| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 95 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 30-11-2549    อ่าน 11480
 การุญ จันทรางศุ นายก ว.ส.ท. ไขคำตอบ "งาน" ก่อสร้างยังขาดมาตรฐาน ?

เคยนั่งเก้าอี้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร (กทม.) รับผิดชอบดูแลงานด้านโยธาฯ ยุคผู้ว่าฯ "กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา" บวกกับบทบาทความเป็นนักวิชาการ ทั้งยังมีประสบการณ์ทำงานในฐานะวิศวกรที่ผ่านประสบการณ์มาอย่างโชกโชน ทำให้ "การุญ จันทรางศุ" หรือ "ด็อกเตอร์เค" ได้รับความไว้วางใจในการโหวตจากคนในแวดวงวิศวกรให้นั่งในตำแหน่งนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) มาได้พักหนึ่งแล้ว

ล่าสุด "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสสัมภาษณ์ถึงนโนบายภายหลังจากเข้ามารับตำแหน่งนายก ว.ส.ท.

รวมถึงความเห็นมุมมองเกี่ยวกับปัญหาบ้านที่ได้รับความเสียหายจากโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมในเมือง และการใช้ประโยชน์ที่ดินในย่านสนามบินสุวรรณภูมิ

- นโยบายและสิ่งที่คิดจะทำหลังจากรับตำแหน่ง

จริงๆ หน้าที่หลักของ ว.ส.ท.ก็คือผลิต "มาตรฐานด้านงานวิศวกรรม" เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงหรือคู่มือในการประกอบวิชาชีพของวิศวกร เพราะวิชาชีพวิศวกรบางสาขาเป็นเรื่องของการควบคุมต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเหมือนแพทย์

การมีมาตรฐานอ้างอิงเท่ากับเป็นเครื่องมือในการประกอบวิชาชีพโดยไม่ประมาท อย่างไรก็ดีการจัดฝึกอบรมทักษะ ถือเป็นพันธะกรณี เป“นหน้าที่ของ ว.ส.ท.ที่ต้องทำต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

- อะไรบ้างที่ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน

เนื้องานของ ว.ส.ท. มีเรื่องเร่งด่วนเกี่ยวกับงานก่อสร้างยังขาดมาตรฐานอีกมาก โดยเฉพาะการใช้อุปกรณ์ก่อสร้าง เช่น มาตรฐานการ พาวเวอร์เครน นอกจากนี้ก็มีเรื่องอื่นๆ อาทิ มาตรฐานยานยนต์ ก๊าซไวไฟ เป็นต้น ทุกเรื่องจะดำเนินการไปพร้อมกัน เพราะ ว.ส.ท.มีวิศวกรจากหลายสาขาวิชาชีพเข้ามาช่วย ก็จะดูว่ายังขาดมาตรฐานตัวไหนบ้าง

ส่วนที่เริ่มไปแล้วก็มี อาทิ มาตรฐานลิฟต์ มาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับมาตรฐานลิฟต์ก็จะมุ่งไปที่มาตรฐานการผลิต การติดตั้ง และการตรวจสอบ ซึ่งการตรวจสอบจะเกี่ยวข้องกับกฎกระทรวงการตรวจสอบอาคาร ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างวิศวกรที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบอาคารที่มีอำนาจเซ็นรับรอง

- อบรมไปได้กี่รุ่น

เฉพาะ ว.ส.ท.ทำไปแล้ว 2 รุ่น แต่ก็ยังมีสถาบันหรือหน่วยงานอื่นๆ สำหรับเราตั้งเป้าว่าปีแรกจะทำให้ได้ 10 รุ่น รุ่นละ 60 คน รวมประมาณ 600 คน และภายใน 2-3 ปีต้องให้ได้ 2,000 คน โดยประมาณการว่ามีอาคารที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบ 20,000-30,000 แห่งทั่วประเทศ ในจำนวนนี้ประมาณ 50% เป็นอาคารที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ

- ที่น่าจะผ่านมีสักกี่เปอร์เซ็นต์

มันไม่ใช่เรื่อง "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" เปรียบเทียบก็เหมือนการตรวจสุขภาพ ถ้าไม่สมบูรณ์ก็ต้องดูว่าจะรักษาอย่างไร เช่น บันไดหนีไฟอาจมีขนาดเล็กเกินไป ก็ต้องปรับปรุงขยับขยายให้ได้มาตรฐานมากขึ้น

สำหรับอาคารที่ก่อสร้างนับจากปี 2535 เข้าใจว่าค่อนข้างมีมาตรฐานใกล้เคียงต่างประเทศ เพราะหลังจากปี 2535 มีกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทรัพย์สิน และความปลอดภัยออกมามาก ส่วนกลุ่มที่สร้างก่อนปี 2535 มีเพียงแค่การควบคุมเรื่องความมั่นคงแข็งแรง แต่เรื่องความปลอดภัยยังไม่ค่อยชัดเจน

