| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 102 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-02-2550    อ่าน 11571
 ผ่าทางตันอสังหาฯปี"50 งัดแผนสำรองรับมือตลาดผันผวน

ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วสำหรับธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ "KK bank" ที่มีโปรแกรมจัดงานสัมมนาชี้ทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประจำปีขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี ในฐานะเป็นสถาบันการเงินที่มีพอร์ตสินเชื่อโครงการอสังหาฯ ในมือจำนวนมาก โดยเฉพาะสินเชื่อที่ปล่อยให้กับผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก

ปีนี้ "KK bank" เลือกหัวข้อ "สถานการณ์และการปรับตัว ของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปี"50" เป็นประเด็นหลักในการอภิปราย โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแสดงความคิดเห็น พร้อมกับวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดอสังหาฯ โดยรวมทั้งระบบ ซึ่งน่าสนใจไม่แพ้ปีก่อนๆ

เนื่องจากเนื้อหาสาระบวกกับข้อมูลที่เหล่าวิทยากรขนมาบอกเล่าให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานได้รับฟัง สามารถนำไปประกอบการการตัดสินใจลงทุนได้เป็นอย่างดี ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการลงทุน

ตลาดผันผวนต้องมีแผนสำรอง

"รศ.มานพ พงศทัต" อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์สถานการณ์ภาคธุรกิจอสังหาฯ และแนวโน้มในอนาคตไว้น่าสนใจว่า การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในปีนี้จะเผชิญกับความผันผวนของตลาด ซึ่งเกิดจากปัจจัยด้านการเมืองเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องมีแผนสำรองไว้ในมือ โดยเฉพาะในเรื่องของการทำ cash flow

ขณะเดียวกันในมุมของผู้ซื้อก็ควรตรวจสอบกำลังซื้อให้ถี่ถ้วน อย่างเช่นการยื่นขอสินเชื่อซื้อบ้านควรเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่ ระยะยาวอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป เพื่อป้องกันความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาด

"ปีนี้การลงทุนที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจมีอย่างเดียว คือแมสทรานซิส ซึ่งจะทำให้ซิตี้ คอนโดมิเนียมเกิดขึ้นอีกจำนวนมาก สิ่งที่ต้องระวังคือการเก็งกำไรจะเริ่มกลับมาอีกครั้ง ผู้ประกอบการจึงควรหาวิธีป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ"

รศ.มานพกล่าวว่าด้านทิศทางของอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อซื้อบ้าน เชื่อว่าจะปรับตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงกลางปีนี้ แม้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะปรับตัวลดลงแล้วในระยะนี้ก็ตาม ด้านการขยายตัวของธุรกิจในปีนี้จะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือน่าจะอยู่ในระดับประมาณ 5-10% หรือ 7 หมื่นยูนิต ส่วนต้นทุนการก่อสร้างจะปรับตัวขึ้นอย่างน้อย 10%

นอกจากนี้ยังจะเป็นปีของ "นิวโปรดักต์" ที่จะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น นอกจากนี้ลดความซ้ำซากจำเจของที่อยู่อาศัยในรูปแบบคอนโดฯ อย่างคอนโดฯที่มีรูปแบบเป็นทาวน์เฮาส์ ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ

สำหรับเทรนด์ลงทุนใหม่ที่น่าจับตามองในปีนี้ "รศ.มานพ" บอกว่า เม็ดเงินลงทุนบางส่วนจะกระจายไปสู่ต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจากผู้ประกอบการที่เคยพัฒนาโครงการอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่มมองหาแหล่งน้ำใหม่ๆ ที่การแข่งขันไม่ดุเดือดมากนัก

ตลาดอสังหาฯมีเมฆหมอกบังตา

ด้าน "อธิป พีชานนท์" นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปรียบเปรยตลาดอสังหาฯ ในปีนี้ว่า เป็นเหมือนตลาดที่มีเมฆหมอกบังตาและมีฝนตกลงมาซ้ำ ทำให้วิสัยทัศน์การมองตลาดไม่ชัดเจน และไม่กล้าจะมองระยะไกล ภาวะตลาดโดยรวมเกิดความไม่แน่นอน และมีความผันผวนบ่อยครั้ง

ขณะที่นโยบายที่ส่งผลด้านลบต่อตลาดจากภาครัฐยังมีออกมาต่อเนื่อง ประเมินแล้วปีนี้การขายบ้านแค่ขอให้ใกล้เคียงหรือเท่ากับปีที่ผ่านมา ก็ถือว่าน่าพอใจแล้ว

"ผมเป็นกรมอุตุฯ ได้แค่วันเดียว จะให้วิเคราะห์สถานการณ์ไปไกลกว่านี้ไม่ได้ เพราะสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฟ้าจะมีฝนตก แต่ถนนของอสังหาฯ เมืองไทยยังใช้ได้อยู่ แต่ก็ต้องระวังจะลื่นหกล้มด้วยเช่นกัน"

