| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 73 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-11-2549    อ่าน 11844
 คู่มือจดทะเบียนนิติกรรมอสังหาฯ "ค่าโอน-ภาษี" ควรรู้ ปี"49-50

จากที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ข้อ 2 (7) (ฎ) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2542) ข้อ 16 (6) ซ. ออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 ได้ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีมีมติลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอน และการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายที่ดินและห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด จากร้อยละ 2 สำหรับการจดทะเบียนโอน และร้อยละ 1 สำหรับการจดทะเบียนจำนอง ลงเหลือร้อยละ 0.01 บางกรณี นอกจากคณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ลดค่าธรรมเนียมแล้ว ยังมีมติให้กรมสรรพากรดำเนินการเพื่อยกเว้นภาษีอากรการโอนด้วย

นับถึงขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน และหรือการจำนองในหลายกรณี รวมถึงยกเว้นภาษีอากรในบางเรื่อง เท่าที่ถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนและจำนองร้อยละ 0.01 ตามมติคณะรัฐมนตรีจำนวน 5 ฉบับ แต่ละฉบับมีหลักเกณฑ์และกำหนดเวลาบังคับใช้ต่างกัน

จึงอาจทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่สับสนจนเกิดข้อผิดพลาดในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีอากร ทำให้ทางราชการหรือผู้ขอจดทะเบียนได้รับความเสียหายจนอาจเกิดข้อร้องเรียนขึ้นได้

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีอากร กรมที่ดินจึงได้จัดทำ "คู่มือการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีอากรตามมติคณะรัฐมนตรี ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน" เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีอากร

ขณะเดียวกันคู่มือฉบับนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป ที่จะซื้อขายหรือจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาฯด้วย "ประชาชาติธุรกิจ" จึงถือโอกาสนำมาเผยแพร่ต่อท่านผู้อ่านอีกต่อหนึ่ง สำหรับอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีเกี่ยวกับการทำนิติกรรมอสังหาฯที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน มีดังนี้

1.ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีโอนอสังหาฯให้แก่มูลนิธิหรือสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลและสาธารณะ บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2545 โดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เก็บ 0.01% กรณียกให้อสังหาฯ (ไม่รวมถึงห้องชุด) แก่มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เฉพาะในส่วนที่มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ได้มาเมื่อรวมกับที่ดินที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่เกิน 25 ไร่ ส่วนที่เกิน 25 ไร่ ภาษีอากรเรียกเก็บในอัตราปกติ

2.ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน และตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ปัจจุบันประกาศกระทรวงมหาดไทยทุกฉบับสิ้นสุดการบังคับใช้แล้ว เรียกเก็บ 2% ส่วนภาษีอากรนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 เก็บภาษีธุรกิจเฉพาะตามปกติ ภาษีเงินได้และอากรแสตมป์ยังคงได้รับยกเว้นจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 หลักเกณฑ์การยกเว้นศึกษาจากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 433) พ.ศ.2548

3.การโอนอสังหาฯและห้องชุดอันเนื่องมาจากดำเนินการตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ปัจจุบันประกาศกระทรวงมหาดไทยทุกกรณีสิ้นสุดการบังคับใช้แล้ว เรียกเก็บ 2%

สำหรับภาษีอากร ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกาฯว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 340) พ.ศ.2541 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป โดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดของการบังคับใช้

4.การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีการโอนและการจำนองอสังหาฯตามประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดของผู้ประสบภัยธรรมชาติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2548 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549

เรียกเก็บ 0.01% สำหรับการโอน (ขาย แลกเปลี่ยน ให้รวมถึงการโอนมรดกให้แก่ทายาท) และการจำนองอสังหาฯและห้องชุด ที่เป็นของผู้ประสบภัย ฯลฯ กรณีผู้ประสบภัยหรือทายาทเป็นผู้โอน หรือผู้รับโอนทางมรดก หรือเป็นผู้รับจำนอง โดยผู้ประสบภัยหรือทายาทต้องนำหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ประสบภัยหรือผู้ตายเป็นผู้ประสบภัย ตามแบบแนบท้ายประกาศจากองค์กรปกครองท้องถิ่นที่อสังหาฯและห้องชุดนั้นตั้งอยู่มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภาษีอากรเรียกเก็บอัตราปกติ

