| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 96 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 30-11-2549    อ่าน 11467
 สถาปนิกฯผนึก "อิโคโมสไทย" อนุรักษ์มรดกชาติเพื่อความยั่งยืน

"นับเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2511 ที่กลุ่มสถาปนิก ข้าราชการ นักวิชาการ และภาคเอกชน ต่างเห็นความสำคัญกับงานอนุรักษ์ สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า และได้รวมตัวกันทำงานภายใต้สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้ชื่อ "กรรมาธิการวิชาการ สาขาอนุรักษ์ศิลปกรรม" ต่อมาได้ใช้ชื่อใหม่ว่า "กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม เพื่อร่วมทำกิจกรรมตอบแทนสังคม" สิน พงษ์หาญยุทธ์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ กล่าวเปิดประเด็นเมื่อครั้งพาสื่อมวลชนร่วมในพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างสมาคมสถาปนิกสยามฯกับอิโคโมสไทยที่ผ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้ ณ จังหวัดอุดรธานี

กล่าวถึง "อิโคโมสไทย" ถือเป็นองค์กรอิสระทางด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมตัวแทนประเทศไทยในอิโคโมสสากล ทั้งนี้เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ซึ่งจัดว่ามีบทบาทและความน่าเชื่อถือมาก

โดยล่าสุด กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้พัฒนางานด้านอนุรักษ์ไปสู่ความร่วมมือระหว่างองค์กร หลังเซ็นเอ็มโอยู หลายฝ่ายคาดหวังว่าการสร้างและขยายเครือข่ายงานอนุรักษ์มรดกและวัฒนธรรมน่าจะแพร่หลายและเข้มแข็งยิ่งขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของทั้งสองฝ่าย รวมถึงการขยายฐานกลุ่มเป้าหมายและผู้ประกอบอาชีพสถาปัตยกรรมให้ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว

ทั้งคาดหวังว่า กิจกรรมงานอนุรักษ์คงจะมีการบอกกล่าวรับข่าวสารอย่างทั่วถึงกันทั้ง 6,000 คน ภายใต้การทำงาน 4 แนวทาง คือ การจัดกิจกรรมทางวิชาการด้านอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม การจัดกิจกรรมสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม การบริการวิชาการด้านการ อนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม และการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลด้านการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม

นอกจากนี้ สามคมสถาปนิกสยามฯและอิโคโมสไทย ยังได้เข้าร่วมการจัดการประชุมประจำปี อิโคโมสไทยครั้งที่ 3 และการประชุมวิชาการนานาชาติขึ้น ภายใต้หัวข้อ "การอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ในแนวทางบูรณาการข้ามศาสตร์" เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิก นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ตลอดจน ผู้ที่สนใจการอนุรักษ์ ได้พบปะ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการประชุม ซึ่งถือเป็นช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการอนุรักษ์ ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นด้านการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมระหว่างกลุ่ม นักอนุรักษ์ด้วยกัน เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์ มรดกสถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืนร่วมกัน

การจัดการประชุมดังกล่าว ได้รับเกียรติจากวิทยากรชั้นนำมาบรรยายในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ดร.พิสิฐ เจริญวงศ์ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน" ดร.ธาดา สุทธิธรรม คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายในหัวข้อ "การลดความยากจนด้วยการบริหารจัดการทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในแนวทางการบูรณาการ ข้ามศาสตร์"

ด้านนางปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส อุปนายกฝ่ายอนุรักษ์สมาคม เปิดเผยว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับประเทศ และการที่จะอนุรักษ์สิ่งใดไว้นั้นทุกคนต้องร่วมมือกัน คนเพียงกลุ่มเดียวหรือองค์กรเพียงองค์การเดียวไม่สามารถที่จะดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์เพียงลำพัง ต้องอาศัยความร่วมมือจาก ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน รัฐบาล ชุมชน ประชาชน เพื่อเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายแบบครบวงจร อันที่จริงแล้วประเทศไทยมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้เยอะมาก แต่คนไทยไม่ได้ใส่ใจมากนัก

นายอารักษ์ สังหิตกุล อธิบดี กรมศิลปากร ประธานอิโคโมสไทย เปิดเผยว่า ปีนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า ได้เกิดอุทกภัยในประเทศ สถาปัตยกรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ต่างก็ได้รับความเสียหายเป็นจำนวน คาดว่าต้องใช้งบประมาณถึง 400 ล้านบาทในการนำมาปรับปรุงและซ่อมแซม ขณะนี้ในบางจังหวัดยังไม่ได้ลงไปดูแลและประเมินค่าความเสียหายอย่างจริงจัง เนื่องจากน้ำยังไม่ลด คงต้องรอให้น้ำแห้งจึงจะสามารถประเมินค่าความเสียหายได้ แต่ในพื้นที่ถูกน้ำท่วมนั้นคิดว่าสัดส่วนไม่ถึง 10% ที่ได้รับความเสียหาย โดยดูในภาพรวมทั้งประเทศ ซึ่งทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ 4-5 พันแห่ง นายอารักษ์กล่าว

