| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 104 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 11-01-2550    อ่าน 11475
 บทบาทใหม่ "ศิวะ แสงมณี" 1 ปีกับการแก้ปัญหาการรถไฟฯ

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก็ยังคงมีปัญหาซ้ำรอยเดิม จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังรักษาไม่หาย โดยเฉพาะภาระหนี้สินที่สะสมมายาวนานหลายสิบปี ขณะที่รายได้ไม่ได้พอกพูนขึ้น ทำให้แต่ละปีการรถไฟฯประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด

ขณะที่แผนปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งผ่านมือรัฐบาลมาหลายรัฐบาลก็ไม่มีความคืบหน้า ราวกับว่ายังคลำปมปัญหาที่แท้จริงไม่เจอ

"ศิวะ แสงมณี" ประธานบอร์ดการรถไฟฯ คนใหม่ ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแนวทางการพลิกฟื้นสถานะองค์กรแห่งนี้ ในช่วงระยะเวลา 1 ปีจากนี้ไปไว้อย่างน่าสนใจ

- ภายใน 1 ปีจะเร่งแก้ไขปัญหาจุดไหนบ้าง

อย่างแรกที่จะต้องทำ คือ จะเสนอแผนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของการรถไฟฯมูลค่า 40,000 กว่าล้านบาท ที่กระทรวงการคลังสรุปแผนฟื้นฟูเสร็จเรียบร้อยแล้ว และผ่านการพิจารณาของบอร์ดแล้ว กำลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดว่าจะบรรจุเข้าวาระการประชุม ครม.ได้ภายในเดือนมกราคมนี้ จากนั้นจะมีนโยบายชัดเจนออกมาว่า จะทำอะไรบ้างนับจากนี้ไป

รายละเอียดที่กระทรวงการคลังจัดขึ้นนั้น การรถไฟฯต้องลดภาระหนี้สินเงินกู้ที่มีอยู่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยขอให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ 37,000 ล้านบาท เป็นเงินสดชดเชยขาดทุนค้างรับ 18,000 ล้านบาท หนี้โครงสร้างพื้นฐาน 15,000 ล้านบาท และการแลกที่ดินที่ ส่วนราชการเช่าอีก 4,000 ล้านบาท เมื่อการรถไฟฯทำตามแผนจะเหลือหนี้สินประมาณ 5,700 ล้านบาท

นอกจากนี้จะมีการฟื้นฟูการดำเนินงานระยะสั้น โดยการรถไฟฯจะพัฒนาบริการเพื่อเพิ่มรายได้ โดยให้ความสำคัญกับการขนส่งสินค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะเส้นทางสายตะวันออก ซึ่งจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง มูลค่า 6,000 ล้านบาท ขณะนี้ยังไม่ได้เปิดประมูล อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบ และต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาอีกรอบ เพราะงบประมาณเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 1,000 ล้านบาท แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่จำเป็น เพราะจะช่วยในเรื่องของระบบลอจิสติก แม้ว่างบประมาณก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น แต่ในระยะยาวถือว่าคุ้ม เพราะไม่ต้องซ่อมแซมบ่อยๆ ส่วนสายอื่นๆ ที่เหลือ อยากจะทำ แต่ต้องรอไปก่อน เพราะงบประมาณยังไม่มี

- ภารกิจหรือการลงทุนโครงการอื่นๆ

จะมีการลงทุนซื้อห้วรถจักรเพิ่มอีก 20 คัน แคร่ขนสินค้าอีก 396 คัน มูลค่ารวม 2,900 ล้านบาท ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของการรถไฟฯในขณะนี้ เพราะจะเพิ่มรายได้ก็ไม่ได้ เนื่องจากอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ

สุดท้าย คือ การแก้ไขภาระบำนาญที่การรถไฟฯรับภาระอยู่ปีละ 2,000 กว่าล้านบาท โดยการรถไฟฯจะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยจะจัดตั้งหลังจากที่ ครม.อนุมัติแผนการฟื้นฟูกิจการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หลังจากได้รับอนุมัติจาก ครม.

