| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 173 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 29-01-2550    อ่าน 11304
 รถไฟฟ้าบีทีเอส-รถเมล์บีอาร์ที จี้ติดก้น "อภิรักษ์" ผู้ว่าฯ กทม.

ช่วงเวลาที่เหลืออยู่อีก 18 เดือน ก่อนที่ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง มีหลายโปรเจ็กต์ที่จะผลักดันแจ้งเกิดให้ได้

ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ทีที่เพิ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) และมีมติให้ กทม.เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเดินรถโดยสาร ซึ่งโครงการนี้ กทม.เตรียมจะก่อสร้าง และเปิดให้บริการต้นปี 2551

โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ช่วงตากสิน-เพชรเกษม ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร ที่จะเดินหน้าต่อ โดยใช้งบประมาณก่อสร้างของ กทม.เองทั้ง 100% ส่วนสายอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง วาดฝันจะต้องวางระบบรางให้เสร็จเรียบร้อยก่อนจะพ้นตำแหน่งให้ได้

นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม จากสะพานตากสิน-แยกตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ "อภิรักษ์" พยายามจะเปิดใช้บริการให้ได้ก่อนที่จะหมดวาระเช่นกัน

หากทำสำเร็จทั้งหมดนี้ถือเป็นผลงานชิ้นโบแดง และคงได้ใจคนกรุงเทพฯมากโข ซึ่งจะส่งผลดีต่อพรรคต้นสังกัดคือพรรคประชาธิปัตย์ ให้มีความได้เปรียบในการส่งคนลงรับสมัครเลือกตั้งเพื่อชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.ในสมัยหน้าด้วย

แม้ "อภิรักษ์" จะตั้งเป้าเปิดใช้บริการรถบีทีเอสสายใหม่ในปี 2550 หลังจากเลื่อนให้บริการจากเดิมกำหนดไว้ในช่วงปลายปี 2549 มาแล้ว แต่ดูเหมือนว่ายังมีปัญหาติดขัด และอาจทำให้โครงการสะดุดซ้ำรอยเดิมอีก

โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเอกชนมาติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้าที่ยังคาราคาซังมานานเกือบปี จนถึงขณะนี้ กทม.ก็ยังสะสางปัญหานี้ไม่เสร็จ

ล่าสุด กทม.ต้องมานั่งทำรายละเอียดร่าง ทีโออาร์ประกวดราคาใหม่ เนื่องจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส รื้อระบบอาณัติสัญญาณใหม่เป็นแบบกระแส ไฟฟ้าติดกับตัวรถไฟฟ้า หรือ moving bock เพื่อให้สามารถนำรถไฟฟ้ายี่ห้ออื่นๆ มาวิ่งได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดยี่ห้อ "ซีเมนส์" เพียง รายเดียว

ทำให้ผู้บริหาร กทม.ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ เลือกผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณที่เข้าได้กับรถไฟฟ้าทุกยี่ห้อ เพื่อให้สอดรับกับระบบอาณัติสัญญาณของบีทีเอสที่ปรับเปลี่ยนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ "อัลคาเทล" หรืออื่นๆ

"พนิช วิกิตเศรษฐ์" รองผู้ว่าฯ กทม.ฝ่ายการคลัง ซึ่งกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าบอกว่า กทม.ต้องดำเนินการให้สอดรับกับระบบของ บริษัทบีทีเอส เพื่อให้ระบบรถไฟฟ้าเข้ากันได้ เพราะในส่วนต่อขยาย 2.2 กิโลเมตร กทม.จะว่าจ้างให้บีทีเอสซีเป็นผู้เดินรถ เพื่อรับผู้โดยสาร จากฝั่งธนฯเข้าไปในระบบที่มีการเดินรถไฟฟ้า บีทีเอสอยู่แล้ว

"ตอนนี้ให้ทางสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ทำร่างทีโออาร์ใหม่ คาดว่ากลางเดือนกุมภาพันธ์จะเรียบร้อย และเปิดประกวดราคาหาผู้ผลิตได้ จากนั้นประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ทุกอย่างจะเรียบร้อย"

"พนิช" ชี้แจงว่า หลังได้ตัวผู้รับจ้างและเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว จะเดินหน้าโครงการต่อทันที ไม่ว่าจะสั่งผลิตรถ การทดสอบการเดินรถไฟฟ้า ซึ่งอาจจะดำเนินการได้ช่วงปลายปี 2550 หรือต้นปี 2551 ส่วนการจะจัดเก็บเงินอย่างไร คงต้องใช้เวลา เพราะคงต้องเจรจากับบีทีเอสซีอีกหลายขั้นตอน เพื่อทำข้อตกลงเรื่องส่วนแบ่งค่าโดยสารและค่าจ้างซึ่ง กทม.มีข้อบัญญัติรองรับอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหา

แม้จะเป็นโครงการเร่งด่วน แต่ กทม.ต้องไม่ลืมว่าการทดสอบระบบรถไฟฟ้าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 8 เดือนถึง 1 ปี เพื่อให้มั่นใจได้ 100% ว่าระบบไม่มีปัญหา

หันมาดูความคืบหน้าของโครงการ ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างก่อสร้างสถานีและระบบรางที่ยังไม่เสร็จเรียบร้อย คืบหน้า 81.82% ล่าช้าจากแผนที่วางไว้ เพราะตามสัญญาจะต้องแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2549 ที่ผ่านมา

"สาเหตุที่งานล่าช้าเป็นเพราะติดเรื่องการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคบริเวณทางเท้าทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งการประปาฯ การไฟฟ้าฯ" แหล่งข่าวจากบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับเหมาก่อสร้างกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

นอกจากนี้ยังมาจากที่ กทม.เพิ่มเติมงานก่อสร้างเข้ามา นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญา เช่น การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า การตัดเกาะกลางถนนระหว่างทางคู่ขนาน กึ่งกลางสถานีเจริญนครและสถานีวงเวียนใหญ่ เพื่อให้รถจากเส้นทางหลักและผู้ใช้บริการสามารถขึ้นสถานีจากทางเท้าได้ ทำให้ค่างานเพิ่มขึ้นแต่คงไม่ถึง 100 ล้านบาท จากมูลค่างานเดิมช่วงเปิดประมูลที่ 1,033 ล้านบาท โดยขณะนี้บริษัทกำลังจะทำหนังสือถึง กทม. เพื่อขอขยายเวลาจาก กทม.ออกไปอีกถึงเดือนมีนาคม 2550

ต้องจับตาดูว่า "อภิรักษ์" จะผลักดันผลงานชิ้นโบแดงได้สำเร็จเหมือนกับที่คาดหวังเอาไว้หรือไม่

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 29-01-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.