| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 92 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 05-02-2550    อ่าน 11746
 อานิสงส์ E-W Corridor ที่ดินบูมรับขนส่ง-ท่องเที่ยว

อาจจะเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง แต่น้อยคนที่จะทราบรายละเอียดโครงการขนส่งสินค้าตามแนวเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก หรือ East-West Economic Coridor ที่ประเทศไทยมุ่งมั่นจะผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม และจะใช้เส้นทางสายนี้เป็นประตูเศรษฐกิจการค้าสู่ภูมิภาคเอเชีย แถบญี่ปุ่น จีน เกาหลี ฯลฯ

เพิ่งจะมีโอกาสได้สัมผัสจริงๆ เมื่อสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำสื่อมวลชนหลายแขนงไปเยี่ยมชมแนวเส้นทางโครงการ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาแนวทางตะวันออก-ตะวันตกเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน

เริ่มจากด่านชายแดนไทย บริเวณสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร ที่เพิ่งเปิดใช้ไปหมาดๆ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา ด้วยวงเงินก่อสร้าง 4,753 ล้านบาท วิ่งข้ามแม่น้ำโขง ไปยังแขวงสะหวันนะเขตประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

จากนั้นเดินทางไปตามแนวเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอินโดจีน

ไปยังด่านลาวบาว ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในเขตชายแดนระหว่างประเทศลาวและเวียดนาม จากนั้นเดินทางต่อไปตามแนวเส้นทาง ผ่านเมืองดองฮา เมืองเว้ สู่จุดหมายปลายทางที่เมืองดานัง เมืองท่าชายฝั่งที่สำคัญของเวียดนาม รวมระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางเกือบ 10 ชั่วโมง

แนวเส้นทางของการขนส่งสินค้าตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ตามแผนพัฒนานั้น มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่เมืองริมหาด หรือเมาะละแหม่ง ในประเทศพม่า ต่อไปยังเมียวดี บริเวณชายแดน ข้ามมายังฝั่งไทย ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มุ่งสู่จังหวัดพิษณุโลก แล้วต่อไปยังจังหวัดขอนแก่น จนถึงจังหวัดมุกดาหาร แล้วข้ามแม่น้ำโขงไปยังแขวงสะหวัน นะเขตประเทศลาว และเข้าสู่ประเทศเวียดนาม และสิ้นสุดที่เมืองดานัง รวมระยะทาง 1,600 กิโลเมตร

ด้วยสภาพพื้นที่ ที่ต้องผ่านภูเขาลูกแล้วลูกเล่า สภาพถนนที่ชำรุดทรุดโทรม ประกอบกับระยะทางที่ค่อนข้างยาวไกล จึงเกิดคำถามมากมายว่า เส้นทางนี้เหมาะที่จะผลักดันให้เป็นเส้นทาง ลอจิสติก เพื่อขนส่งสินค้ามากน้อยแค่ไหน และ จะไปถึงฝั่งฝันหรือไม่

อีกนานกว่าจะเป็น "ลอจิสติก"

"อร่าม ก้อนสมบัติ" รองผู้อำนวยการ สนข. ยอมรับว่า ต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรในการที่จะให้เส้นทางนี้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าได้ เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ยังไม่เอื้อ อย่างเช่น ปัจจุบันประเทศเวียดนามเองยังไม่ยอมให้รถขนสินค้าวิ่งผ่านแดนเข้าไป ซึ่งในส่วนนี้ประเทศลาวจะต้องเจรจากับเวียดนาม เพื่อให้ผ่อนปรนกฎเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการประกันภัยอุบัติเหตุ เพราะหลักปฏิบัติในการเดินรถแต่ละประเทศแตกต่างกัน มีทั้งขับชิดซ้าย ชิดขวา รวมทั้งภาคเอกชนเองก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะให้การตอบรับโครงการดังกล่าวหรือไม่ อาจจะต้องมีการใช้มาตรการจูงใจหลายๆ อย่าง แต่ถ้าพูดถึงศักยภาพแล้ว การขนส่งสินค้าจากภาคอีสานไปยังท่าเรือดานังจะใกล้กว่าขนส่งจากท่าเรือแหลมฉบังถึง 20% ทำให้ช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้มาก

"ตอนนี้สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 เปิดใช้บริการแล้ว แต่รถที่เข้ามาใช้บริการยังมีอยู่แค่ประมาณ 300 กว่าคันต่อวัน ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ 600 คันต่อวัน คงใช้เวลาอีกครึ่งปีกว่าปริมาณรถยนต์จะเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่ใช้บริการส่วนใหญ่จะเคยใช้บริการแพข้ามฟากมาก่อน" นายอร่ามกล่าว

โครงข่ายถนนยังขาดช่วง

อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ของโครงการตะวันออก-ตะวันตก นอกจากจะติดปัญหาเรื่องการวิ่งรถขนสินค้าผ่านเข้าไปยังประเทศเวียดนามแล้ว ปัจจุบันโครงข่ายยังไม่สมบูรณ์แบบ ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เชื่อมโยงระหว่างไทยและลาวแล้ว