- บริษัทบริหารสินทรัพย์จะทำอะไรบ้าง

บริษัทลูกที่ตั้งขึ้นมานี้ การรถไฟฯจะถือหุ้น 100% จะทำหน้าที่หารายได้จากที่ดินที่การรถไฟฯมีอยู่ทั้งหมด โดยเฉพาะแปลงใหญ่ๆ เช่น พหลโยธิน มักกะสัน ริมแม่น้ำ เป็นต้น ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยจะดูว่าที่ดินเหล่านี้สามารถทำอะไรได้บ้าง บริษัทบริหารสินทรัพย์จะเป็นคนจัดการทั้งหมด โดยหาคนที่เป็นมืออาชีพมาบริหารจัดการ แต่อยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟฯ ซึ่งตอนนี้บอร์ดได้สั่งระงับที่ดินทุกแปลงที่รัฐบาลชุดที่แล้วมีนโยบายจะเปิดประมูล โดยให้เอกชนมาเช่าระยะยาวหรือเข้ามาลงทุน ให้รอบริษัทลูกที่จะตั้งขึ้นมานี้ดำเนินการ ซึ่งจะมีนโยบายชัดเจนออกมาว่าแต่ละแปลงจะทำอะไรบ้าง

นอกจากนี้ตามแผนที่กระทรวงการคลังจัดทำมานั้น จะตั้งบริษัทลูกขึ้นมาอีกบริษัทหนึ่ง เพื่อมาบริหารจัดการเดินระบบรถไฟฟ้าของโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งก็ต้องหามืออาชีพมาดำเนินการเช่นกัน

- หลังฟื้นฟูกิจการรายได้จะเพิ่มขึ้นมากน้อย แค่ไหน

ต้องดูแผนก่อน แต่การรถไฟฯคงไม่มีรายได้เพิ่มอยู่แล้ว เพราะของไม่มีใช้ มีแต่ของเก่า และที่ผ่านมารัฐไม่ค่อยเข้ามาดูแลและให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ทำให้เรื่องต่างๆ คาราคาซังมาจนถึงทุกวันนี้ การรถไฟฯเหมือนคนป่วย จะรักษาก็ไม่รักษา แทนที่จะทำบายพาสต่อเส้นเลือดใหม่ ก็กินมากๆ เลือดตกในกระเพาะอีก

ปี 2550 หลังจากที่ ครม.ผ่านแผนฟื้นฟูที่เสนอไปแล้ว จะทำให้การรถไฟฯมีโอกาสฟื้นตัวมากขึ้น โดยปี 2551-2552 จะแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะปี 2553-2554 จะยิ่งฟิตเปรี๊ยะ แต่ว่าบางเรื่องรัฐบาลจะต้องลงมารับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน

- โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ถูกตรวจสอบ

ก็ต้องว่ากันไปตามความเป็นจริง เราไม่ก้าวก่ายอยู่แล้ว ผลสอบออกมายังไง ก็ต้องว่าตามนั้น ตอนนี้เราได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อเป็นคณะกรรมการกลาง ตรวจสอบข้อเท็จจริงตรงนี้ ตั้งแต่ต้นเปิดประมูลจนมาถึงการก่อสร้าง ผลสอบคงจะออกมาเร็วๆ นี้

- จะมีผลต่อการก่อสร้างและการเปิดใช้หรือเปล่า

ไม่มี เพราะคนละส่วนกัน การก่อสร้างจะต้องเดินหน้าต่อ เพื่อเปิดให้บริการให้ได้เดือนมิถุนายนปี 2551 เพราะต้องรองรับกับคนที่จะเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ ตอนนี้ผมก็กำลังเร่งรัดผู้รับเหมาก่อสร้างให้เร่งมืออยู่ เพราะที่ผ่านมาล่าช้ามามากแล้ว

- รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเร่งรัดยังไง

ใน 1 ปีนี้ ผมจะเร่งรัดการรถไฟฯก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยจะเปิดประมูลให้ได้ ซึ่งตอนนี้รอให้ ครม.อนุมัติงบประมาณก่อสร้าง เพราะการรถไฟฯไม่มีเงินจะก่อสร้างเอง แต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะเปิดประมูลได้เมื่อไร ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม.เป็นหลัก

- การต่อสัญญาเช่าที่ดินรถไฟกับห้างเซ็นทรัล

ปลายปีนี้จะต้องเสร็จเรียบร้อย เพราะสัญญาเช่าที่ดินที่ทำไว้กับห้างเซ็นทรัลจะครบกำหนดในเดือนธันวาคม 2551 ขณะนี้เราได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2535 ปัจจุบันตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายร่วมทุนแล้ว จากนั้นจะมีการว่าจ้างบริษัทกลางขึ้นมาประเมินราคาทรัพย์สินว่ามีมูลค่าเท่าไร เพื่อจะได้นำไปใช้เป็นข้อมูลในการเจรจาปรับค่าเช่าที่ดิน

ผมเร่งการรถไฟฯให้เจรจาโดยเร็วที่สุด แต่เราต้องทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน อาจจะล่าช้าบ้าง เพราะบอร์ดชุดเก่าต้องหารือไปมากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมาย แต่จะพยายามเร่งให้เสร็จโดยเร็ว เพราะเอกชนก็ต้องวางแผนด้านการลงทุนธุรกิจเหมือนกัน ยังไงปลายปีนี้ต้องเสร็จแน่ๆ

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 11-01-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.