สำหรับงบประมาณในการจะมาซ่อมแซมบูรณะนั้น ส่วนหนึ่งได้มาจากงบประมาณของรัฐบาล อีกส่วนหนึ่งจะได้จากสปอนเซอร์ องค์กรเอกชน หน่วยงานทางราชการที่ให้ความสนใจ ซึ่งในปี 2548 นั้น ได้รับงบประมาณจากภาคเอกชนถึง 30 ล้านบาท เช่น จากบริษัทกรุงเทพประกันภัย 5 ล้านบาท ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล 6 ล้านบาท ฯลฯ และต่อไปจะมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารออกไปให้มากกว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนเกิดจิตสำนึกที่ดี และสร้างประโยชน์ให้กับสังคม รู้จักที่หวงแหนมรดกอันล้ำค่าเหล่านั้นไว้ เพราะ สิ่งสำคัญ คือ คนในพื้นที่เป็นเจ้าของสิ่งเหล่านั้น คนในท้องถิ่นต้องมีส่วนในการดำเนิการต่างๆ ของทางสมาคม และอิโคโมสไทยด้วย และคาดว่าต่อไปจะมีการผลักดันให้เกิดการตั้งขึ้นเป็นกระทรวงให้ได้ ที่ผ่านมาก็ได้มีการร้องขอไปหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องมีปัจจัยหลายประการเข้ามาเกี่ยวข้อง นายอารักษ์กล่าว

นายสิน พงษ์หาญยุทธ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ที่กลุ่มสถาปนิก ข้าราชการ นักวิชาการ องค์กรเอกชน ที่เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า รวมตัวกันทำงาน ในนามกรรมาธิการวิชาการอนุรักษ์ศิลปกรรม เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าของชาติ วันนี้จึงได้มีการลงนามทำสัญญาร่วมกัน เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการ อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมของประเทศไทย ให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมของทั้ง 2 องค์กร รวมทั้งเป็นการขยายฐานกลุ่มเป้าหมาย และผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมให้ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านการอนุรักษ์มากยิ่งขึ้น การลงนามในครั้งนี้นับเป็นการเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ที่สำคัญอันจะเป็นรากฐานที่ดีแห่งการอนุรักษ์ต่อไป

"อยากให้ประชาชนและคนในชุมชนเห็นความสำคัญ ไม่อยากให้คนไทยลืมเลือนความเป็นไทย ถ้าคนในท้องถิ่น ในชุมชน ไม่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์แล้ว ฝ่ายของทางสมาคมก็ต้องทำงานหนักขึ้นไปอีก อยากให้ทุกคนร่วมมือกันในการอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าของไทยไว้ และการอนุรักษ์ไว้นั้นก็สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อีกด้วย เพราะจะเป็นการอนุรักษ์เชิงท่องเที่ยวไปด้วยอีกทางหนึ่ง"

อนาคตอันใกล้จะให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทำหน้าที่รักษา ไม่ใช่แค่การพบปะสังสรรค์ แต่อยากทำให้เกิดการบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยอาจจะมีการบันทึกเรื่องราวและนำไปพิมพ์เป็นเล่ม และคิดว่าเรื่องราวของการอนุรักษ์เป็นเรื่องราวที่ทุกคนในสังคมมีส่วนเกี่ยวข้อง การดำเนินการจะต้องไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่ต้องมีพัฒนาการก้าวต่อไป และจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาวัตถุสิ่งของเหล่านั้นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะถ้ารู้จักแต่การอนุรักษ์ แต่ไม่รู้จักการบำรุงรักษาที่ถูกต้องการอนุรักษ์นั้นก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์อย่างแน่นอน

ก่อนหมดปี 2549 จะมีการจัดการประกวดการอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม 3 ประเภท คือ อาคาร ชุมชน บุคคลและองค์กร ผู้ชนะใจกรรมการจะได้รับถ้วยพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพฯ และทุกปีจะมีการจัดแสดงผลงานให้เชยชม

เพื่อลูกหลานและคนรุ่นใหม่จะได้รู้ซึ้งถึงคุณค่าวัฒนธรรมของเราชาวไทยต่อไปไม่สิ้นสุด


โดย จันทิมา ขุนชำนาญ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 30-11-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.