในเดือนพฤษภาคมนี้ นอกจากนี้มีโครงการท่าเรือเชียงแสน 2 ระหว่างปากแม่น้ำกก-แม่น้ำโขง เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนสินค้าระหว่างอำเภอเชียงแสน-ท่าเรือกวนเล่ย ในมณฑลหยุนหนานประเทศจีน คาดว่าจะเริ่มประกวดราคาได้ภายในช่วงปลายปีนี้

ปัจจัยบวกยังมี แต่วงเงินกู้ไม่หมู !

ถัดมาที่มุมมองของนายแบงก์ "ศรัณย์ทร ชุติมา" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ว่า ปีหมูปีนี้ยังมีปัจจัยเชิงบวกต่อธุรกิจรับเหมาอยู่พอสมควร หลักๆ เลยก็คือประเด็นอัตราดอกเบี้ย หลายฝ่ายคาดว่าทั้งปีจะปรับลดลง 0.5% ขณะที่ส่วนตัวมองว่ามีโอกาสปรับลดลงประมาณ 1% ผสมโรงเข้ากับการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าวน่าจะทำให้ผู้รับเหมาต่างชาติที่เข้ามาแย่งงานมีจำนวนลดลง ประเมินในภาพรวมแล้วจึงเชื่อว่าสถานการณ์ธุรกิจรับเหมาในปีนี้ยังพอเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์อยู่บ้าง

"โดยรวมธนาคารมองว่าภาคธุรกิจก่อสร้างปีนี้มีโอกาสขยายตัวในอัตรา 4.8% ใกล้เคียงกับอัตราเติบโตจีดีพีที่คาดการณ์ไว้ 4.5% โดยจะเห็นภาพชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังเนื่องจากโครงการรถไฟฟ้า 2 สายทางที่เปิดประกวดราคาน่าจะเห็นลงมือก่อสร้างได้ รวมถึงมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า IPP ของกระทรวงพลังงานที่ประมาณการใช้งบฯก่อสร้างอีกไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาท ล้วนแต่เป็นปัจจัยบวกทั้งสิ้น"

แนวโน้มปัจจัยบวกดังกล่าว วิสัยทัศน์ของสถาบันการเงินเกี่ยวกับเกณฑ์การพิจารณาปล่อยเงินกู้ผู้รับเหมาก่อสร้างจะเป็นอย่างไร "ศรัณย์ทร" ตอบว่า จะพิจารณาจาก 1) งบการเงิน และ 2) เป็นงานก่อสร้างที่บริษัทมีความชำนาญหรือไม่

คาถาสำหรับต่อสู้ศึกเศรษฐกิจในปีหมู ทางผู้บริหารแบงก์ไทยพาณิชย์ให้คำแนะนำดังนี้ 1) ผู้รับเหมาทั้งรายกลาง-รายใหญ่ควรปรับตัวโดยเจาะตลาดรับเหมาในต่างประเทศมากขึ้น โดยมีตลาดที่น่าสนใจคือ "อาบูดาบี" เมืองหลวงแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ปัจจุบันพบว่าเป็นช่วงขาขึ้น มีโครงการก่อสร้างเกิดขึ้นมากมายไม่แพ้เมืองดูไบ โดยเฉพาะโรงแรมขนาดใหญ่ 2) ผู้รับเหมาควรเลือกรับงานที่มีความชำนาญเพื่อเลี่ยงการขาดทุน และ 3) ไม่รับงานเกินตัวเพราะอาจทำให้มีปัญหาขาดสภาพคล่องได้

ขานรับทันทีสำหรับ "สมยศ สมวิวัฒน์ชัย" อดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีตไทย และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยูนิคอน โปรดักส์ จำกัด ร่วมแจมมุมมองในฐานะผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างว่า ปีที่ผ่านมาตลาดเสาเข็มที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ดีและมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่อง ต่างจากเสาเข็มในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวลงถึง 40% แนวโน้มปีหมูคาดว่าเสาเข็มในภาคธุรกิจอสังหาฯยังคงหดตัวต่อเนื่องอีก แต่สถานการณ์จะผ่อนคลายกว่า คาดว่าหดตัวไม่เกิน 10% ตามแนวโน้มธุรกิจอสังหาฯที่เปิดตัวโครงการใหม่ลดลง

"จากแนวโน้มดังกล่าว กลุ่มผู้ประกอบการเสาเข็มจึงเริ่มรวมตัวกันเพื่อออกไปรับงานตอกเสาเข็มในต่างประเทศ ซึ่งเมืองดูไบก็เป็นตลาดเป้าหมายสำคัญและผลตอบแทนสูง"

เตือนเมกะโปรเจ็กต์ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

"ภูมิสัน โรจน์เลิศจรรยา" อดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็นแอล ดีเวลลอป เมนต์ จำกัด (มหาชน) วิเคราะห์ถึงธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในปีหมูว่า ปัญหาที่ผู้รับเหมาต้องเจอในปีนี้ไม่พ้นปัญหาเดิมคือ 1) แรงงานขาดแคลน 2) ราคาวัสดุก่อสร้างขาขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ผลิตใช้วิธีส่งออกแทนการแข่งขันตัดราคา ดังนั้นผู้รับเหมาจะต้องบริหารกระแสเงินสด ในมืออย่างรอบคอบเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดสภาพคล่อง

เมื่อลงรายละเอียดวงการรับเหมา ปัจจุบันสามารถแบ่งผู้รับเหมาออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่รับงานราชการ กลุ่มรับงานเอกชน และกลุ่มรับงานทั้งราชการและเอกชนซึ่งมีจำนวนน้อย โดยกลุ่มที่รับงานราชการปีนี้แนะนำให้ดำเนินธุรกิจแบบประคองตัวหรือเพลย์เซฟ เนื่องจากแม้จะมีการเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้า 2 สายทางได้ในช่วงปลายปีนี้ แต่กว่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างและมีเม็ดเงินเข้ามาสร้างรายได้ให้บริษัทคงเห็นผลใน ปี 2551

ส่วนผู้รับเหมาที่รับงานเอกชน แม้จะมีโครงการก่อสร้างอาคารสูงประเภทคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นทดแทนงานก่อสร้างบ้านจัดสรรที่ชะลอตัว แต่ก็เริ่มมีการตั้งข้อสังเกตว่า ลูกค้าที่ซื้อห้องชุดในโครงการตึกสูงเหล่านี้ ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงหรือซื้อเพื่อเก็งกำไร กรณีเป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไรก็อาจเกิดปัญหาตามมาภายหลังและกระทบเป็นลูกโซ่ถึงผู้รับเหมาได้

"ณัฐพร ชุติมา" กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท พรหมวิวัฒน์ จำกัด ฉีกประเด็นสัมมนา มาสู่หัวข้อการผลักดัน "สภาก่อสร้าง" ขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลด้านมาตรฐานวงการรับเหมาก่อสร้าง สาเหตุเพราะต้องยอมรับว่ายังมีผู้รับเหมา จำนวนหนึ่งที่เข้ามาทำธุรกิจโดยไม่มีความเป็นมืออาชีพ ในอนาคตอาจมีข้อกำหนดให้บริษัท รับเหมาต้องมีวิศวกรและสถาปนิกประจำบริษัท เพื่อควบคุมและยกระดับบริษัทรับเหมาให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 08-02-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.