| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 85 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 15-01-2550    อ่าน 11449
 "อสังหาฯไทย"เสียวขาดสภาพคล่อง โดนเต็มๆรัฐตีกันทุนนอกแก้ปมนอมินี

ทุนอสังหาฯข้ามชาติเกาะติดสถานการณ์ใกล้ชิด หวังแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจต่างด้าว ล้อมคอกปัญหานอมินีกระทบการลงทุน ดีเวลอป เปอร์ไทยหวั่นทุนนอกไม่ไหลเข้า ทำขาดสภาพคล่อง ไร้เม็ดเงินผุดโปรเจ็กต์ใหม่ในระยะยาว ชี้อสังหาฯภูเก็ต เกาะสมุย หมดสิทธิ์เกิด ด้านนักวิชาการมองต่างมุมหนุนรัฐคลอดกฎหมายปิดช่องทุนต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ในระยะสั้น แนะทางออกไฟเขียวให้เช่าระยะยาว 99 ปีแทนขายขาด

นักลงทุนต่างชาติต่างจับตามองความเคลื่อน ไหวในการผลักดันร่างแก้ไขพระราชบัญญัติประ กอบธุรกิจต่างด้าว ที่เพิ่งผ่านการพิจารณาจากคณะ รัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา เพราะเกรงว่าหากร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศไทยในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งปัจจุบันทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการโดยตรง และเข้าถือหุ้นในบริษัทอสังหาฯในตลาดหลักทรัพย์ฯจำนวนมาก เสียงสะท้อนที่ออกมามีทั้งเห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ และหวั่นเกรงว่าการปรับ ปรุงแก้ไขกฎหมายอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่มั่นใจซึ่งจะส่งผลให้เกิดการชะลอลงทุนได้

รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เห็นด้วยที่ภาครัฐจะผลักดันแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับบนี้ เพราะรัฐบาลชุดที่ผ่านมาเปิดช่องว่างให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนโดยแสวงหาผลประโยชน์ระยะสั้นมากเกินไป มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ลงทุนในระยะยาวอย่างแท้จริง ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนอสังหาฯที่ดำเนินการในลักษณะที่คนไทยถือหุ้นแทนชาวต่างชาติหรือ นอมินี อย่างในภูเก็ต เกาะสมุย พัทยา เป็นต้น

"โครงการอสังหาฯในภูเก็ต และสมุย ซึ่งเป็นแหล่งทุนที่ใหญ่รองจากกรุงเทพฯ มีต่างชาติเข้ามาซื้อที่ดินโดยผ่านบริษัทนอมินีจำนวนมาก หากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้น่าจะมีผลกระทบ แต่สิ่งที่รัฐบาลพยายามดำเนินการอยู่ถือเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขการถือหุ้นในลักษณะนอมินีนั้น รัฐอาจแก้ไขปัญหาด้วยการขยายเวลาถือครองอสังหาฯในรูปของการเช่าได้นานขึ้น เช่น ให้เช่าระยะยาว 99 ปี จากเดิม 30 ปี วิธีนี้จะทำให้ต่างชาติยังสนใจที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเหมือนเดิม


รศ.มานพกล่าวว่า หากทำได้ดังกล่าว จะส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาฯทั้งระบบ และแก้ปัญหาการเข้ามาหาประโยชน์ระยะสั้นได้ เพราะกลุ่มทุนที่เข้ามาลงทุนระยะสั้นถือเป็นกองทุนปิศาจที่เข้าสูบผลประโยชน์ ไม่ได้สร้างอะไรให้กับประเทศไทยเลย จึงขอสนับสนุนและเห็นด้วยอย่างเต็มที่ที่รัฐบาลจะเอาจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพียงแต่ต้องอธิบายให้นักลงทุนที่ต้องการเข้ามาลงทุนในระยะกลางและระยะยาวเข้าใจถึงมาตรการต่างๆ ที่จะออกมา

นายพนม กาญจนเทียมเท่า กรรมการผู้จัดการ บริษัทไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า นักลงทุนต่างชาติสอบถามเกี่ยวกับเรื่องนี้เข้ามาจำนวนมาก เพราะมีความกังวลว่าอาจได้รับผลกระทบ หากร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวใช้บังคับเป็นกฎหมาย และเท่าที่ได้ศึกษาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ก็เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อบริษัทที่ใช้นอมินีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นแทน

