| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 61 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-12-2549    อ่าน 11957
 รับเหมาดาวรุ่งชูกลยุทธ์แตกเพื่อโต ยกชั้นรับงานใหญ่-ปั้นบ.ลูกปั๊มยอด

ดาวรุ่งดวงใหม่วงการรับเหมาเรียนลัด หวังโตตามรอยระดับเมกะเพลเยอรŒของวงการ "ช.การช่าง-อิตาเลียนไทย" ใช้จุดแข็งเน้นคุณภาพงาน-ก่อสร้างเสร็จตรงเวลา พลิกวิกฤตเป็นโอกาส เจาะตลาดโครงการเอกชน ส่งผลงานล้นมือรายได้เพิ่มพรวด จนต้องปรับแผนแตกบริษัทลูกแยกรับงานเพื่อไม่ให้เสียโอกาสปั๊มยอด พร้อมยกระดับลุยประมูลโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่เพิ่ม จับตา "อาร์ทีเอช คอนสตรัคชั่น-ฑีฆาก่อสร้าง" มาแรง เล็งเข้าตลาดหุ้นระดมทุนหนุนสายป่านธุรกิจ

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แม้ปีนี้ธุรกิจรับเหมาก่อ สร้างจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง แต่ในภาพรวมไม่ได้แย่ลงทั้งหมด เพราะบางบริษัทยังมีลูกค้าล้นมือจนต้องเลือกรับงานเฉพาะงานที่มีมาร์จิ้นสูง

นอกจากนี้ยังมีการนำกลยุทธ์ "แตกเพื่อโต" มาปรับใช้ ด้วยการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมารับงาน จากนั้นก็แยกเซ็กเมนต์กลุ่มลูกค้าออกจากกันอย่างชัดเจน เป้าหมายเพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ โดยอาศัยหลักการตลาดที่สำคัญคือต้องมีสินค้าและบริการรองรับลูกค้าทุกเซ็กเมนต์ และยังพบด้วยว่าบริษัทขนาดกลางบางรายก็ขยายงานและยกระดับตัวเองขึ้นมารับงานขนาดใหญ่มูลค่าหลายร้อยล้านบาทด้วย

ยกตัวอย่างบริษัท อาร์ทีเอช คอนสตรัคชั่น จำกัด หรือชื่อเดิม บริษัท ฤทธาเหมราช จำกัด เป็นผู้รับเหมาที่เพิ่งจะแตกตัวออกมาจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง "ฤทธา" เพื่อรองรับปริมาณงานก่อสร้างที่เข้ามาจำนวนมาก เปิดฐานข้อมูลเข้าไปดูพบว่า กลุ่มนี้มีผู้ถือหุ้นหลัก 2 ราย คือ นายกมล โอภาสกิตติ อดีตเคยเป็นผู้บริหารของฤทธา และกลุ่มผู้บริหารจากเหมราช ถือหุ้นในสัดส่วน 51:49 กล่าวได้ว่าเป็นบริษัทที่น่าจับตามองเพราะเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งที่ก่อตั้งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันมีไซต์งานก่อสร้างของอาร์ทีเอช คอนสตรัคชัน กระจายตัวอยู่ครอบคลุมเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมากมาย ขณะเดียวกันได้รุกเข้าไปรับงานก่อสร้างโครงการคอนโดฯหลายโครงการ อาทิ โครงการของค่ายปริญสิริ เอพี ฯลฯ จากเดิมที่เติบโตมาจากการรับงานก่อสร้างในวัดธรรมกาย งานก่อสร้างในธุรกิจค้าปลีก ฯลฯ

"ถือเป็นการแตกเพื่อโต นอกจากอาร์ทีเอชฯ ก็มี ช.การช่าง ที่แตกบริษัท ช.การช่าง-โตกิว คอนสตรัคชั่น จำกัด ออกมารับงานในสเกลที่เล็กกว่า ส่วนที่มาแรงและขยายมารับงานขนาดใหญ่มากขึ้นมีบริษัทฑีฆาก่อสร้าง"

สำหรับบริษัทฑีฆาฯ เป็นบริษัทที่อยู่ในวงการรับเหมาก่อสร้างมานานกว่า 20 ปี เป็นกลุ่มวิศวกรที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นบริษัทขนาดกลางที่ค่อนข้างมาแรงในระยะหลัง และเริ่มสร้างชื่อขึ้นมาจนเป็นที่รู้จัก ล่าสุดรับงานก่อสร้างศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พลาซา (ส่วนขยาย) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

นายภาณุ เชาว์ปรีชา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ อาร์ทีเอช คอนสตรัคชั่น (RTH) เปิดเผยว่า ในส่วนของ RTH ไม่ถือว่าเป็นการแตกบริษัทออกมาจาก "ฤทธา" โดยตรงนัก เนื่องจากปัจจุบันผู้บริหารของอาร์ทีเอชฯต่างก็ไม่ได้มีหุ้นอยู่ในบริษัทฤทธาและเหมราชแล้ว