อสังหาฯ ปี (ไม่) หมู-สุดคาดเดา

"อธิป" แสดงความเป็นห่วงว่า ภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการควรรักษาสัดส่วนหนี้สินต่อทุนให้คงระดับเดิม หรือลดน้อยลง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดจากความผันผวน ส่วนการพัฒนาโครงการควรทำให้เหมาะสมกับทำเล และตลาดในย่านนั้น เพราะปัจจุบันซัพพลายในบางพื้นที่เริ่มมีมากกว่าความต้องการแล้ว แต่บางพื้นที่ยังขาดอยู่

ในประเด็นนี้ผู้ประกอบการต้องศึกษาตลาดและวิเคราะห์ให้ลึกว่า สินค้าที่จะเติมเข้าไปนั้นเพียงพอหรือมากเกินความต้องการที่มีอยู่ในตลาด

มีปัญหาต้องกัดฟันพัฒนาให้จบ

ขณะที่ "ยงยุทธ ชัยประพรหมประสิทธิ์" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อควาเรียส เอสเตท จำกัด กล่าวว่า ปีนี้ธุรกิจอสังหาฯ ไม่ดีกว่าปีที่ผ่านมา หรืออาจจะเติบโตลดลงจากปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำ โดยปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบ ต่ออสังหาฯ คือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

จึงอยากแนะนำผู้ประกอบการว่า ในช่วงที่กำลังพัฒนาโครงการ แม้จะประสบปัญหาก็ควรพัฒนาต่อให้แล้วเสร็จ เพราะหากพัฒนาเสร็จแล้วก็จะขายได้ แม้ว่าจะได้กำไรไม่มากก็ตามดีว่าหยุดการพัฒนา

แบงก์งัดแผนอุ้มดีเวลอปเปอร์

"ธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล" กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ประเมินสถานการณ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีนี้ว่า ผู้ประกอบการจะแข่งขันกันในเรื่องราคาขายมากขึ้น แต่คงแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะหากแข่งกันมากเกินไปอาจจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการ ซึ่งส่วนใหญ่คงไม่เลือกทำอย่างนั้น

สำหรับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ไม่ได้มีความอ่อนไหวมากมาย แต่อาจมีบ้างที่สถาบันการเงินต่างๆ จะใช้เทคนิคการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า โดยใช้วิธีปรับลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ย MRL ด้วยการใช้อัตราบวกหรือลบ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับลูกค้า

สำหรับนโยบายปล่อยสินเชื่อโครงการ ในปีนี้ในส่วนของเกียรตินาคินฯ ยังเน้นไปที่ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SMEs เช่นเดิม โดยจะเน้นการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นหลัก ซึ่งมีมากถึง 80% ของวงเงินปล่อยกู้กว่า 16,000 ล้านบาทที่จะปล่อยในปีนี้

ในส่วนลูกค้าที่ชำระหนี้ช้าธนาคารจะเข้าไปทำการช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถพัฒนาโครงการต่อไปได้ เช่น การยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป ซึ่งในส่วนนี้มีอยู่ประมาณ 25-30% โดยกว่าครึ่งหนึ่งสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ที่เหลือเป็นกลุ่มที่ไปต่อไม่ไหว ก็ต้องหากลุ่มทุนใหม่เข้าไปซื้อกิจการเพื่อดำเนินการให้ได้ต่อไป

หรือปล่อยสินเชื่อรายย่อยให้กับลูกค้า ที่ธนาคารเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อโครงการได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าของธนาคารด้วย โดยได้ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ รายย่อยไว้ที่ 1,000 ล้านบาท แต่หากสถานการณ์ตลาดสินเชื่อบ้านกลับมาเป็นปกติเหมือนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารก็พร้อมที่จะลดบทบาทในส่วนนี้ลง

"การแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าจะไปได้หรือไม่ได้ ต้องพิจารณาแบบเป็นรายๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่กว่า 85% หลังจากปรับโครงสร้างหนี้แล้วสามารถเดินต่อได้ มีเพียง 10-15% เท่านั้นที่ไม่ไหวจริงๆ ซึ่งก็ต้องยอมรับ"

"อสังหาฯ" ในวันนี้คงไม่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ๆ ที่จะเข้ามาสู่ตลาด ยกเว้นผู้ประกอบการที่มีที่ดินอยู่ในทำเลดีๆ แต่ทั้งหมดคงไม่ใช่คีย์ซักเซสเสมอไป เพราะยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจในการลงทุนและวางแผน ทั้งด้านการเงิน การก่อสร้าง การตลาด

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 01-02-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.