5.ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนฯตามประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีสนับสนุนการซื้อขายและจำนองตามมาตรการส่งเสริมตลาดบ้านมือสอง บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2548 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 เรียกเก็บ 0.01% กรณี 5.1 ขายบ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น หรืออสังหาฯดังกล่าวพร้อมที่ดิน หรือขายห้องชุด ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยเป็นแหล่งสำคัญ โดยผู้ขายคนใดคนหนึ่งต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขาย ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎรไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครอง ไม่ว่าระยะเวลาดังกล่าวจะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม

5.2 จำนองอสังหาฯหรือห้องชุดที่ซื้อมาตามข้อ 1 ต่อไปในวันเดียวกันเฉพาะจำนวนเงินจำนองที่ไม่เกินกว่าราคาซื้อขาย ส่วนจำนวนเงินจำนองที่เกินกว่าราคาซื้อขายเรียกเก็บอัตราปกติ

ภาษีอากร ไม่ยกเว้นภาษีอากร เรียกเก็บอัตราปกติ ส่วนภาษีเงินได้และอากร ผู้มีเงินได้มีสิทธิขอรับคืนจากสำนักงานสรรพากรพื้นที่ภายหลังตามมาตรการขายบ้านเก่าเพื่อซื้อบ้านใหม่ของกรมสรรพากร หากอยู่ในหลักเกณฑ์ สำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะ หากผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นไปตามหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะจะได้รับการยกเว้น

6.ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนฯตามประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีการโอนและการจำนองตามมาตรการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 เรียกเก็บ 0.01% แต่ภาษีอากรเรียกเก็บปกติ

7.ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิฯตามประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีควบรวมกิจการตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ประกาศกระทรวงมหาดไทย กรณีนี้สิ้นผล บังคับใช้วันที่ 31 กรกฎาคม 2549 เรียกเก็บ 2%

สำหรับภาษีอากร กรณีสถาบันการเงินควบรวมกิจการและโอนกิจการทั้งหมดตามแผนพัฒนาฯได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ กรณีโอนกิจการบางส่วน ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ โดยการควบเข้ากัน โอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่กัน ต้องทำระหว่างวันที่ 6 มกราคม 2547 ถึง 31 กรกฎาคม 2549 แม้มาจดทะเบียนโอนหลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 ก็ได้รับยกเว้นภาษีอากร

8.ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิฯตามประมวลกฎหมายที่ดินกรณีโอนอสังหาฯในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกาศใช้ 31 สิงหาคม 2549 ถึง 31 ธันวาคม 2551 กรณีเจ้าของที่ดินขายอสังหาฯให้แก่ ส.ป.ก. เพื่อนำไปใช้ในการปฏิรูปที่ดิน และกรณี ส.ป.ก.ขายอสังหาฯให้แก่เกษตรกรผู้เช่าซื้อที่ดิน

8.1 ส่วนที่เจ้าของที่ดิน (ผู้ขาย) หรือเกษตรกรผู้เช่าซื้อ (ผู้ซื้อ) มีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย (ครึ่งหนึ่ง) เรียกเก็บ 0.01% 8.2 ส่วนที่ ส.ป.ก.มีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมายได้รับการยกเว้นไม่ต้องเรียกเก็บ ตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518

สำหรับภาษีอากร กรณีเจ้าของที่ดินขายอสังหาฯให้ ส.ป.ก.เรียกเก็บภาษีอากรตามปกติ กรณี ส.ป.ก.ขายอสังหาฯให้เกษตรกรผู้เช่าซื้อไม่ต้องเรียกเก็บภาษีอากร

9.ค่าธรรมเนียมการจำนองสำหรับการให้สินเชื่อเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย หรือมหันตภัยอื่น ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2541 ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 0.01% กรณีจำนองอสังหาฯตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่รวมถึงห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับการให้สินเชื่อเพื่อฟื้นฟูความเสียหายฯตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนด ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 พ.ศ.2541 ภาษีอากรไม่มีการจัดเก็บ

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 13-11-2549 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.