เพราะแนวเส้นทางบางจุดยังขาดช่วงอยู่ อย่างจากเมียวดีไปยังเมาะละแหม่ง ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของประเทศพม่า ปัจจุบันยังไม่มีงบประมาณก่อสร้าง หากก่อสร้างเสร็จ จะทำให้โครงข่ายของแนวเส้นทางขนส่งตะวันออก-ตะวันตก มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เนื่องจากการขนส่ง จากเมืองเมาะละแหม่งจะสามารถเชื่อมโยงไปสู่ทะเลอันดามันได้ ทำให้การขนส่งสินค้ามีทางเลือกมากขึ้น

สอดคล้องกับแนวคิดของ "ไมตรี ศรีนราวัฒน์" ผู้อำนวยการ สนข. ที่บอกว่า ปัจจุบันแนวเส้นทางของการขนส่งสินค้าตะวันออก-ตะวันตก ยังไม่สมบูรณ์ ยังขาดในส่วนของพื้นที่ฝั่งพม่า แต่เมื่อถนนสร้างเสร็จเมื่อไร จะเกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้าได้มากขึ้น รวมทั้งการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าก็จะเกิดขึ้นได้เร็ว

"ระหว่างรอให้เส้นทางลอจิสติกสมบูรณ์ ที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ หลังจากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เปิดใช้ คือ เรื่องการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากมุกดาหารมายังลาวไปเวียดนาม เพราะใช้เวลาเดินทางเพียงแค่วันเดียว หรือประมาณ 5-6 ชั่วโมง"

เหมาะเป็นเส้นทางท่องเที่ยว

ขณะที่ "ปณิธิ อุทัยรัตน์" อัครราชทูตที่ปรึกษา ฝ่ายการพาณิชย์ ประจำประเทศเวียดนาม กล่าวว่า เส้นทางการขนส่งตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการขนส่งสินค้าจากประเทศเวียดนามไปยังประเทศญี่ปุ่น จีน เป็นต้น เป็นการเปิดตลาดให้กับสินค้าเกษตร ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่างๆ ขึ้น เช่น การแปรรูปสินค้าเกษตร ยางพารา ปัจจุบันมียางพาราจากไทยส่งออกไปเวียดนามเยอะมาก นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลทราย และสินค้าอื่นๆ อีกมาก แต่คงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง เพราะยังติดปัญหาหลายอย่าง

"การเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่เห็นชัดๆ ที่จะได้ประโยชน์คือ การท่องเที่ยว จากไทยไปเวียดนาม ทั้งในรูปแบบคาราวาน ทัวร์จะเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันคนเวียดนาม ก็จะเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้นด้วย ส่วน ในอนาคตจะมีนักลงทุนจากไทยไปลงทุนที่เวียดนามเยอะขึ้น เพราะมีต้นทุนต่ำกว่า เช่น ธุรกิจการ์เมนต์ เป็นต้น"

ราคาที่ดินพุ่ง 20-30%

ในอีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจ ราคาที่ดินที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อมีการสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 คือ เห็นได้จากราคาซื้อขายที่เพิ่มขึ้นมาโดยเฉียบพลัน โดยเฉพาะริมฝั่งแม่น้ำโขง ในส่วนของจังหวัดมุกดาหารเวลานี้มีการซื้อขายเปลี่ยนมือที่ดินกันอย่างคึกคัก

ปัจจุบันริมฝั่งแม่น้ำโขง เจ้าของที่ดินบางรายได้ปรับพื้นที่เพื่อเตรียมก่อสร้างรับกับธุรกิจต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา หลังจากสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 เปิดใช้บริการ ที่ฮิตสุดๆ คือ การก่อสร้างโกดังสินค้า

"แคล้ว ทองสม" ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน (ปท.) กรมธนารักษ์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ประเมินราคาเข้าไปสำรวจราคาซื้อขายที่ดินในจังหวัดมุกดาหาร บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงแล้ว เพื่อประเมินราคาที่ดินใหม่ เนื่องจากปัจจุบันมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันมาก เพราะหลังมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ทำให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นถึง 20-30%

ขณะที่ผังเมืองจังหวัดมุกดาหารก็ได้มีการศึกษาเพื่อจัดทำผังเสนอแนะ ชื่อว่า ผังชายแดน ขึ้นมา เพื่อให้สอดรับกับการเปิดใช้สะพาน ข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่จะเป็นย่านการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว โดยมีการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ หรือจัดโซนนิ่งการพัฒนาพื้นที่ใหม่ให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมการเกษตรที่ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมอาหาร การบริการ เป็นต้น ส่วนพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงจะพัฒนาเป็นพื้นที่สำหรับนันทนาการและ การพักผ่อนหย่อนใจ

ไม่ใช่แค่เปิดเส้นทางการค้าและท่องเที่ยวเท่านั้น แนวเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก ยังเป็นการเปิดการพัฒนาใหม่ๆ ตามแนวเส้นทางได้อีกด้วย

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 05-02-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.