| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 93 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 21-12-2549    อ่าน 11343
 จับกระแส "เสียงบาดหู" "ชาวหมู่บ้านเคหะนคร" ร้องขอความเป็นธรรม ค่าชดเชยต้องสมราคา

"เราไม่ใช่หมู่บ้านคนรวย เราร้องขอเพราะเดือดร้อนจริงๆ แต่ ทอท.ไม่เคยเหลียวแล ลอตแรก 71 หลังคาเรือนก็ไม่มีชื่อหมู่บ้านเรา ทั้งที่อยู่ใกล้สนามบินมาก ไม่รู้สำรวจยังไง"

"เราอยู่มานานเป็น 10 ปี ลงจากรถเมล์ก็ถึงบันไดบ้านแล้ว จะมาเสนอซื้อในราคาถูกๆ เราก็ไม่ยอมขายหรอก"

"ตกลง ทอท.จะเอายังไงแน่ ซื้อคืนหรือไม่ซื้อคืน ให้ข่าวแบบนี้ชาวบ้านสับสนนะ"

นี่คือเสียงสะท้อนของชาวหมู่บ้านเคหะนคร 2 ที่โทรศัพท์เข้ามา หลังจากที่ "ประชาชาติธุรกิจ" เสนอข่าวเกี่ยวกับผลกระทบทางเสียงจากการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ

เรื่องนี้ยังเป็นปัญหาหนักอก ทั้งผู้บริหารบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.และรัฐบาลที่ยังแก้ไม่ตก และดูทีท่าว่าเรื่องจะยืดเยื้อออกไป เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่ตกผลึกว่าแนวทางแก้ไขจะออกมายังไง

อยู่ระหว่างรอดูผลสำรวจที่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จะนำมาเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ตามแนวร่องเสียงใหม่

ที่กระจายออกไปจากร่องเสียงเดิมมาก หลังจากเปิดใช้สนามบินอย่างเป็นทางการ ถึงจะสรุปเรื่องทุกอย่างได้ ทั้งขนาดพื้นที่ ผู้ได้รับผลกระทบ วงเงินชดเชย แม้ว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะเห็นชอบหลักการไปแล้ว วงเงิน 7,000 ล้านบาท จำนวน 222 หลังคาเรือน

ขณะที่ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ร่องเสียงการขึ้น-ลงของเครื่องบิน NEF มากกว่า 40 ร้อนใจอยากได้เงินชดเชยเร็วๆ เพื่อจะได้หาที่อยู่ใหม่ เนื่องจากรอคอยความช่วยเหลือจาก ทอท.มาหลายเดือน แต่ยังไม่มีความคืบหน้า ทำให้ชาวบ้านส่งเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้รัฐบาลและ ทอท.เร่งมือดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว

ระหว่างรอความชัดเจนในการจัดการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. "โชติศักดิ์ อาสภวิริยะ" ได้ลงพื้นที่หมู่บ้านต่างๆ ดูสารทุกข์สุกดิบของชาวบ้าน มีทั้งหน่วยแพทย์และเครื่องใช้และน้ำ แจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนทุกสัปดาห์ พร้อมกับประกาศว่า "ทอท.ไม่ได้ทอดทิ้ง อยู่เคียงข้างเสมอ และจะเร่งหาวิธีการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน"

ส่วนความคืบหน้าการเจรจากับชาวบ้านลอตแรก จำนวน 71 หลังคาเรือน ที่ดิน 48 แปลง ที่ ทอท.ใช้เงินของตัวเองชดเชยวงเงิน 390 ล้านบาท บทสรุปราคาออกมาต่ำสุดอยู่ที่ตารางวาละ 15,000 บาท สูงสุดอยู่ที่ตารางวาละ 52,000 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพทำเล

