| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 216 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 22-01-2550    อ่าน 11294
 "อภิรักษ์"ลุยบีอาร์ทีสาทร-ราชพฤกษ์ อัดฉีดงบฯ1.28หมื่นล.ผุดเพิ่มอีก4สาย

"อภิรักษ์" เดินเครื่องบีอาร์ทีสายแรก "สุรวงศ์-ราชพฤกษ์" เตรียมเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้างกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ ประกาศอีก 12 เดือนได้ใช้บริการแน่นอน ชง ครม.ขอต่อเส้นทางยาวออกไปอีกถึงประชาอุทิศ-ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เผยหากสายแรกไปได้สวย ผุดอีก 4 สาย ดอนเมือง-มีนบุรี-สุวรรณภูมิ ปากเกร็ด-หมอชิต มีนบุรี-ศรีนครินทร์-แบริ่ง บางนา-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 98.2 กิโลเมตร วงเงิน 12,890 ล้านบาท

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนใน กทม. นอกจากระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสแล้ว เพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนกรุงเทพฯ จะดำเนินการก่อสร้างโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษหรือบีอาร์ที นำร่องสายแรกที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้วในเรื่องของการขอใบอนุญาตเดินรถ คือ สายสุรวงศ์-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 1,904 ล้านบาท ซึ่งจะเชื่อมต่อกับรถไฟบีทีเอสด้วยที่สถานีช่องนนทรี จะยิ่งทำให้การเดินทางสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

"ตอนนี้เรากำลังจะปรับเส้นทางให้เหมาะสมมากขึ้น โดยจะขยายเส้นทางไปยังประชาอุทิศ เพื่อให้ครอบคลุมถึงย่านถนนวงแหวนอุตสาหกรรม รวมระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงิน 2,179 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเสนอให้ ครม.อนุมัติอีกรอบ รถบีอาร์ทีนี้จะใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน ประมาณ 1 ปี จะเร็วกว่ารถไฟฟ้า แต่วิธีการให้บริการจะคล้ายๆ กัน ทั้งตั๋วรถที่เป็นอัตโนมัติ คุณภาพมาตรฐาน ความรวดเร็วที่จะมาทุกๆ 3-5 นาที แต่ค่าโดยสารจะถูกกว่า เทียบเท่ากับค่ารถโดยสารปรับอากาศ"

นายอภิรักษ์กล่าวต่อว่า สำหรับบีอาร์ทีสายแรกนี้ กทม.มีงบประมาณในการก่อสร้างอยู่แล้ว ซึ่ง กทม.จะเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด คาดว่าประมาณไตรมาสแรกของปี 2551 จะเปิดให้บริการได้ หรืออีก 12 เดือนนับจากวันลงนามสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง และจากการประเมินหลังจากเปิดใช้จะมีผู้โดยสารประมาณ 50,000 คนต่อวัน อย่างไรก็ตาม ถ้าหากสายแรกเปิดให้ดำเนินการแล้ว ประสบความสำเร็จและมีผลตอบรับจากประชาชนเป็นที่น่าพอใจ จะดำเนินการสายอื่นๆ ที่เหลือต่อไป ซึ่งมีแผนจะดำเนินการปี 2550-2552

ประกอบด้วย 1.สายดอนเมือง-มีนบุรี-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 38 กิโลเมตร วงเงิน 4,531 ล้านบาท 2.สายปากเกร็ด-หมอชิต ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร วงเงิน 1,124 ล้านบาท 3.สายมีนบุรี-ศรีนครินทร์-แบริ่ง ระยะทาง 25 กิโลเมตร วงเงิน 3,123 ล้านบาท 4.สายบางนา-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 15.6 กิโลเมตร วงเงิน 1,932 ล้านบาท รวมระยะทางทั้งสิ้น 98.2 กิโลเมตร งบประมาณทั้งสิ้น 12,890 ล้านบาท โดยเงินค่าก่อสร้างบางส่วนอาจจะต้องขอเงินสนับสนุนจากรัฐบาล

"แต่ละเส้นทางที่เราจะดำเนินการนี้ จะสอดรับกับการพัฒนาย่านต่างๆ ของกรุงเทพฯที่มีแผนจะดำเนินการ เช่น ย่านมีนบุรี สนามบินสุวรรณภูมิ รอยต่อเมืองนนทบุรี สุขสวัสดิ์ เป็นต้น"

ส่วนกรณีที่ตำรวจนครบาล (บช.น.) ออกมาคัดค้านโครงการรถบีอาร์ทีเนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาการจราจรเพราะต้องกัน 1 ช่องจราจรสำหรับรถบีอาร์ทีนั้น นายอภิรักษ์กล่าวว่า ตนเข้าใจที่หลายฝ่ายมีความเป็นห่วงเรื่องเลนการจราจรจะหายไป แต่ที่สำคัญจะต้องคิดทั้งระบบว่าระบบขนส่งมวลชน ต้องการขนคนมากกว่าขนรถ

นายอภิรักษ์กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวตนจะประสานกับ บช.น. เพื่อประชุมหารือร่วมกันกับฝ่ายปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมทั้งทำความเข้าใจกับประชาชนที่ใช้เส้นทางว่าจะได้รับประโยชน์อย่างไร เพราะปัจจุบันประชาชนยังเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับโครงการว่าจะเหมือนกับโครงการรถเมล์ชิดเกาะกลางที่เคยดำเนินการมาแล้ว ทั้งนี้ในส่วนของเส้นทางที่มีการขึ้นสะพานนั้นจะหารือกับ กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ว่าสามารถใช้เส้นทางร่วมกันได้หรือไม่

ด้านนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ประมาณสัปดาห์หน้า จะเชิญบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาก่อสร้างโครงการรถบีอาร์ทีมาหารือ เพื่อเตรียมการก่อสร้าง คาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ปัจจุบันสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) อยู่ระหว่างการร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์)

ส่วนการจัดหารถมาเดินรถนั้น ขณะนี้กำลังสรุปถึงข้อดีและข้อเสียของการดำเนินการ ซึ่งมีอยู่ 3 วิธีการ คือ กทม.จัดซื้อรถเอง การจ้างเอกชนเข้ามาเดินรถ และการเช่ารถ ซึ่งจะต้องพิจารณาให้เป็นไปตามแผนการเดินรถ

สำหรับการเดินรถ มีข้อตกลงกับทางบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจที่ กทม.ถือหุ้นอยู่ 90.99% จะว่าจ้างให้เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งขณะนี้กำลังตรวจสอบด้านข้อกฎหมายถึงเรื่องสถานะของบริษัทกรุงเทพธนาคมว่าจะสามารถเดินรถได้หรือไม่ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นภายหลังได้ เพราะ กทม.ไม่สามารถเดินรถเองได้ทั้งนี้หากไม่สามารถเดินรถได้ กทม. จะต้องจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการ ซึ่งจะต้องเข้าข่าย พ.ร.บ. ร่วมทุน ปี 2535 และต้องใช้เวลานานอย่างน้อย 1 ปี

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 22-01-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.