| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 346 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-02-2550    อ่าน 11987
 ปลูกด้วยรัก "ยก" ด้วยใจ อาคารสุนันทาลัย 126 ปี

คอลัมน์ Zoom Content

โดย ธเนศ วีระศิริ อาจารย์พิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

"สุนันทาลัย" นับเป็นอาคาร "อิฐก่อ" ขนาดใหญ่หลังแรกในประเทศไทยที่ได้รับการปรับปรุงบูรณะและยกให้สูงขึ้นจากระดับเดิมถึง 1.25 เมตร นั่นคือเรื่องของการ "ยกอาคาร" ที่แต่เดิมเคยมีคนคิดแต่ไม่เชื่อว่าจะทำได้

ย้อนตำนาน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สร้างอาคารสุนันทาลัย ทรงยุโรปหลังงาม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเป็นที่ระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ว่าเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังดำรงพระชนมชีพอยู่ ได้เคยกราบบังคมทูลปรารภถึงสถานที่ศึกษาอบรม เพื่อยกฐานะของสตรีไทยให้ดีขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างถาวรวัตถุขึ้นเพื่อเป็นสุนันทานุสรณ์ เป็นต้นกำเนิดของอาคารสุนันทาลัย ที่มีอายุนับได้ถึง 126 ปี ในปัจจุบัน

อาคารสุนันทาลัย สร้างขึ้นตามลักษณะสถาปัตยกรรมในยุคนีโอคลาส แต่เดิมมีโดมอยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนีโอคลาส ส่วนด้านหน้ามีมุขยื่นออกมา มีส่วนที่เรียกว่ามงกุฎตั้งอยู่ที่ส่วนบนของห้องมุข เนื่องจากเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา จึงส่งผลให้การจัดวางอาคารเป็นไปตามแนวยาว

อาคารชนิดใช้ผนังรับน้ำหนัก

สมัยก่อนยังไม่มีเหล็กเส้นหรือเหล็กรูปพรรณ วัสดุส่วนใหญ่จะเป็นอิฐและไม้ อิฐจะถูกนำมาใช้ก่อเป็นผนัง โดยจะวางเรียงอิฐต่อเนื่องก้อนต่อก้อน เรียงด้านกว้างและด้านยาวจนได้ความสูงตามต้องการ ในส่วนของพื้นจะใช้ไม้ทำเป็นคานวางพาดบนผนังอิฐก่อแล้วปูพื้นด้วยไม้บนคานไม้อีกต่อหนึ่ง ลักษณะเช่นนี้การถ่าย น้ำหนักในอาคารจะถ่ายลงผนังอิฐก่อทั้งหมด ทุกส่วนของผนังจะทำหน้าที่รับน้ำหนักและส่งผ่านกระจายน้ำหนักลงสู่ด้านล่างของอาคาร ท้ายที่สุดก็ส่งถ่ายน้ำหนักทั้งหมดลงสู่ฐานรากและดินที่รองรับ จึงเรียกว่าอาคารชนิดผนังรับแรง หรือ Load - bearing wall building

ฐานรากทำด้วยอิฐก่อ

ฐานรากเดิมทำด้วยอิฐก่อเช่นเดียวกับผนัง จัดเรียงอิฐก่อเป็นขั้นบันไดและยาวตลอดแนวเพื่อรองรับผนังอาคาร ส่วนล่างสุดของฐานรากกว้างเป็น 3 เท่าของความกว้างผนัง วางอยู่บนปีกไม้ที่จัดวางเรียงชิดกัน ใต้ปีกไม้รองรับด้วยขอนไม้หน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมซึ่งจัดวางในแนวขวาง ขอนไม้วางห่างกันเป็นช่วงๆ คล้ายกับไม้หมอนรางรถไฟ ระยะห่างของขอนไม้ประมาณ 0.40 - 0.45 ม. ใต้ขอนไม้แต่ละท่อนมีเสาเข็มหน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมขนาด 0.10 x 0.10 ม. ยาวประมาณ 4.00 ม. จำนวน 4 ต้น

ก่อนจะ "ยกอาคาร"

อาคารไม่ได้มีปัญหาทรุดตัว แต่เนื่องจากมีการถมปรับระดับถนนรอบนอกอาคารหลายครั้ง จนทำให้พื้นชั้นล่างของอาคารอยู่ต่ำกว่าถนนด้านนอก กลายเป็นแอ่งรับน้ำ เพื่อให้อาคารมีความสง่างาม มูลนิธิโรงเรียนราชินีจึงมีดำริเห็นควรให้ยกอาคารขึ้นสูงขึ้นจากระดับเดิม 1.25 เมตร

