| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 90 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 04-12-2549    อ่าน 11651
 พระราชทานนาม "พระราม 4" สะพานข้ามเจ้าพระยาแห่งใหม่เชื่อม กทม.-นนท์

8 ธันวาคม 2549 นี้ จะได้ฤกษ์เปิดใช้โครงการถนนต่อเชื่อมและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณห้าแยกปากเกร็ด หรือ "สะพานพระราม 4" อย่างเต็มโครงการ แบบไม่เป็นทางการ หลังจากใช้เวลาก่อสร้าง กว่า 3 ปี

"ช่วงนี้ถนนแจ้งวัฒนะทั้งเส้นมีการก่อสร้างมาก ทั้งศูนย์ราชการ สะพานข้ามแยก ล่าสุดก็อุโมงค์ทางลอดห้าแยกปากเกร็ด รวมถึงถนนงามวงศ์วาน และรัตนาธิเบศร์ ที่มีการก่อสร้างสะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า ทำให้การจราจรถูกบีบ ปัจจุบันรถจึงติดมาก ถ้าเราเปิดโครงการนี้ได้เร็วขึ้น จะช่วยให้การจราจรกระจายตัวได้อย่างกว้างขวาง" นายระพินทร์ จารุดุล อธิบดีกรมทางหลวงชนบทคนใหม่ บอกถึงเหตุผลของการทดลองเปิดใช้ถนนและสะพานแห่งใหม่ล่วงหน้าก่อนกำหนด

"ส่วนจะเปิดอย่างเป็นทางการวันไหนนั้น ต้องขออนุมัติจากกระทรวงคมนาคมก่อน อีกอย่าง ต้องรอให้งานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ด้วย ขณะนี้งานก่อสร้างคืบหน้า 96.5% แล้ว ยังเหลืองานเก็บรายละเอียดและตกแต่งแลนด์สเคปต่างๆ คาดว่าคงใช้เวลาไม่นาน ยังไงเสร็จก่อนกำหนด วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 อย่างแน่นอน"

ตามคำบอกเล่าของอธิบดีกกรมทางหลวชนบท โครงการสะพานพระราม 4 เมื่อเปิดใช้บริการอย่างเต็มรูปแบบโครงการแล้ว จะช่วยระบายการจราจรบนถนนที่อยู่ใกล้เคียงได้อย่างมาก นอกจากถนนแจ้งวัฒนะ มีถนนติวานนท์ ถนนรัตนาธิเบศร์ สะพานพระนั่งเกล้า สะพานนนทบุรี หรือสะพานนวลฉวี ถนน 345 ที่ปัจจุบันปริมาณการจราจรหนาแน่น เพราะโครงข่ายมีการต่อเชื่อมกับถนนเดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ใช้เส้นทางมีทางเลือกในการเดินทางเพิ่ม

"สะพานพระราม 4 จะช่วยแบ่งเบาการจราจรบนสะพานพระนั่งเกล้าได้มาก ประมาณ 30% จากปริมาณการจราจรในปัจจุบัน 80,000 คันต่อวัน สะพานนวลฉวีลดได้ 20% จากปริมาณการจราจร 40,000-50,000 คันต่อวัน เพราะเมื่อโครงการนี้เปิดใช้คาดว่าจะมีปริมาณการจราจร 30,000-40,000 คันต่อวัน หรือ 2,000-4,500 คันต่อชั่วโมง"

นายระพินทร์ยังบอกอีกว่า โครงการ "สะพานพระราม 4" นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรแล้ว ยังช่วยลดระยะเวลาการเดินทางให้สั้นและรวดเร็วขึ้น ในการเดินทางเข้าเมือง เช่น สาทร สีลม เพราะสามารถต่อเชื่อมกับถนนราชพฤกษ์ สะพานพระราม 5 อีกทั้งยังเป็นการรอรับการ เดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิได้อีกทางหนึ่งด้วย

โดยผู้ที่เดินทางมาจากรัตนาธิเบศร์หรืออีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามปากเกร็ด สามารถใช้สะพานนี้วิ่งไปบนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา ถนนวงแหวนรอบนอก หรือจะขึ้นทางด่วนที่ถนนแจ้งวัฒนะก็ได้

"ที่สำคัญยังเป็นการเปิดการพัฒนาพื้นที่ของฝั่งแม่น้ำตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้อีกด้วย ปัจจุบันจะเห็นว่ามีโครงการบ้านจัดสรรเข้าไปจับจองพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยกันจำนวนมาก โดยเฉพาะถนนราชพฤกษ์ตัดใหม่" อธิบดีกรมทางหลวงชนบทย้ำให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการ

จากข้อมูลของกรมทางหลวงชนบท โครงการถนนต่อเชื่อมและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณห้าแยกปากเกร็ด ในส่วนของตัวสะพานได้รับพระราชทานชื่อว่า "สะพานพระราม 4" มีจุดเริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ ก่อสร้างเป็นทางยกระดับข้ามห้าแยกปากเกร็ด ต่อเนื่องกับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมเชิงลาด มีความยาว 2.6 กิโลเมตร และถนนขนาด 6 ช่องจราจร ความยาว 1.57 กิโลเมตร ซึ่งใช้ชื่อว่า "ถนนชัยพฤกษ์"

โดยแนวเส้นทางจะไปบรรจบกับแนวสายทางด้านแนวเหนือใต้ หรือถนนราชพฤกษ์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากจุดบรรจบถนนราชพฤกษ์ บริเวณจุดตัด ถนนรัตนาธิเบศร์ มุ่งขึ้นทางทิศเหนือบรรจบทาง หลวงหมายเลข 345 ความยาว 9.55 กิโลเมตร มีทางแยกต่างระดับ 2 แห่ง คือ จุดบรรจบถนนชัยพฤกษ์ ที่เชื่อมต่อกับสะพานพระราม 4 และ จุดบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 345

และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ กรมทางหลวงจะก่อสร้างถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์-ถนน กาญจนาภิเษก แนวตะวันออก-ตะวันตก ระยะทาง 5 กิโลเมตร เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร แนวโครงการเริ่มต้นที่ถนนกาญจนาภิเษกบริเวณทางแยกตัดกับถนน 3215 หรือถนนบางกรวย-ไทรน้อย ไปเชื่อมต่อบริเวณทางแยกต่างระดับของโครงการสะพานพระราม 4 ซึ่งจะช่วยเสริมโครงข่ายคมนาคมโซนตะวันตกนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ปัจจุบันกรมทางหลวงชนบทกำลังเวนคืนที่ดิน แม้ในปีงบประมาณ 2550 จะไม่ได้รับการจัดสรรงบฯเวนคืนให้ แต่จะโยกงบฯเวนคืนจากโครงการสะพานนนทบุรี 1 ที่ได้รับอนุมัติไปประมาณ 1,900 กว่าล้านบาท วงเงิน 64 ล้านบาท มาจ่ายให้กับผู้ถูกเวนคืน จำนวน 53 ราย ในหมู่บ้านภัทราวรรณไปก่อน เพื่อไม่ให้โครงการชะงัก จากนั้นปี 2551 ถึงจะของบประมาณใหม่

กรมทางหลวงชนบทยืนยันช่วงแนวตะวันออก-ตะวันตก มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องก่อสร้าง เพราะจะช่วยให้โครงข่ายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนช่วง ที่เหลือแนวเหนือ-ใต้ยังชะลอออกไปได้ เพราะปริมาณการจราจรไม่ค่อยสูงนัก

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 04-12-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.