| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 102 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 21-12-2549    อ่าน 11565
 รุมทึ้งลูกค้าคอนโดฯ "ได้ไม่คุ้มเสีย" จี้ ธอส. เตือนภัยโอเวอร์ซัพพลาย

ในโลกธุรกิจไร้พรมแดนยุคปัจจุบัน ข่าวสารข้อมูลมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการตัดสินใจ บนถนนสายอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน ใครมีข้อมูลอยู่ในมือมากกว่าย่อมได้เปรียบ แม้ยังอยู่ในช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้ แต่หลายบริษัทมองข้ามชอตไปถึงปีหน้าแล้ว

ทิศทางธุรกิจอสังหาฯปี 2550 จะเป็นอีกปีหนึ่งที่ตลาดบ้านระดับกลางอยู่ในสภาพที่ฝุ่นตลบ จากการโดดเข้ามาแจมของผู้ประกอบการทั้งรายหน้าเก่าหน้าใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ระดับกลางขึ้นไปจนถึงระดับบิ๊ก ที่น่าจับตามองเป็นพิเศษคือตลาดคอนโดมิเนียมในเมือง ที่ปีนี้กำลังเฟื่องแต่ปีหน้าจะแข่งกันหนักข้อยิ่งขึ้น

เพราะนอกจากโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและที่กำลังเปิดขายแล้ว ตัวโครงการใหม่ยังทยอยเปิดตัวในตลาดเป็นระยะๆ จนหลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วงว่าจะเกิดปัญหาโอเวอร์ซัพพลายซ้ำรอยยุควิกฤตเศรษฐกิจ

ล่าสุด "ขรรค์ ประจวบเหมาะ" กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ "สัมมา คีตสิน" รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส. ก็ออกมาย้ำอีกครั้งถึงสัญญาณอันตรายที่เริ่มส่อเค้าลางให้เห็น

แม้การออกมาส่งสัญญาณที่ดูเหมือนค่อนข้างจะล่าช้า จะทำให้ถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพในการสะท้อนข้อมูล และการเตือนภัยต่อสาธารณชน ซึ่งน่าจะรวดเร็วฉับไว เพราะศูนย์ข้อมูลอสังหาฯถูกคาดหวังไว้สูงก็ตาม

"ขรรค์" มองแนวโน้มธุรกิจอสังหาฯในปีหน้าว่า สิ่งที่เป็นห่วงมากที่สุดคือ ความเคลื่อนไหวลงทุนโครงการแนวสูงประเภทคอนโดฯ โดยเฉพาะตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังบูมอย่างมาก ยิ่งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชัดเจนกว่านี้ นอกจากในเมืองแล้ว คอนโดฯก็อาจจะขยายตัวออกสู่พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าแถบชานเมืองด้วย

หากมีโครงการใหม่เกิดขึ้นมาก และผู้ประกอบการไม่ระมัดระวังเรื่องการลงทุน อาจจะเกิดปัญหาโอเวอร์ซัพพลายตามมา เพราะเมื่อคอนโดฯเกิดใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเกิดปัญหาการขายกระดาษเปล่า การปั่นราคาที่ดิน ปั่นราคาห้องชุด และมีการเก็งกำไร ผู้บริโภคจึงต้องระมัดระวังในการซื้อ

"สิ่งสำคัญต้องพิจารณาตัวผู้ประกอบการว่าอยู่ในธุรกิจนี้ หรือมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโครงการหรือไม่ เพราะมีผู้ประกอบการที่ไม่เคยมีประสบการณ์เข้ามาขุดทองจำนวนมาก"

ปีหน้าแม้ ธอส.ไม่ถึงกับเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย แต่มีนโยบายเน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณ ในส่วนของการกู้ซื้อคอนโดฯจะปล่อยกู้ให้ 70% ของราคาประเมิน ตามหลักเกณฑ์ปกติ แต่จะพิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระ และการซื้อเพื่ออยู่อาศัยให้มากขึ้น ซึ่งน่าจะช่วยสกัดการซื้อเก็งกำไรและดีมานด์เทียมได้ส่วนหนึ่ง