"ปัญหาคือ เราไม่รู้ว่าบริษัทที่ให้นอมินีถือหุ้นแทนมีมากน้อยแค่ไหน ยากมากที่จะเข้าไปตรวจสอบ ในประเด็นนี้บริษัทมีแผนจะทำรีเสิร์ชในเร็วๆ นี้ แต่เบื้องต้นคิดว่าตลาดอสังหาฯในภาพรวมจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยกเว้นกลุ่มนักลงทุนที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจอสังหาฯในไทย"

สำหรับอสังหาฯในภูเก็ตซึ่งเป็นตลาดต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดนั้น ไม่น่าจะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในแง่ของผู้บริโภค เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการซื้อในลักษณะเช่าระยะยาวอยู่แล้ว ทั้งนี้เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อดีเวลอปเปอร์ต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนโดยผ่านบริษัทนอมินี ขณะที่ตลาดอสังหาฯเกาะสมุยหากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ดังกล่าว ยิ่งจะทำให้การเข้าพัฒนาโครงการทำได้ยากมากขึ้น จากเดิมที่มีปัญหาในเรื่องของเอกสารสิทธิที่ออกไม่ถูกต้องอยู่แล้ว

"ประเด็นเรื่องของกฎหมาย ตอนนี้ยังไม่แน่ชัดว่าสภานิติบัญญัติจะรับร่าง พ.ร.บ.หรือไม่ แต่เชื่อว่าการผลักดันแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ถือเป็นการส่งสัญญาณให้คนลงทุนหรือผู้ที่คิดจะซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งอาจจะต้องเช่าซื้อแทนซื้อขาดเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น" นายพนมกล่าว

ด้านนายเมธา จันทร์แจ่มจรัส ประธานอำนวยการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า ตนเห็นว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวจะทำให้เม็ดเงินลงทุนก้อนใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศชะลอออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่การลงทุนที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนในช่วงก่อนหน้านี้คงไม่มีการถอนการลงทุนออกไป ที่สำคัญอยากให้นักลงทุนรอดูความชัดเจนในรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ก่อนจะตัดสินใจ

"ผมว่าในระยะสั้นเม็ดเงินใหม่ที่จะเข้ามา นักลง ทุนคงไม่กล้านำเข้ามา ประเด็นนี้ก็จะส่งผลในระยะยาว คือ มีความเป็นไปได้สูงมากที่ผู้ประกอบการอสังหาฯในไทยจะขาดสภาพคล่องในการลงทุนขยายโครงการใหม่ๆ"

ขณะที่นายธนูศักดิ์ พึ่งเดช รองประธานชมรมอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต กล่าวว่า นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการในจังหวัดภูเก็ตยังไม่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่วนใหญ่ต้องการรอดูความชัดเจนของข้อกฎหมายใหม่ที่จะออกมา ในส่วนของชมรมเร็วๆ นี้จะจัดประชุมเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันว่าเห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ดังกล่าวหรือไม่

"ในภูเก็ตตอนนี้ยังนิ่งๆ นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาร่วมทุนยังไม่มีการเคลื่อนไหวอะไร แต่ตอนนี้ทุกคนต่างติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด"

ด้านแหล่งข่าวจากกรมที่ดินเปิดเผย "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า ยังไม่อยากให้นักธุรกิจนักลงทุนมองว่าการผลักดันแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจต่างด้าว จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการประกอบธุรกิจอสังหาฯของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายยังต้องผ่านกระบวนการในขั้นตอนต่างๆ อีกมาก ซึ่งถึงจุดนั้นตัวกฎหมายใหม่ที่ออกมาอาจไม่ได้กระทบการลงทุนมากนัก

ที่สำคัญในการถือครองที่ดินของนักลงทุนต่างชาติ หรือนิติบุคคลต่างชาติ ประมวลกฎหมายที่ดินไม่ได้อนุญาตให้มีการถือครอง จะถือครองได้ก็ต่อเมื่อเป็นนิติบุคคลไทย คือต้องมีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นอยู่มากกว่า 50% ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคนไทยมีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมมากหรือน้อยกว่าคนต่างชาติ สรุปคือ จะมีการแก้ไขหรือไม่แก้ไข พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจต่างด้าว การถือครองที่ดินก็ต้องเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินกำหนด

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 15-01-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.