วิธีจะยกอาคารอิฐก่อล้วนๆ ใช้หลักการเดียวกับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก คือ ทำเสาเข็มเสริมและทำฐานรองรับใหม่ ต่างกันที่ว่าเสาเข็มใหม่ที่เสริมต้องวางเรียงกันตลอดความยาวของผนัง ไม่เป็นจุดๆ เหมือนอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั้งนี้เพราะน้ำหนักของอาคารถ่ายผ่านลงผนังทุกตำแหน่ง หากวางระยะห่างเสาเข็มมากเกินไปจะทำให้ผนังแตกร้าวได้ และตำแหน่งเสาเข็มเสริมก็ควรให้อยู่ใต้แนวผนังเพื่อรองรับน้ำหนักที่ส่งผ่านจากผนังโดยตรง เมื่อทำเสาเข็มเสริมแล้วจัดทำแท่นรองรับน้ำหนัก (loading platform) แล้วจึงตัดแยกฐานรากเดิมให้ขาดจากผนังอาคาร เมื่อถึงขั้นนี้ก็สามารถยกอาคารได้เช่นเดียวกับการยกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

เทคนิคติดตั้งเสาเข็มใต้แนวผนัง

ต้องขุดดินลงไปที่ระดับฐานรากเดิมแล้วสกัดผนังตรงตำแหน่งที่กำหนดว่าจะติดตั้งเสาเข็มเสริม ก่อนสกัดอิฐก่อที่เป็นผนังและฐานรากตำแหน่งนั้นต้องถ่ายน้ำหนักหรือถ่ายแรงจากผนังด้านบนให้เบี่ยงเบนไปลงยังตำแหน่งอื่นก่อน วิธีการเบี่ยงเบนน้ำหนักใช้หลักการของโครงสร้างเปลือกบาง หรือที่เรียกกันทางศัพท์ช่างว่า Shell structure

เมื่อเบี่ยงเบนน้ำหนักแล้ว สกัดอิฐก่อฐานรากตำแหน่งนั้นออกให้หมด ดึงปีกไม้และขอนไม้ที่ตรงกับตำแหน่งเสาเข็มใหม่ที่จะเสริมออก แล้วติดตั้งเสาเข็มใหม่โดยใช้แม่แรงไฮดรอลิก เสาเข็มใหม่ที่ใช้เป็นเสาเข็มเหล็กกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.20 - 0.25 ม. ต่อกันเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนยาวประมาณ 1.50 ม. ความยาวเสาเข็มใหม่ประมาณ 18 - 20 ม. ปลายเสาเข็มจะอยู่ในชั้นทราย

หลังจากติดตั้งเสาเข็มแล้วเสร็จ ทำคานถ่ายแรงรองรับใต้ผนังส่งถ่ายน้ำหนักลงเสาเข็มใหม่ ทำเช่นนี้ตลอดแนวผนังทั้งอาคาร เมื่อพร้อมแล้วใช้แม่แรงไฮดรอลิกวางบนเสาเข็มใหม่ทุกตำแหน่ง แล้วยกอาคารขึ้นพร้อมกัน กำลังของแม่แรงไฮดรอลิกที่ใช้ยก 30 ตัน จำนวน 400 ตัว และคนทำงานทั้งหมด 250 คน เมื่อยกอาคารได้สูง 1.25 ม. ตามต้องการแล้ว ทำการต่อเหล็กแล้วเทคอนกรีตปิดหุ้มเหล็ก ก็เป็นอันแล้วเสร็จ

แนวคิดเกี่ยวกับการยกอาคารอิฐก่อ

เนื่องจากอิฐก่ออยู่ในสภาพยุ่ยต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้องยกอาคารขึ้นพร้อมๆ กันทั้งหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงดันในผนังที่แตกต่างกัน ประการนี้พอยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย เช่น นำก้อนเต้าหู้มาวางซ้อนกันสูงๆ บนโต๊ะที่ค่อนข้างยาวมากตัวหนึ่ง ความหนาของพื้นโต๊ะเมื่อเปรียบเทียบกับความหนาของเต้าหู้ที่วางซ้อนกัน นับว่ามีความแตกต่างกันมาก หากจะยกโต๊ะขึ้นโดยจับเฉพาะที่ปลายสองข้างของโต๊ะ จะเกิดการแอ่นตัวทำให้เต้าหู้ยู่หรือร่วงหล่นลงมาได้ วิธีที่ดีควรให้หลายๆ คนมาจับรอบๆ โต๊ะแล้วยกขึ้นพร้อมๆ และเท่าๆ กัน ลักษณะการยกอาคารหลังนี้ก็ใช้หลักการเช่นเดียวกันนี้

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 01-02-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.