| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 78 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 23-11-2549    อ่าน 11386
 "ตรวจอาคาร" กรมโยธาเสือกระดาษ "ตึกสูง-อาคารใหญ่" ลอยตัว

ดูเหมือนความพยายามของกรมโยธาธิการและผังเมือง ในการผลักดันออกกฎกระทรวงต่างๆ ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร จะมีปัญหาในทางปฎิบัติค่อน ข้างมาก จนทำให้แผนงานที่วางไว้ไม่สัมฤทธิผลเท่าที่ควร

อย่างเช่น กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ แม้ว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548 ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีอาคารไหนดำเนินการได้ เพราะยังติดปัญหาเรื่องการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบที่ล่าช้า

ขณะที่กฎหมายกำหนดเดตไลน์ให้เจ้าของอาคาร ต้องตรวจสอบอาคารให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2550 ถ้านับจากนี้เหลือเวลาอีกแค่ 1 ปีเศษๆ เท่านั้น

มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ระยะวลาที่เหลืออยู่จะทันกับเงื่อนเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เพราะทั่วประเทศมีอาคารขนาดใหญ่ อยู่ในข่ายต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบถึง 20,000 อาคาร ขณะที่การผลิตผู้ตรวจสอบอาคารถึงขณะนี้ก็ยังไปไม่ถึงไหน แม้หลายหน่วยงานจะร่วมมือกันระดมสมองติวเข้มวิศวกร สถาปนิก ฯลฯ อย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา

"ฐิระวัตร กุลละวณิชย์" อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า ปัจจุบันกรมโยธาฯ ในฐานะเป็นผู้ออกกฎหมาย กำลังเร่งรัดขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบอาคาร โดยทางสภาวิศวกรได้ออกประกาศการสอบวัดผล ผู้ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็น ผู้ตรวจสอบอาคารแล้ว และปี 2549 นี้ จะจัดสอบวัดผล 3 ครั้ง จะเริ่มครั้งแรกวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 นี้

โดยมีสถาบันการศึกษา สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ ที่ได้รับการรับรองไปแล้ว 10 แห่ง เป็นผู้จัดฝึกอบรมและติวเข้ม คือ สถาบันวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีความปลอดภัยสำหรับอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคารและบริหารความปลอดภัย ร่วมกับอีก 2 สมาคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอินไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

"คาดว่าจะสามารถอบรมผู้ตรวจสอบได้ประมาณ 2,000 คน ภายในปี 2550 ส่วนปี 2549 คาดว่าจะมี 500 กว่าคน กรมโยธาฯขอการันตีว่า ผู้ตรวจสอบอาคารจะมีเพียงพอกับความต้องการอย่างแน่นอน สำหรับจำนวนผู้ควบคุมอาคารจะมีเท่าไหร่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเจ้าของอาคารจะเลือกจ้าง ส่วนค่าใช้จ่ายการตรวจสอบ ขึ้นอยู่กับเจ้าของอาคาร และผู้ตรวจสอบจะกำหนดกันเอง แต่ในอนาคตอาจจะมีการกำหนดราคามาตรฐานขึ้นมา อาจจะให้สภาวิศวกรเป็นผู้พิจารณาและกำหนดขึ้น"

หน้าที่ของผู้ตรวจสอบอาคาร จะตรวจสอบใหญ่อาคารที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบทุกๆ 5 ปี และมีการตรวจสอบย่อยทุกปี หากมีข้อบกพร่องจะต้องแจ้งให้เจ้าของอาคารแก้ไขให้ถูกต้อง โดยส่งรายละเอียดให้เจ้าของอาคาร จากนั้นเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับรายงานผลการตรวจสอบจากเจ้าของอาคาร ก็ให้พิจารณาใบรายงานผลและแจ้งให้เจ้าของอาคารทราบภายใน 30 วัน

หากเห็นว่าถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกใบรับรองการตรวจสอบอาคารให้แก่เจ้าของอาคาร ถ้ายังไม่มีการแก้ไขตามที่ได้ระบุไป จะมีบทลงโทษ จำคุก 3 เดือน ปรับ ไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามใช้อาคาร

สำหรับอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคาร เพื่อดูความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร ระบบอุปกรณฺ์ประกอบของอาคาร เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบลิฟต์ ระบบการป้องกัน และระบบอัคคีภัย ระบบการระบายน้ำ เป็นต้น ประกอบด้วย อาคารสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป อาคารขนาดใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป อาคารชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร หรือมีจำนวนคนตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป

โรงมหรสพ โรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป อาคารชุดหรืออาคารที่อยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป โรงงานที่สูงมากกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป ป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าที่มีพื้นที่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป

กฎกระทรวงอีกฉบับที่มีปัญหา คือ กฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของอาคารที่เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ดำเนินการต้องทำการประกันภัยความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก พ.ศ.2548 หรือกฎหมายประกันภัยบุคคลที่ 3 อาทิ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน โรงมหรสพ โรงแรม สถานบริการ เป็นต้น

เพราะหลังจากที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2548 ในทางปฏิบัติทางท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ เนื่องจากไม่สามารถจะไปบังคับให้ทางเจ้าของอาคารทำประกันภัยสำหรับบุคคลที่ 3 ที่มาใช้อาคารได้ ทั้งๆ ที่ตามกฎหมายอาคารเหล่านี้ต้องทำ ประกันภัยภายใน 180 วัน หลังจากกฎหมายบังคับใช้

สาเหตุมาจากกฎกระทรวงฉบับนี้มีช่องโหว่ ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นคือ กรมโยธาฯ ไม่มีการกำหนดบทลงโทษ จึงทำให้เจ้าของอาคารฝ่าฝืน เพราะเห็นว่าจะทำประกันภัยบุคคลที่ 3 ก็ได้ ไม่ทำก็ได้ เพราะถือว่าไม่ผิด และทางกรมโยธาฯ จะไปบีบบังคับให้เจ้าของอาคารดำเนินการตามกฎหมาย หรือห้ามใช้อาคารก็ไม่ได้ ทำให้อาคารที่อยู่ในข่ายต้องทำประกันบุคคลที่ 3 ลอยตัวไปโดยปริยาย

"ฐิระวัตร" กล่าวว่า สาเหตุเกิดจากกฎหมายควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่ได้มีการกำหนดบทลงโทษสำหรับการประกันภัยไว้ จึงทำให้ไม่มีอำนาจที่จะไปไล่จี้ให้เจ้าของอาคารทำตามได้

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กรมได้เสนอแก้ไขกฎหมายควบคุมอาคาร โดยให้มีบทกำหนดโทษเกี่ยวกับเรื่องนี้เข้าไปด้วย ขณะนี้ตัวร่างอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งโทษจะคล้ายๆ กับกฎกระทรวงอื่นๆ เช่น จำคุก 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท เป็นต้น คงต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง

2 กรณีตัวอย่างข้างต้น เป็นเรื่องใหญ่ที่กรมโยธาฯ จะต้องเร่งดำเนินการให้กฎหมายมีผลบังคับใช้โดยด่วน มิฉะนั้นกฎหมายที่ออกมาจะไม่มีความหมาย เพราะออกมาแล้วใช้การอะไรไม่ได้

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 23-11-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.