| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 85 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-12-2549    อ่าน 11375
 แกะรอย 2 ปี "แอร์พอร์ตลิงก์" ผลงานก่อสร้างหลุดเป้ามโหฬาร

จะครบ 2 ปีแล้ว แต่งานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ "แอร์พอร์ตเรลลิงก์" (พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) มูลค่า 26,000 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยังไปไม่ถึงไหน คืบหน้าแค่ 45.09% ล่าช้าอยู่ 29.86% จากแผนที่ตั้งไว้ 74.95%

ปัจจุบันความก้าวหน้าของโครงการ งานโยธาทำได้จริง 36.07% จากแผน 69.21% ล่าช้า 33.13% โดยตลอดระยะทาง 28 กิโลเมตร มีการสร้างตอม่อยกระดับและวางระบบเซ็กเมนต์ (ชิ้นส่วนสำเร็จรูป) ประปรายในบางจุด เหลือเฉพาะส่วนที่ผู้รับเหมายังเข้าพื้นที่ไม่ได้ เช่น คลองตัน นาซ่า เป็นต้น เนื่องจากผู้รับเหมาเพิ่งเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ งานระบบทำได้จริง 53.23% จากแผน 80.14% ล่าช้า 26.91%

มาดูต้นเหตุของความล่าช้า ตั้งแต่วันเริ่มต้นสัญญาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2548 มีสารพัดปัญหาตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ หลักๆ คือการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า เพราะติดปัญหาการรื้อย้ายชุมชนตามแนวเขตทางรถไฟ การรถไฟฯในฐานะที่เป็นเจ้าภาพไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้

ล่าสุดยังติดปัญหารื้อย้ายที่ "ชุมชนเดชา" ย่านพญาไท 135 หลังคาเรือน แม้การรถไฟฯรับปากจะส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ โดยจะให้ค่าชดเชยการรื้อย้ายหลังละ 5-6 หมื่นบาท

แต่ดูความเป็นไปได้แล้วยากมาก ที่จะให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่มาหลายชั่วอายุคนย้ายออกไปกับเงินค่าชดเชยจากการรถไฟฯ เพียง "5-6 หมื่นบาท" ดังกล่าว

นับเป็นบทเรียนราคาแพงของการรถไฟฯที่ไประบุไว้ในสัญญาว่า จะต้องส่งมอบพื้นที่ให้ภายใน 90 วัน นับจากวันที่เซ็นสัญญา ทั้งที่รู้อยู่เต็มอกว่าย้ายคนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด แม้ว่าจะเป็นที่ดินของการรถไฟฯก็ตาม

ว่ากันว่า อาจจะเป็นเพราะว่าการรถไฟฯไม่มีประสบการณ์ในการดูแลงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ทำให้ไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร และมีวิธีแก้ไขยังไง แถมยังไม่มีใครเป็น "เจ้าภาพ" แก้ปัญหาอย่างจริงจัง

บ้างก็ว่าเป็นเพราะการรถไฟฯไม่มีเงินค่ารื้อย้ายอยู่ในมือ จึงปล่อยให้เรื่องบานปลาย ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเพราะที่ผ่านมาพบว่าการรถไฟฯยังติดค้างค่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาอยู่ 9 งวด คิดเป็นเงินประมาณ 108 ล้านบาท

ที่ผ่านมาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ทั้งผู้รับเหมาคือกลุ่มบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และการรถไฟฯ ไม่ได้หันหน้าเข้าหากัน ต่างฝ่ายต่างพูดกันคนละที ทำให้จูนกันไม่ค่อยติด

ขณะที่ "ศิวะ แสงมณี" ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯ ฟันธงความล่าช้าของแอร์พอร์ตลิงก์เกิดจาก 3 ปัญหาใหญ่ คือ

1. มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบให้ผู้รับเหมา เสนอแบบก่อสร้างมาทั้งมีเตอร์เกตและสแตนดาร์ดเกต 2.ผู้รับเหมาขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยประเมินจากแรงงานและเครื่องจักรที่เข้าพื้นที่ก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผนงาน บางพื้นที่เข้าไปได้แต่ผู้รับเหมาไม่ยอมเข้าไป 3.อุปสรรคที่การรถไฟฯไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ได้มี 6 แห่ง ได้แก่ ชุมชนเดชา อาคารพาณิชย์โอเอ บ้าน 3 หลังริมคลองแสนแสบ ชุมชนคลองตัน อาคารนาซ่า สเปซี่โดมและที่จอดรถบริเวณนาซ่าเวกัส