RTH ก่อตั้งเมื่อปี 2544 เนื่องจากขณะนั้นบริษัทฤทธามีงานเข้ามาล้นมือ ประกอบกับทางเหมราชสนใจร่วมทุนด้วย จึงชักชวนกันตั้งบริษัทฤทธาเหมราช ปัจจุบัน RTH มีพนักงานกว่า 400 คน เน้นรับงานก่อสร้างมูลค่า 200-300 ล้านบาท ขณะที่ฤทธาจะรับงานที่มีขนาดใหญ่กว่า

ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2545-2548 มีอัตราเติบโตต่อเนื่อง จาก 200 ล้านบาท เป็น 1,251 ล้านบาท 1,400 ล้านบาท 1,400 ล้านบาทเศษ และ ปี 2549 คาดว่าจะมีรายได้กว่า 1,800 ล้านบาท

ปี 2549 ถือเป็นปีที่มีงานเข้ามาก ปัจจุบันมีงานก่อสร้างในมือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท และหยุดรับงานใหม่มาตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา เพราะไม่สามารถทำได้ทัน แต่จะเริ่มกลับมารับงานอีกครั้งในเดือนมกราคม 2550

"สถานะของเราตอนนี้คล้ายๆ กับฤทธาในสมัยก่อนที่มีงานล้นมือ แต่เราไม่มีความคิดแตกบริษัทย่อยออกมาอีก แผนที่วางไว้จะอาศัยการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อรองรับการขยายงาน เร็วๆ นี้จะเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกเพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาท"

ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อยื่นไฟลิ่ง และคาดว่าจะสามารถนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯช่วงปลายปี 2550 ถึงต้นปี 2551 ตั้งเป้ากระจายหุ้นไม่เกิน 15% หรือคิดเป็นวงเงินระดมทุน 200-300 ล้านบาท

สัดส่วนรายได้ RTH ปัจจุบันมาจากงานภาคเอกชน 90% และภาคราชการ 10% ในอนาคตวางแผนขยายการรับเหมางานระบบให้มากขึ้น (งานไฟฟ้า-สุขาภิบาล) จากปัจจุบันใช้วิธีการซับงานให้กับผู้รับเหมารายอื่น สำหรับปี 2550 ตั้งเป้ารายได้ไว้ 2,200 ล้านบาท เติบโตขึ้น 20%

นายสมชาย วานิชวัฒน์ กรรมการ บริษัท ฑีฆาก่อสร้าง จำกัด เปิดเผยว่า การถูกมองว่าเป็นหนึ่งในบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มาแรง อาจเป็นเพราะปีนี้ขยายงานมารับงานก่อสร้างอาคารประเภทศูนย์การค้าเป็นครั้งแรก จากเดิมเป็นงานก่อสร้างอาคารสูง อาทิ คอนโดฯ อพาร์ตเมนต์ อาคารสำนักงาน โดยเริ่มต้นจากงานก่อสร้างอาคาร 6 ชั้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงศูนย์การค้าเซ็นทรัลทาวน์ รัตนาธิเบศร์ มูลค่า 200 ล้านบาท และสามารถก่อสร้างได้เสร็จตามกำหนดในเวลา 7 เดือน ทำให้มีงานก่อสร้างใหม่ๆ ของเซ็นทรัลเข้ามาต่อเนื่อง

ล่าสุด อยู่ระหว่างก่อสร้างโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พลาซา ซึ่งซับงานจากผู้รับเหมารายอื่นอีกทอดหนึ่ง และได้รับเชิญให้เข้าร่วมเสนอราคาก่อสร้างศูนย์การค้าเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ และส่วนต่อเติมศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระรามที่ 2

"ฑีฆาฯเป็นบริษัทก่อสร้างระดับกลาง อยู่ในวงการนี้มานาน จุดแข็งคือเน้นคุณภาพ และความรวดเร็ว เมื่อรับปากลูกค้าแล้วยังไงก็ต้องทันตามกำหนด คล้ายๆ กับฤทธา"

นายสมชายกล่าวต่อว่า ส่วนการแตกบริษัทลูกออกมารองรับเหมือน ช.การช่าง อิตาเลียนไทย หรือฤทธา ปัจจุบันฑีฆาฯมีบริษัทก่อสร้างในเครือชื่อ "โซลิด เกียร์" จากการร่วมทุนของฑีฆาฯและพาร์ตเนอร์ รับงานมูลค่าไม่เกิน 100-200 ล้านบาท โดยดำเนินธุรกิจมา 6-7 ปีแล้ว แต่ไม่ได้โปรโมตให้เป็นที่รู้จัก

ปี 2549 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้รวม 800 ล้านบาท ส่วนปี 2550 ตั้งเป้าไว้ท้าทายคือเติบโตขึ้น 100% หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท แผนที่วางไว้คือ 1)ขยายงานรับเหมาก่อสร้างศูนย์การค้า และ 2)ขยายงานรับเหมาก่อสร้างคอนโดฯ โดยเพิ่งได้รับงานโครงการ Life @ Thapra ของ บมจ.เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ มูลค่า 500 ล้านบาท

ปัจจุบันบริษัทปรับเพิ่มสัดส่วนการรับงานเอกชน 80% จากปี 2547 สัดส่วน 20% เนื่องจากการรับงานราชการในปัจจุบันมีกำไรน้อยและบางครั้งถึงกับขาดทุน เนื่องจากราคาวัสดุก่อสร้างผันผวนมาก

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 25-12-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.