ปรากฏว่ามีชาวบ้านยอมขายให้ ทอท.แค่ 3 แปลง อาคารอยู่อาศัย 8 หลังคาเรือน เป็นเงิน 43 ล้านบาท แปลงที่ 1 และ 2 เป็นร้าน คาราโอเกะ อยู่ริมถนนลาดกระบัง ทอท.เสนอราคา 52,000 บาทต่อตารางวา แปลงที่ 3 เจ้าของบ้านได้ทำถนนซอยเอง ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 30-40 เมตร ทอท.เสนอราคา ตารางวาละ 28,000 บาท ส่วนที่เหลือมีทั้งตกลงราคาไม่ได้ เสนอให้ซื้อควบกับแปลงที่อยู่ติดกัน ปรับปรุงให้เฉยๆ และติดต่อเจ้าของไม่ได้

ผลจากการเจรจาในลอตแรกนี้ จะใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการเจรจาในลอตต่อไป แต่จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้การเจรจาซื้อกับชาวบ้านไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ล่าสุด ทอท.มีไอเดียจะปรับวิธีการเจรจาใหม่เพื่อความรวดเร็ว

โดยจะเข้าไปปรับปรุงบ้านให้อย่างเดียว พร้อมกับเงินชดเชยก้อนหนึ่ง แต่จะไม่มีการเจรจาซื้อคืน ซึ่งถ้าทางคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.เห็นชอบวิธีการนี้ จะใช้กับลอตที่เหลือต่อไป แต่ทั้งหมดยังไม่ใช่บทสรุปสุดท้ายเสียทีเดียว ต้องรอให้ผู้บริหารทอท. บอร์ด ทอท. กระทรวงคมนาคมและ ครม.เห็นชอบเสียก่อน

ดูแล้วประเด็นหลักอยู่ที่ "ค่าชดเชย" ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ทางที่ดีทั้ง ทอท.และชาวบ้านควรจะทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การคิดค่าชดเชยให้ตกกันเสียก่อน ว่ามาตรฐานอยู่ตรงไหน และวิธีการคิดเป็นยังไง

ด้านหลักเกณฑ์การประเมินค่าชดเชยของ ทอท. ในส่วนของที่ดินจะคิดมูลค่าตามราคาซื้อขายในตลาด ณ วันที่ได้ประเมิน ซึ่งเป็นราคาที่หลักฐานการซื้อขายจริงที่สามารถอ้างอิงได้

ไม่ใช่ราคาซื้อขายแบบปากเปล่า ส่วนสิ่งปลูกสร้างประเมินตามราคาวัสดุก่อสร้างของกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ประเมิน ใช้ค่าแรงของสำนักงบประมาณ บวกค่าเดินทางของผู้รับเหมาให้อีก 30% โดยไม่หักค่าเสื่อม นอกจากนี้ยังให้ค่าชดเชยด้านจิตใจอีก หลังละ 30,000-100,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของบ้าน

ขณะที่ชาวบ้านที่ได้รับใบเสนอราคาของ ทอท.แล้ว มีหลายรายที่ไม่ยอมรับราคา เพราะเห็นว่าราคาที่ ทอท.เสนอนั้นประเมินต่ำไป ยังไม่พอที่จะไปซื้อบ้านหลังใหม่ได้ และมีบางรายจะ จ้างบริษัทประเมินเอกชนมาประเมินเอง ทุกอย่างยังไม่ลงตัว

ฟาก "แคล้ว ทองสม" ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน (ปท.) กรมธนารักษ์ ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษา

บอกว่า ขณะนี้กำลังตรวจสอบราคาที่บริษัทประเมินเอกชนซึ่ง ทอท.จ้างมาดำเนินการอยู่ ยังไม่ทราบรายละเอียดอะไรมาก

แต่เท่าที่ดูหลักเกณฑ์แล้ว ถือว่าเหมาะสมแล้ว โดยเฉพาะการประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีอยู่ 62 รายการ ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องตรวจสอบทุกรายการ

"ผมขอแนะนำให้ดูให้ครบทุกรายการ ทั้งค่าแรงและราคาวัสดุก่อสร้าง ถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมทำเรื่องถึง ทอท.ให้พิจารณาใหม่ ผมจะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงให้"

เห็นแบบนี้แล้วเรื่องนี้ไม่จบลงง่ายๆ แน่

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 21-12-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.