- อาคารที่สร้างก่อนปี 2535 จะทำอย่างไร

ถ้ามีการตรวจสอบ วิศวกรต้องระบุว่ายังขาดอุปกรณ์อะไรบ้าง และถ้าต้องแก้ไขหรือดัดแปลงอาคาร ทางกรมโยธาธิการฯควรเปิดโอกาสให้สามารถขออนุญาตดัดแปลงอาคารได้ง่ายขึ้น เรื่องระยะเวลาที่กำหนดให้เจ้าของอาคารทุกแห่งที่เข้าข่ายต้องส่งแบบรายงานตรวจสอบอาคารไม่เกิน 30 ธันวาคม 2550 นั้น ถ้าจำเป็นอาจต้องอะลุ้มอล่วยหรือยืดหยุ่น

- มีประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ที่น่าจะไม่ถูกต้อง

เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเซ็นซิทีฟ ถ้าดูกันจริงๆ ผมว่าเกือบทุกอาคารมีจุดที่ผิด ยกตัวอย่างบางอาคารก็ใช้ทางเดินหนีไฟเป็นที่เก็บของ

- ค่าตรวจสอบกำหนดมาตรฐานกลางหรือยัง

ยังไม่ได้กำหนด แต่เป็นสิ่งที่จะต้องเร่งทำให้เสร็จก่อนครบกำหนดส่งแบบรายงาน

เบื้องต้น ทาง ว.ส.ท.อาจจะหารือกับสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย อาทิ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมไฟฟ้าและแสงสว่าง สมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร ฯลฯ ทำราคากลางขึ้นมาและเสนอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณา

แนวคิดเบื้องต้นมี 2 ส่วน คือ 1)คำนวณจากขนาดพื้นที่ใช้สอย และ 2)คำนวณจากความซับซ้อนของอาคาร

- ปัญหาก่อสร้างคอนโดฯส่งผลกระทบให้บ้านร้าว

สิ่งที่ ว.ส.ท.ช่วยได้คงเป็นเรื่องมาตรฐานในการก่อสร้าง เพราะโดยหลักคงต้องเป็นหน้าที่ของภาครัฐ จริงๆ การแก้ปัญหาต้องเริ่มตั้งแต่การวางผังเมือง เช่น ถ้าย่านนี้มีแต่บ้านพักอาศัย 2-3 ชั้น ต่อไปก็ต้องห้ามก่อสร้างอาคารสูง

ปัจจุบันผังเมืองควบคุมแค่การใช้ประโยชน์ที่ดิน แต่ไม่ควบคุมถึงประเภทหรือรูปแบบอาคาร ทำให้มีตึกสูงอยู่ติดกับบ้าน

- ระหว่างนี้จะผลักดันอะไรได้บ้าง

อย่างที่บอกว่าการแก้ปัญหาต้องเริ่มตั้งแต่การวางผัง ตามหลักระบบสาธารณูปโภคจะเป็นตัวชี้นำการพัฒนา หมายความว่าการสร้างรถไฟฟ้าไปยังพื้นที่ที่มีชุมชนหนาแน่นแล้วอย่าไป แต่รถไฟฟ้าต้องล้ำหน้าไปก่อนเพื่อให้กำหนดรูปแบบการพัฒนาในอนาคตได้

- ปัญหาเรื่องผู้รับเหมาต่างชาติเข้ามาแย่งงาน

ประเทศไทยก็ยังเป็นเค้กของเขา ญี่ปุ่นได้เปรียบเรื่องเงินทุน ถ้าเป็นโครงการอาคารขนาดใหญ่ยังต้องอาศัยเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น ส่วนงานระบบมักจะเป็นประเทศจากยุโรปได้งาน ไม่เฉพาะรถไฟฟ้า แต่รวมถึงโรงไฟฟ้า อาจจะเห็นว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นคนก่อสร้าง แต่จริงๆ ก็ซื้อระบบจากยุโรป ส่วนประเทศไทยก็เป็นได้แค่ซับคอนแทร็กเตอร์ ประเทศจีนก็พยายามจะเข้ามา ส่วนเกาหลีมีกลุ่ม "ซัมซุง" เคยเข้ามาแต่ออกไปแล้ว ประเทศจีนเก่งเรื่องการเลียนแบบ เวลาเสนองานเสนอเป็น "โทเทิลโซลูชั่น" คือเบ็ดเสร็จทั้งงานก่อสร้างและงานระบบ แต่ในอนาคตเรื่องการพัฒนาคงไม่สามารถสู้กับคนที่คิดค้นเทคโนโลยีเองขึ้นมาแต่แรก

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 30-11-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.