ด้าน "สัมมา คีตสิน" ยกข้อมูลสถิติการออกใบอนุญาตก่อสร้างโครงการแนวสูง และยอดจดทะเบียนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จประเภทคอนโดฯขึ้นมาชี้ให้เห็นถึงความร้อนแรงของตลาดคอนโดฯและอาคารสูงที่หลายฝ่ายกำลังเป็นห่วง

โดยช่วงไตรมาส 2 ปี 2549 มียอดจดทะเบียนอาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลกับกรมที่ดิน 5,983 หน่วย เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่มียอดจดทะเบียน 748 หน่วย 700% เทียบกับไตรมาส 1-4 ปี 2548 ที่มียอดจดทะเบียน 2,528 หน่วย 2,545 หน่วย 2,556 หน่วย และ 3,264 หน่วยตามลำดับ

เมื่อแยกพิจารณาเฉพาะพื้นที่ กทม.ไตรมาส 2 ปี 2549 มียอดจดทะเบียน 4,453 หน่วย เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่ 748 หน่วย 495% ส่วนปี 2548 ที่ผ่านมามียอดจดทะเบียนอาคารชุดใน กทม.ดังนี้ ไตรมาส 1 รวม 2,300 หน่วย ไตรมาส 2 จดทะเบียน 2,169 หน่วย ไตรมาส 3 เท่ากับ 2,328 หน่วย และไตรมาส 4 จดทะเบียน 2,681 หน่วย

ส่วนการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารสูงเพื่ออยู่อาศัย ช่วงไตรมาส 2/2549 มียอดออกใบอนุญาตในเขต กทม.และปริมณฑลรวม 895 อาคาร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่อยู่ที่ 342 อาคาร 162% สำหรับยอดออกใบอนุญาตช่วงไตรมาส 1-4 ปี 2548 มีดังนี้

743, 469, 334 และ 249 อาคาร แยกพิจารณาเฉพาะ กทม.มียอดออกใบอนุญาตไตรมาส 2/2549 รวม 656 อาคาร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่มี 2541 อาคาร 172% ส่วนยอดออกใบอนุญาตช่วงไตรมาส 1-4 ปี 2548 มี 232, 172, 244 และ 163 อาคารตามลำดับ

ก่อนหน้านี้ "รศ.มานพ พงศทัต" ออกมาส่งสัญญาณจากการจับทิศและมองธุรกิจทะลุ ด้วยการชี้ให้จับตาดูตลาดคอนโดฯในเมืองที่กำลังมาแรง โดยเฉพาะโครงการคอนโดฯตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ราคา 1-3 ล้านบาท ที่ผู้ประกอบการพร้อมใจกันลงมาเล่นจำนวนมาก และไต่ระดับใกล้ถึงจุดพีกเต็มที ปรากฏการณ์ขายกระดาษเปล่า ซื้อเพื่อเก็งกำไร เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น

ด้าน ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า ปีหน้าสถานการณ์ตลาด "ซิตี้คอนโดฯ" ตามแนวรถไฟฟ้า ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากจำนวนซัพพลายที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจะทำให้ตลาดเกิดโอเวอร์ซัพพลายได้ จากปี 2548 มีผู้ประกอบการในธุรกิจนี้เพียงไม่กี่ราย แต่ขณะนี้หันมาทำคอนโดฯราคาล้านต้นๆ มากกว่า 50 รายแล้ว คิดเป็นจำนวนยูนิตกว่า 22,000 ยูนิต

"ผมมองว่าซัพพลายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดปีหน้าจะมีระดับใกล้เคียงกับปีนี้ หากเป็นอย่างนั้นสถานการณ์จะเริ่มน่ากลัว เพราะอย่าลืมว่าจำนวนหน่วยที่สร้างในปีนี้ไม่มีทางที่จะขายหมดแน่ อย่างน้อยเหลือไปขายปีหน้า 5,000 ยูนิต รวมกับของใหม่จะยิ่งทำให้ขายยากขึ้น"

อย่างไรก็ตาม ปีหน้าผู้ประกอบการรายใหญ่จะค่อยๆ "ชิป" ไปพัฒนาโครงการแนวราบมากขึ้น โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์ราคา 1-2 ล้านบาท อาจทำให้สถานการณ์ดีขึ้น เพราะตลาดนี้ซึ่งไม่น่ากลัวเท่ากับซิตี้คอนโดฯที่กำลังจะล้น

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 21-12-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.