"ผมไม่ทราบว่าตอนประกวดราคา ผู้รับเหมาคำนึงถึงหรือเปล่าเรื่องการรื้อย้าย ถ้าทำรอบคอบเวลาคงไม่ล่าช้าแบบนี้ ฉะนั้น จะนำความไม่พร้อมของบริษัทมาเป็นข้ออ้างในการขอขยายเวลาก่อสร้างไม่ได้ เพราะไม่เคยมีใครบังคับให้เข้ามาประกวดราคา และควรจะเตรียมตัวก่อนจะเข้ามารับงานโครงการนี้"

ประธานบอร์ดการรถไฟฯ ย้ำด้วยว่า ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอคงจะขยายสัญญาให้ไม่ได้ ทางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างจะต้องเร่งรัดการก่อสร้างให้เสร็จเร็วขึ้น ตามแผนใหม่จะเสร็จเดือนมิถุนายน 2551 โดยควรเร่งรัดให้เสร็จในเดือนเมษายน 2551 เพื่อเป็น "ผลงาน" ในการช่วยแบ่งเบาภาระคนเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิที่เสียค่าใช้จ่ายสูง

"ส่วนการขยายเวลานั้น ตามสัญญาผู้รับเหมาจะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อมีการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างหมดแล้ว หลังจากนั้น 15 วัน ผู้รับเหมาถึงจะทำเรื่องเสนอมาขอขยายเวลาได้ ถ้าสิ้นเดือนนี้การรถไฟฯมอบพื้นที่ให้เสร็จ วันที่ 15 มกราคมปีหน้าผู้รับเหมาถึงจะส่งเรื่องมาให้พิจารณาได้ แต่ต้องดูเหตุผลว่าเพราะอะไรและให้ได้กี่วันจากที่ขอมาและจะขยายเวลาให้เท่านั้น จะไม่ให้เม็ดเงินชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น"

ฟังจากที่ประธานบอร์ดการรถไฟฯออกมาพูดแบบนี้แล้ว ดูเหมือนปัญหาทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น เป็น "ความรับผิด (ชอบ)" ของผู้รับเหมาก่อสร้างคนเดียว

ด้านผู้รับเหมาก่อสร้างยืนยันว่า กรณีจะเร่งงานก่อสร้างให้เสร็จเร็วขึ้นนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะเนื้องานโครงการนี้เป็นขั้นตอนที่เร่งรัดไม่ได้ ไม่เหมือนงานก่อสร้างอื่นๆ แต่ละงานมีกำหนดเวลา ยกตัวอย่าง การวางเซ็กเมนต์ใช้เวลาเดือนละ 600 ชิ้น จะแล้วเสร็จเดือนตุลาคมปีหน้า และงานก่อสร้างตอนนี้ล่าช้าอยู่ถึง 15 เดือน แต่ขณะที่เหลือแค่ปีเศษ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ล่าช้าอยู่ 11 เดือน

"บริษัทได้ทำหนังสือขอขยายเวลาไปยังการรถไฟฯออกไปอีก 557 วัน เพราะการรถไฟฯไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ชุมชนเดชาให้ ระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนี้บริษัทจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเอง ประมาณ 360 ล้านบาท"

ข้อมูลที่พรั่งพรูจากฟากผู้รับเหมาออกอาการ "เสียรังวัด" ไม่น้อย ก็คือ "...บริษัทไม่ได้ขาดสภาพคล่องแต่อย่างใด การที่ให้คนงานเข้าพื้นที่น้อย สาเหตุหลักเพราะเข้าพื้นที่ก่อสร้างไม่ได้ ถ้าให้คนงานและเครื่องจักรเข้าพื้นที่เต็มแต่เริ่มงานไม่ได้ ก็เท่ากับต้องแบกรับภาระเพิ่มโดยเปล่าประโยชน์"

กล่าวโดยสรุป ผู้รับเหมาไม่ได้อยากจะต่อเวลา ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ...
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 14-12-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.