| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 93 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-01-2550    อ่าน 12101
 สำรวจโครงการใหญ่ปี"50 เค้กชิ้นโตแค่ "รถไฟฟ้า-งาน กทม."

เปิดศักราชใหม่ปี 2550 ผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่รอคอยงานใหญ่ของกระทรวงคมนาคม อาจต้องรอเก้อ

ด้วยงบประมาณที่มีอยู่น้อยนิด ทำให้โครงการขนาดใหญ่ของหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงาน ที่วาดแผนจะออกสตาร์ตตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป จำต้องชะลอออกไปอย่างไม่มีกำหนด

ยกเว้นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย ประกอบด้วยสายสีแดง ช่วงรังสิต-บางซื่อ-ตลิ่งชัน สีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแคและช่วงบางซื่อ-ท่าพระ สีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ สีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สำโรง-สมุทรปราการ รวมระยะทาง 118 กิโลเมตร มูลค่า 1.65 แสนล้านบาท เค้กก้อนใหญ่ก้อนเดียวที่เหลืออยู่

เนื่องจากเป็นโครงการที่รัฐบาลชุด "สุรยุทธ์ จุลานนท์" พยายามผลักดันและประกาศชัดเจนว่าจะเปิดประมูลให้ได้ภายในปี 2550 ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ที่นั่งเป็นรัฐบาลอยู่

ว่ากันว่า งบประมาณปี 2550 ของแต่ละหน่วยงานที่ถูกเฉือนออกไปนั้น ส่วนใหญ่จะถูกโยกให้โครงการรถไฟฟ้า 5 สาย สำหรับใช้ว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด และเวนคืนที่ดิน

ถ้าไม่นับรวมโครงการรถไฟฟ้า 5 สายแล้ว ปี 2550 ถือเป็นปีที่มีแต่งานก่อสร้างโครงการเล็กๆ เช่น สร้างสะพานลอย อุโมงค์ทางลอด เป็นต้น ส่วนโครงการถนนสายใหม่และทางด่วน ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ จะส่งกลับให้แต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาทบทวนใหม่

มอเตอร์เวย์ "บางปะอิน-โคราช" ปิ๋ว

เริ่มจากโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์สายใหม่ สายบางปะอิน-โคราช ระยะทาง 200 กิโลเมตร ของกรมทางหลวง เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ขอจัดสรรงบประมาณปี 2550 ไว้ วงเงิน 4,120 ล้านบาท เพื่อเวนคืนที่ดิน หลังจากที่ได้ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดไว้เรียบร้อยแล้ว

โดยกรมทางหลวงมีแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี 2551 หลังจากที่ปี 2550 เวนคืนที่ดินเสร็จ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลไม่อนุมัติงบประมาณให้ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะจัดสรรให้กับโครงการก่อสร้างใหม่ ที่ใช้วงเงินก่อสร้างสูง ซึ่งโครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราชนี้ ใช้งบฯก่อสร้างประมาณ 25,000 ล้านบาท

นายจำนงค์ ประยงค์รัตน์ วิศวกรใหญ่ฝ่ายวางแผนและโครงการ กรมทางหลวง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปีงบประมาณ 2550 กรมได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ 45,178 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นงบฯผูกพันและงบฯสำหรับการบำรุงรักษาทาง ส่วนงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ไม่มี ขณะที่โครงการใหม่ก็มีไม่กี่โครงการ เช่น ขยายทางหลวงเป็น 4 ช่องจราจรระยะที่ 2 อุโมงค์ลอดแคราย สะพานข้ามแยกหน้าศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เป็นต้น

"โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ปี 2550 กรมคงเตรียมออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินไว้ ระหว่างรอได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล เพราะเมื่อได้งบประมาณแล้วสามารถดำเนินการได้เลย เนื่องจากขั้นตอนการออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ใช้เวลานานพอสมควร"

ชะลอถนนเชื่อมราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษก

ไม่ใช่แค่โครงการของกรมทางหลวง โครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์-กาญจนา ภิเษก มูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท ของกรมทางหลวงชนบท ก็ถูกสั่งให้ชะลอออกไปด้วย จนกว่าจะมีงบประมาณเพียงพอสำหรับจัดสรรให้

เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลต้องใช้งบประมาณสำหรับโครงการอื่นๆ ที่มีความจำเป็นมากกว่า และเห็นว่าโครงการยังไม่เร่งรีบดำเนินการ ยังสามารถชะลอออกไปได้ จึงให้เบรกไว้ก่อน จนกว่างบประมาณจะมีพออัดฉีดให้

ในปีงบประมาณ 2550 กรมทางหลวงชนบทขอจัดสรรงบประมาณสำหรับการเวนคืนที่ดิน วงเงินประมาณ 1,800 ล้านบาท เพื่อเวนคืน เตรียมพร้อม และจะของบฯก่อสร้างโครงการนี้ในปี 2551 แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ

ล่าสุด กรมทางหลวงชนบทจะโยกงบฯบางส่วนของโครงการก่อสร้างสะพานนนทบุรี 1 บางส่วนมาจ่ายค่าเวนคืนไปก่อน เพื่อเดินหน้าก่อสร้างช่วงตะวันออก-ตะวันตก จากถนนบางกรวย-ไทรน้อย บริเวณจุดตัดถนนวงแหวนกาญจนา ภิเษก ต่อเชื่อมกับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ 5 แยกปากเกร็ด และถนนต่อเชื่อมหรือสะพานพระราม 4 ที่เปิดให้ใช้บริการอย่างไม่เป็นทางการไปแล้วก่อนหน้านี้

รื้อใหม่ทางด่วน 11 สาย 3 แสนล้าน

นอกจากถนนแล้ว ยังมีโครงการระบบทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ทบทวนแผนแม่บทใหม่ จำนวน 11 โครงการ ระยะทาง 180.1 กิโล เมตร มูลค่า 3 แสนกว่าล้านบาท จากเดิมที่ กทพ. กำหนดกรอบเวลาไว้ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2550-2560 เพื่อป้องกันไม่ให้ กทพ.ลงทุนเกินตัวและก่อหนี้เพิ่ม จากเดิมที่มีภาระหนี้อยู่ 9 หมื่นกว่าล้านบาท

ประกอบด้วยทางพิเศษสายศรีนครินทร์-บางนา-สมุทรปราการ ระยะทาง 13.8 กิโลเมตร เงินลงทุน 25,594 ล้านบาท ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 17 กิโลเมตร เงินลงทุน 19,312 ล้านบาท ทางพิเศษสายศรีรัช-ดาวคะนอง ระยะทาง 6.1 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 10,701 ล้านบาท ถนนรวมและกระจายการจราจรหรือซีดีโรด ระยะทาง 2 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 7,508 ล้านบาท

ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S2 ระยะทาง 7.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 28,722 ล้านบาท ทางพิเศษสายบางพูน-ธัญบุรี-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 19,000 ล้านบาท ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะทาง 36.7 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 67,529 ล้านบาท ทางพิเศษสุวรรณภูมิ (M1) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 26,900 ล้านบาท

ทางพิเศษสายพระราม 2-เพชรเกษม-นนทบุรี (ระบบทางด่วนขั้นที่ 5) ระยะทาง 28.3 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 43,538 ล้านบาท ทางพิเศษสายพระราม 4-ตากสิน-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 20.6 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 46,145 ล้านบาท และทางพิเศษสายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 8.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 14,749 ล้านบาท

โดยตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไปจนถึงปี 2552 ให้ กทพ.เร่งรัดงานก่อสร้างที่เปิดประกวดราคาไปแล้วจำนวน 7 สัญญา มูลค่า 11,789.11 ล้านบาท เช่น ทางด่วนสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ทางยกระดับต่อเชื่อมทางด่วนบางนา-บางปะกงกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทางเชื่อมต่อโครงการวงแหวนด้านใต้กับทางด่วนบางนา-บางปะกง ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางโครงการวงแหวนด้านใต้

16 โครงการ 2 หมื่นล้าน กทม.เนื้อหอม

ในปี 2550 นอกเหนือจากเค้กก้อนใหญ่อย่างโครงการรถไฟฟ้า 5 สายของกระทรวงคมนาคมแล้ว น่าจับตามอง คือ งานก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีงานใหญ่จ่อคิวรอเปิดประมูลอยู่ 16 โครงการ มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ล่าสุด กทม.กำลังร่างทีโออาร์และจะเปิดประมูลปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2550

ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างทางลอดถนนจรัญสนิทวงศ์-ถนนบรมราชชนนี ค่าก่อสร้าง 1,020 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางลอดถนนจรัญสนิทวงศ์-ถนนพรานนก ค่าก่อสร้าง 969 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางลอดถนนตากสิน-ถนนรัชดาภิเษก ค่าก่อสร้าง 1,156 ล้านบาท

โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนศรีนครินทร์ จากบริเวณแยกพัฒนาการถึงถนนสุขุมวิท 103 และโครงการทางลอดถนนศรีนครินทร์-ถนนสุขุมวิท 103 ค่าก่อสร้าง 1,979 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางลอดยกระดับถนนสุวินทวงศ์ ค่าก่อสร้าง 1,366 ล้านบาท โครงการก่อสร้างถนนพหลโยธิน-ถนนรัตนโกสินทร์สมโภช ค่าก่อสร้าง 1,044 ล้านบาท โครงการถนนหทัยราษฎร์ ค่าก่อสร้าง 1,000 ล้านบาท

โครงการสะพานข้ามทางแยกถนนรามคำแหง-ถนนวงแหวนตะวันออก ค่าก่อสร้าง 440 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางต่างระดับถนนพัฒนาการ-ถนนอ่อนนุช ค่าก่อสร้าง 975 ล้านบาท โครงการก่อสร้างถนนสะแกงาม ช่วงจากถนนพระรามที่ 2 ถึงถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ค่าก่อสร้าง 188 ล้านบาท โครงการถนนพุทธมณฑลสาย 1 ช่วงจากถนนเพชรเกษมถึงสุดเขต กทม. ค่าก่อสร้าง 715 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางลอดถนนศรีอยุธยา-ถนนพระรามที่ 6 ค่าก่อสร้าง 610 ล้านบาท เป็นต้น

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 01-01-2550 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.